fbpx

ความเชื่อมั่นนักลงทุนต่างชาติยังคงอยู่ในระดับสูง แม้จะได้รับผลกระทบจากโควิด-19

150 150 Content Writer

จากทั้งหมด 600 บริษัทที่ได้ทำการสำรวจ 19.33% ระบุว่ามีแผนจะเพิ่มการลงทุนในไทย ขณะที่อีก 76.67% คาดว่าจะรักษาระดับการลงทุนในปัจจุบันไว้ได้

แม้จะเผชิญกับความยากลำบากทางเศรษฐกิจที่เกิดจากโควิด-19 แต่นักลงทุนต่างชาติที่ดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมากถึง 96% มั่นใจในศักยภาพของประเทศและมีแผนที่จะขยายหรือรักษาระดับการลงทุนไว้ โดยอ้างถึงสิทธิประโยชน์ในการลงทุนที่น่าสนใจ ซัพพลายเชนที่แข็งแกร่งของอุตสาหกรรมสนับสนุน และความพร้อมของวัตถุดิบและชิ้นส่วนต่าง ๆ  ตามการสำรวจความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติประจำปีของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)

“ในขณะที่การระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ความไว้วางใจจากนักลงทุนที่ได้รับการสำรวจสะท้อนให้เห็นถึงความยืดหยุ่นและประสิทธิภาพของประเทศในการจัดการกับวิกฤต” นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการ BOI กล่าว “วิกฤตดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของซัพพลายเชนและโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ของเรา ซึ่งทำให้การดำเนินงานด้านการผลิตส่วนใหญ่ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก”

ปัจจัยหลักที่นักลงทุนอ้างถึงเพื่อสนับสนุนมุมมองเชิงบวก ได้แก่ สิทธิพิเศษด้านการลงทุนที่ประเทศไทยเสนอให้ โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวถึง 89 ราย ในขณะที่ความพร้อมของวัตถุดิบและชิ้นส่วนต่าง ๆ รวมถึงอุตสาหกรรมสนับสนุนที่เพียงพอ ได้รับการกล่าวถึงจากผู้ตอบแบบสอบถาม 77 รายเท่ากัน

จากการสำรวจนักลงทุนถึงผลกระทบจากโควิด-19 พบว่า 63.17% ได้รับผลกระทบแต่ยังสามารถดำเนินธุรกิจได้ 29.17% ได้รับผลกระทบอย่างมากแต่ยังสามารถดำเนินธุรกิจได้ 7.5% ไม่ได้รับผลกระทบสามารถดำเนินธุรกิจได้ตามปกติ มีเพียง 0.17% เท่านั้นที่หยุดดำเนินการ

ความเชื่อมั่นต่อประเทศไทยของบริษัททั้งในและต่างประเทศส่งผลให้จำนวนคำขอลงทุนเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในช่วงเดือนมกราคมถึงกันยายน เนื่องจากบริษัทในบางภาคส่วนยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องท่ามกลางการชะลอตัวของเศรษฐกิจจากผลกะระทบของโควิด-19

มูลค่าคำขอการส่งเสริมการลงทุนทั้งหมดในช่วง 9 เดือน ลดลง 15% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนมาอยู่ที่ 2.237 แสนล้านบาท (7.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ) เนื่องจากขนาดเฉลี่ยของโครงการที่เล็กลง การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) คิดเป็น 60% ของจำนวนโครงการทั้งหมดและ 53% ของมูลค่าการลงทุนทั้งหมด นำโดยการลงทุนจากญี่ปุ่น จีน เนเธอร์แลนด์ สิงคโปร์ และไต้หวัน

 

คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะกลับมาขยายตัว 4-4.5% ในปี 2564

เศรษฐกิจไทยมีสัญญาณฟื้นตัวที่ดีจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคาดว่าเศรษฐกิจจะเติบโต 4-4.5% ในปีหน้า อย่างไรก็ตามอาจต้องใช้เวลาถึง 4 ปีกว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจะกลับมา

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง คาดการณ์ว่าภาคการท่องเที่ยวของไทยจะเริ่มฟื้นตัวหลังจากความสำเร็จในการพัฒนาและกระจายวัคซีนโควิด-19 ไปทั่วโลก โดยคาดว่าปีหน้าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวไม่ต่ำกว่า 8 ล้านคน อย่างไรก็ตามการที่จะเปิดประเทศอีกครั้งขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านสุขภาพของประชาชน โดยเสริมว่าอาจต้องใช้เวลาถึงปี 2567 กว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจะกลับมาที่ 40 ล้านคนต่อปี

จากสถานการณ์เช่นนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกล่าวว่า รัฐบาลยังคงมีความจำเป็นที่จะต้องกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศผ่านมาตรการร่วมจ่ายเงิน อุดหนุนการท่องเที่ยว และค่าครองชีพสำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โดยขณะนี้รัฐบาลกำลังพิจารณาการขยายเวลาของมาตรการเหล่านี้ออกไป อย่างไรก็ตามยังไม่มีกรอบเวลาที่แน่นอน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกล่าวว่า รัฐบาลจำเป็นต้องให้การสนับสนุนด้านเงินทุนกับ SMEs เพื่อให้มีสภาพคล่องที่จำเป็นในการดำเนินธุรกิจต่อไป ด้านการลงทุนของภาครัฐ จะเร่งการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลและส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรม S-Curve โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและดิจิทัลอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การดูแลสุขภาพและบริการทางการแพทย์

นอกจากนี้รัฐบาลยังพิจารณากำหนดอัตราภาษีสำหรับการซื้อสินค้าและบริการทางออนไลน์ โดยเฉพาะคำสั่งซื้อจากผู้ค้าต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกล่าวว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2564 คาดว่าจะกลับมาเติบโตได้ 4-4.5%

 

 

ประเทศไทยผลักดันการปฏิรูปเพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ

รัฐบาลได้กำหนดให้การปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในประเทศไทยเป็นนโยบายหลัก โดยตั้งเป้าหมายที่จะยกระดับความสะดวกในการประกอบธุรกิจให้ติดหนึ่งใน 20 ของโลก ซึ่งประเทศไทยทำผลงานได้อย่างน่าประทับใจในการจัดอันดับดัชนีความยากง่ายในการทำธุรกิจของธนาคารโลก โดยขยับจากอันดับที่ 46 เป็นอันดับที่ 26 และอันดับที่ 21 ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

พันธมิตรหอการค้าต่างประเทศ (Foreign Chambers Alliance; FCA) คาดการณ์ว่าประเทศไทยสามารถก้าวเข้าสู่ 10 อันดับแรกของดัชนีธนาคารโลกได้อย่างรวดเร็ว หากดำเนินการตาม 10 มาตรการ ที่เอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย 5 คนได้เรียกร้องให้ไทยเปิดรับแรงงานฝีมือจากต่างชาติและผ่อนคลายข้อจำกัดเกี่ยวกับการลงทุนจากต่างประเทศ โดยประเทศไทยอยู่ระหว่างการตอบสนองต่อคำแนะนำของธนาคารโลกและข้อเสนอ “Ten for Ten” ตามคำกล่าวของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์

10 มาตรการในการยกระดับไทยสู่ 10 อันดับประเทศที่ประกอบธุรกิจได้ง่ายที่สุดตามดัชนีความยากง่ายในการทำธุรกิจของธนาคารโลกมีดังนี้: ลดขั้นตอนพิธีการศุลกากรการค้าผ่านแดนสู่ระบบดิจิทัล, ทบทวนการออกใบอนุญาตของทางราชการ, เพิ่มแพลตฟอร์มรูปแบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์, ลดความซับซ้อนในการขอรับการส่งเสริมจาก BOI, จัดตั้งพิธีการศุลกากรตามระบบบัญชี, เดินหน้าสู่การค้าดิจิทัล, ทำให้การเข้าถึงแรงงานฝีมือง่ายขึ้น, เน้นความสำคัญของความโปร่งใส, ปรับปรุงกระบวนการล้มละลาย และเพิ่มกระบวนการดิจิทัลในการอนุมัติขององค์กรอาหารและยา

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ซึ่งรับผิดชอบในการขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเสริมสร้างสภาพแวดล้อมการแข่งขัน เป็นเจ้าภาพบรรยายสรุปเรื่อง “ผลการดำเนินงานและทิศทางการปฏิรูปเพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ” โดยมีรองนายกรัฐมนตรี วิษณุ เครืองาม และรองนายกรัฐมนตรี สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ เข้าร่วมในงาน

 

InterLoop เราพร้อมให้ความช่วยเหลือนักลงทุนในทุก ๆ ขั้นตอน ในด้านการขอยื่น BOI  ท่านสามารถติดต่อได้ที่ Line ID: @inlps  และ เบอร์โทรศัพท์: 097-106-9113

 

Author

Content Writer

All stories by: Content Writer

Leave a Reply

Your email address will not be published.