fbpx

BOI อนุมัติสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมในเขตพื้นที่เศรษฐกิจ สำหรับปี 2564

784 523 Content Writer

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ได้อนุมัติมาตรการเพิ่มเติมรวมทั้งการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล 50% เป็นเวลา 5 ปี สำหรับโครงการมูลค่าไม่ต่ำกว่า 1 พันล้านบาทเพื่อกระตุ้นการลงทุนในปีหน้า

นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการ BOI กล่าวว่าการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล 50% มีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นการลงทุนที่แท้จริง โดยมาตรการนี้จะเริ่มใช้ได้ตั้งแต่วันทำการแรกถึงวันทำการสุดท้ายของปี 2564 ซึ่งปกติแล้ว BOI จะเสนอการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ยาวนานที่สุดคือ 8 ปี และเสนอให้บริษัทในพื้นที่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุด 13 ปี และลดหย่อนภาษี 50% สูงสุด 5 ปี

คณะกรรมการยังเห็นชอบให้ขยายมาตรการส่งเสริมการลงทุนออกไปอีก 2 ปี สำหรับโครงการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ 10 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย กาญจนบุรี มุกดาหาร นครพนม นราธิวาส หนองคาย สระแก้ว สงขลาตาก และตราด โดยมาตรการดังกล่าวครอบคลุมการลงทุน 300 ประเภท ให้สิทธิ์การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระยะเวลา 3-8 ปี และยังมีสิทธิ์ได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติมอีก 50% เป็นเวลา 5 ปี สำหรับ 14 อุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น เกษตรกรรม ประมง สิ่งทอเสื้อผ้า เครื่องหนัง เฟอร์นิเจอร์ อัญมณี และเครื่องประดับ

ตั้งแต่ปี 2558 มีโครงการที่ยื่นขอสิทธิ์ BOI ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ ทั้งหมด 84 โครงการ มูลค่า 1.9 หมื่นล้านบาท โดยการลงทุนส่วนใหญ่นั้นไปที่สงขลาเพื่อการผลิตถุงมือยางมีมูลค่ากว่า 7 พันล้านบาท

คณะกรรมการได้อนุมัติให้ขยายเวลาออกไปอีก 2 ปี (2564-65) สำหรับมาตรการส่งเสริมการลงทุนใน 5 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ นราธิวาส ยะลา ปัตตานี สตูล และ 4 อำเภอในสงขลา ซึ่งผู้ลงทุนมีสิทธิ์ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3, 5 และ 8 ปี ขึ้นอยู่กับประเภทของกิจการ

คณะกรรมการยังได้อนุมัติการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษจีโนมิกส์แห่งใหม่ที่มหาวิทยาลัยบูรพาตามข้อเสนอของสำนักงาน EEC ซึ่งผู้ทุนมีสิทธิ์ได้รับสิทธิพิเศษเทียบเท่ากับกับเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (EECd) และเมืองการบินภาคตะวันออก (EECa)

 

 

รัฐคาดการณ์การลงทุนใน EEC แตะ 4 แสนล้านบาท

 

รัฐบาลมีความมั่นใจว่ามูลค่าการลงทุนในพื้นที่ EEC สามารถแตะ 4 แสนล้านบาทในปีหน้าด้วยแรงกระตุ้นจากการลงทุนของภาคเอกชนและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยคาดว่า 3 แสนล้านบาทจะมาจากการลงทุนของภาคเอกชนในขณะที่อีก 1 แสนล้านบาทจะมาจากโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ได้แก่ รถไฟความเร็วสูงเชื่อมสนามบินสุวรรณภูมิ ดอนเมือง และอู่ตะเภา การปรับปรุงสนามบินอู่ตะเภา ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดเฟส 3 และท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3

ดร.คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการสำนักงาน EEC กล่าวว่าการลงทุนของภาคเอกชนคาดว่าจะคึกคักมากขึ้นในปีหน้าหลังจากที่เกิดความล่าช้าในปีนี้เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยในช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้มีการยื่นคำขอลงทุนใน EEC ผ่านสำนักงาน BOI ทั้งหมด 387 โครงการ ลดลงจาก 415 โครงการ คิดเป็นมูลค่า 1.28 แสนล้านบาท ลดลงจาก 1.99 แสนล้านบาท ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา คำขอลงทุนใน EEC คิดเป็น 41% ของคำขอทั้งหมดที่ยื่นผ่าน BOI

การลงทุนใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายของ EEC มีมูลค่า 6.99 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 59% ของการลงทุนทั้งหมด แบ่งเป็นการลงทุนในอุตสาหกรรม S-Curve แบบเก่า (เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และชิ้นส่วน ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ การท่องเที่ยว การเกษตร และการแปรรูปอาหาร) มีมูลค่ารวม 5.79 หมื่นล้านบาท ส่วนอุตสาหกรรม S-curve ใหม่ (หุ่นยนต์ การบินและโลจิสติกส์ ดิจิทัล เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ และบริการทางการแพทย์) คิดเป็นมูลค่า 1.2 หมื่นล้านบาท

ดร.คณิศ กล่าวว่าคณะกรรมการนโยบาย EEC ที่มีนายกรัฐมนตรี ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นประธาน ได้รับทราบถึงแนวโน้มการลงทุนใน EEC ในปีหน้า พร้อมทั้งตกลงที่จะส่งเสริมโรงงาน 10,000 แห่งและโรงแรม 300 แห่งในพื้นที่ EEC เพื่อใช้เทคโนโลยี 5G ในการยกระดับผลิตภัณฑ์และบริการ โดยการติดตั้งโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยี 5G ใน EEC นั้นเสร็จสมบูรณ์แล้ว 80%

คณะกรรมการยังเห็นชอบให้เร่งหน่วยงานภาครัฐและบริษัทเอกชนที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการจัดการข้อมูล เพื่อสนับสนุนภาครัฐและเอกชนที่เก็บข้อมูลในระบบคลาวด์ ซึ่งจะถูกพัฒนาเป็นศูนย์ข้อมูลหรือ Common Data Lake ที่ธุรกิจและสตาร์ทอัพต่าง ๆ สามารถใช้งานเพื่อพัฒนาธุรกิจของพวกเขา เช่น อีคอมเมิร์ซ การท่องเที่ยว สาธารณสุข และบริการทางการแพทย์

จากโรงงานทั้งหมด 10,000 แห่งใน EEC มีเพียง 15% เท่านั้นที่ได้ปรับการผลิตเป็นระบบอัตโนมัติ EEC จะเป็นผู้ช่วยสนับสนุนในการวางระบบเพื่อช่วยให้โรงงาน โรงแรม และหน่วยงานภาครัฐเหล่านั้นสามารถยกระดับผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ ได้

คณะกรรมการ EEC ยังเห็นชอบที่จะปรับปรุง EECd ซึ่งถือเป็นการพัฒนาหลักของโครงการ EEC โดยมอบหมายให้สำนักงาน EEC แสวงหาความร่วมมือเพิ่มเติมจากหน่วยงานต่างประเทศที่มีประสบการณ์ในการจัดตั้งเขตดิจิทัลและนวัตกรรมในต่างประเทศ เช่น องค์กรจากฮ่องกง จีน ไต้หวัน และสหภาพยุโรป แทนความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในแผนก่อนหน้านี้

คณะกรรมการมีแผนที่จะกระตุ้นให้บริษัทต่าง ๆ ใน EEC พัฒนาทักษะเดิมและเสริมสร้างทักษะใหม่ให้กับพนักงานจำนวนกว่า 100,000 คน

 

InterLoop เราพร้อมให้ความช่วยเหลือนักลงทุนในทุก ๆ ขั้นตอน ในด้านการขอยื่น BOI  ท่านสามารถติดต่อได้ที่ Line ID: @inlps  และ เบอร์โทรศัพท์: 097-106-9113

Author

Content Writer

All stories by: Content Writer

Leave a Reply

Your email address will not be published.