ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออกถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 3 รองจากทวีปอเมริกาเหนือและยุโรปในมูลค่ารวมของยอดขายยาที่คาดการณ์ไว้ในปี 2024 โดยมีมูลค่ารวม2.32 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาค อุตสาหกรรมยาของประเทศไทยเติบโตและถูกยอมรับให้เป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศชั้นนำในแง่ของการใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาของรัฐ จำนวนสิทธิบัตร IPO จำนวนบริษัท และตำแหน่งงานที่เกี่ยวข้อง
แผนสู่การเป็นศูนย์กลางทางเภสัชกรรม – ในช่วงที่ผ่านมาไม่นานนี้ประเทศไทยได้ดำเนินนโยบายแผนฟื้นฟูอย่างยั่งยืนจากโควิด-19 ที่เรียกว่า Bio-Circular-Green Economy Model (BCG) โดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้ นำเสนอโมเดลนี้ในขั้นต้นเพื่อเป็นกลไกของการเติบโตระลอกใหม่ ซึ่งคาดว่าจะครอบคลุมตั้งแต่ปี 2021 ถึง 2016 มีเป้าหมายที่จะสร้างมูลค่ารวมทั้งหมด 4.9 ล้านล้านบาท และคาดว่าจะมีมูลค่าการลงทุนรวมอยู่ที่ 7.5แสนล้านบาท ในปี 2026 โดยมุ่งเน้นไปที่ 4 อุตสาหกรรม S-curve ที่รวมถึงภาคส่วนของการแพทย์และสาธารณสุข ซึ่งได้ตั้งภารกิจที่จะลดมูลค่าการนำเข้ายาและวัคซีนให้ได้ประมาณ 1 แสนล้านบาทต่อปี
ความต้องการในประเทศและทั่วโลก – ภาคการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศไทยเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างรวดเร็วจากแรงหนุนของอุปสงค์ในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น เช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ ในเอเชีย ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยในปี 2020 สัดส่วนของประชากรที่มีอายุมากกว่า 65 ปี อยู่ที่ 13% และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 30% ในปี 2050 การเพิ่มขึ้นของประชากรสูงวัยนั้นมีความสัมพันธ์โดยตรงกับความต้องการบริการทางการแพทย์ที่จะเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่ทศวรรษข้างหน้า เมื่อผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้นพวกเขามีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะผิดปกติบางอย่างตั้งแต่โรคหัวใจไปจนถึงลิ่มเลือด เบาหวาน และมะเร็ง ยาประเภทชีวเภสัชภัณฑ์ เช่น Tissue Plasminogen Activator, Insulin และ Therapeutic Antibodies จะเป็นสิ่งจำเป็นในการรักษาโรคดังกล่าว
นอกเหนือจากปัจจัยภายในแล้วการเกิดโรคระบาดที่แพร่ไปทั่วโลกยังตอกย้ำถึงความจำเป็นของอุตสาหกรรมชีวเภสัชภัณฑ์ ความต้องการวัคซีนนั้นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ประเทศไทยเล็งเห็นโอกาสจากสถานการณ์นี้และได้ใช้ประโยชน์จากศักยภาพในการเป็นฐานการผลิตวัคซีน ชุดตรวจหาการติดเชื้อ และผลิตภัณฑ์จีโนม ทำให้ประสบความสำเร็จในการดึงดูดบริษัทชั้นน้ำให้เข้ามาลงทุนในประเทศ ตัวอย่างเช่น AstraZeneca, KinGen Biotech และ Apsalagen
จุดหมายปลายทางด้านการดูแลสุขภาพ – ด้วยโครงสร้างพื้นฐานด้านการดูแลสุขภาพที่แข็งแกร่ง สิ่งอำนวยความสะดวกทางการแพทย์ที่ล้ำสมัย ผู้เชี่ยวชาญที่มีทักษะสูง และค่าใช้จ่ายที่ไม่แพง ประเทศไทยจึงกลายเป็นจุดหมายปลายทางสำหรับผู้ป่วยจากต่างประเทศอย่างไม่ต้องสงสัย ในปี 2019 มีนักท่องเที่ยวประมาณ 3.5 ล้านคน เดินทางมาเยือนประเทศไทยและใช้จ่ายเงินไปกับบริการด้านสาธารณสุขมูลค่า 726 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 9% ของยอดรวมทั่วโลก เป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่อยู่ใน 15 อันดับแรก มีสถาบันการแพทย์ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศรวมกว่า 60 แห่งที่ได้รับมาตรฐานการรับรอง Joint Commission International ทำให้มั่นใจได้ถึงสถานภาพทางการแพทย์ระดับโลก ประเทศไทยไม่เพียงแต่มอบโอกาสทางการตลาดเท่านั้น แต่ยังอำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนด้วยห่วงโซ่อุปทานที่ครอบคลุมตั้งแต่อุตสาหกรรมต้นน้ำถึงปลายน้ำ ทำให้ผู้ผลิตสามารถเข้าถึงได้ทั้งวัตถุดิบที่จำเป็น ศูนย์ทดลองทางคลินิกสำหรับการทดสอบยา และโรงงานสำหรับการผลิต
ศูนย์กลางการวิจัยและพัฒนาแบบครบวงจร – โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกต่อไปนี้ทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางที่สำคัญสำหรับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ
อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย: นำเสนอทั้งสิ่งอำนวยความสะดวก พื้นที่ทางธุรกิจ และบริการต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมในภาคเอกชน นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของบริษัท รวมถึงสถาบันวิจัยและห้องปฏิบัติการระดับชาติรวมกว่า 100 แห่ง เช่น BIOTEC, TCELS CPU และศูนย์ปฏิบัติการผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อเซลล์และยีนบำบัด
Biopolis: อยู่ในเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) เป็นศูนย์กลางนวัตกรรมและคลัสเตอร์อุตสาหกรรมสำหรับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชีวภาพ ให้บริการเช่าที่ดิน พื้นที่ห้องปฏิบัติการ ศูนย์ทดสอบ รวมถึงมอบสิทธิประโยชน์สำหรับนักลงทุนในการขยายกิจกรรมการวิจัยไปสู่เชิงพาณิชย์ในวงกว้าง
ศูนย์จีโนมการแพทย์ (CMG): อยู่ภายใต้การควบคุมของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นแพลตฟอร์มในการพัฒนาเทคโนโลยีจีโนมของภูมิภาค ตั้งแต่ปี 2014เป็นต้นมาได้ร่วมมือกับ TCELS ในด้านการวิจัยทางเภสัชพันธุศาสตร์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการแพทย์จีโนมิกส์ของประเทศไทย
โอกาสในการลงทุน
เทคโนโลยีชีวภาพถือเป็นภาคส่วนสำคัญในการส่งเสริมการฟื้นฟูประเทศหลังการระบาดของโควิด–19 โดย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ได้อนุมัติโครงการใหม่ไปหลายโครงการเป็นมูลค่ารวมหลายล้านบาท สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อความสามารถและโอกาสของอุตสาหกรรมนี้จากกิจการที่กว้างขวางและหลากหลายมากขึ้น เทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ เช่น วัคซีน จีโนมิกส์ และชีวเภสัชภัณฑ์ กำลังเป็นที่จับตามองอย่างมากในขณะนี้ และดึงดูดผู้ผลิตหลายรายให้เปิดตัวและขยายขนาดธุรกิจของตนในประเทศไทย
กิจการที่ได้รับการส่งเสริมจาก BOI
BOI มอบสิทธิประโยชน์ทั้งด้านภาษีและไม่ใช่ภาษีกับกิจการที่เกี่ยวข้องต่อไปนี้
Leave a Reply