fbpx
cryptocurrency

ส่องเกณฑ์การซื้อขาย Cryptocurrency ในประเทศไทย

700 429 Content Writer
SEC ได้กำหนดเกณฑ์ในการพิจารณาการซื้อขาย Cryptocurrency

ขยับมาสู่การเป็นความเสี่ยงที่ยอมรับได้สำหรับนักลงทุน

 

คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (SEC) ได้ระบุเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติสำหรับนักลงทุนที่ประสงค์จะเปิดบัญชีเพื่อการซื้อขาย Cryptocurrency  ที่นักลงทุนหน้าใหม่ต่างพากันยกโขยงเข้าไปในตลาด Cryptocurrency ออกสู่สาธารณะในเดือนนี้ นางรื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (SEC)กล่าว

 

สำหรับคุณสมบัติที่ผู้เทรด cryptocurrency พึงจะต้องมีนั้นก็เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ลงทุนรายย่อยที่ทำการเปิดบัญชีนั้นมีศักยภาพเพียงพอที่จะสามารถรับแรงกระแทกจากการผันผวนของราคาที่เป็นไปอย่างรวดเร็วได้ ซึ่งทาง SEC นั้นมีความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยทางการเงินของนักลงทุนจากการปรับราคาขึ้นของ Cryptocurrency ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา อันส่งผลให้มีการเปิดบัญชีใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นมาอย่างรวดเร็วทั้งในศูนย์ซื้อขายดิจิทัล (Digital Exchange) และ กับตัวแทน

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นาย อาคม เติมพิทยาไพสิฐ ได้ออกคำสั่งให้ทาง SEC คุมเข้มตลาดซื้อขายดิจิทัลในประเทศเพื่อคุ้มครองนักลงทุนหน้าใหม่ที่เข้ามาในตลาดเพื่อหวังทำกำไรแต่ยังไม่มีความรู้และประสบการณ์ในเรื่องที่ตนกำลังลงทุนมากนัก

 

มูลค่าการซื้อขายเน็ตสำหรับสินทรัพย์ดิจิทัลของนักลงทุนรายย่อยนั้นเติบโตขึ้นจาก 500 ล้านบาทในเดือนพฤศจิกายน ไปเป็น  1.1 พันล้านบาทในเดือนธันวาคม และ 1.2 พันล้านบาทในเดือนมกราคม  จากผลการรายงานรายสัปดาห์เกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลของทาง SEC แสดงให้เห็นว่าการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (digital asset) นั้นมีมูลค่าถึง 400 ล้านบาท จากระยะเวลาเพียงแค่  8 วันแรกของเดือนกุมภาพันธ์ และจากรายงานทั่วไปพบว่ามีการเปิดบัญชีของนักลงทุนหน้าใหม่กว่า124,000 บัญชีภายในในช่วงสองสัปดาห์แรกของเดือน รวมทั้งหมด 594,000 บัญชี ณ วันที่  8 กุมภาพันธ์ และมูลค่าการซื้อขายรวมของ Cryptocurrency ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม จนถึงวันที่ 8  กุมภาพันธ์มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 13,000 ล้านบาท

 

ในบรรดา cryptocoin นั้น Bitcoin  คือคอยน์ที่มีการซื้อขายมากที่สุดและสามารถขึ้นไปถึง 40.3% หรือที่มูลค่าการซื้อขายทั้งหมด 38,900 ล้านบาท ตามมาด้วย ethereum (23,500 ล้านบาท หรือ 24.3%) dogecoin (18,200 ล้านบาท หรือ 18.8%) และ XRP (12,300 ล้านบาท หรือ 12.6%) จากการจัดอันดับในเรื่องผลตอบแทนในกลุ่มสินทรัพย์ด้วยกัน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ สินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดคือ ethereum (145%), ตามมาด้วย XRP (118%) bitcoin (59.6%) MSCI emerging market (9.13%) MSCI AC Asia Pacific Index (8.08%) Nasdaq (6.20%) SET (4.96%) MSCI World Index (4.03%) พันธบัตรรัฐบาลอเมริกา แบบ 10-years bond (1.16%) และทองคำ (-2.88%).

 

“Cryptocurrencies มีความเสี่ยงสูงต่อนักลงทุน เราควรมีเกณฑ์ในการสกรีนผู้ที่จะเข้ามาลงทุน อาทิ อายุ ประสบการณ์ในการเทรด และ ระดับของรายได้ หรือ มูลค่าของทรัพย์สินที่จะสามารถจำกัดความเสี่ยงได้ ซึ่งความเสี่ยงเหล่านี้ได้ถูกจำกัดอยู่แล้วในการลงทุนระยะยาวซึ่งจะพบได้ในนักลงทุนแค่บางกลุ่มเท่านั้น” นาง รื่นวดี กล่าว

 

นางรื่นวดียังเสริมว่าผู้ที่จะทำการค้า cryptocurrency นั้นจำเป็นจะต้องมีความรู้ทางด้านการเงิน ประสบการณ์ในการเทรด และสถานะทางการเงินที่ชัดเจน นักลงทุนเหล่านั้นควรที่จะรู้ทั้งเวลาในการ “ซื้อเข้า และ ขายออก” ซึ่งต้องใช้ประสบการณ์ในการลงทุนและสถานะทางการเงินที่มั่นคงเพื่อรับมือกับสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงเหล่านี้”สินทรัพย์ดิจิทัลคือเรื่องที่ท้าทายมาก ไม่เฉพาะแค่ในประเทศไทยเท่านั้นแต่มันท้าทายสำหรับหน่วยงานที่เข้ามากำกับดูแลทั่วโลก

 

ทาง ก.ล.ต. นั้นได้เข้ามาควบคุมดูแลสองเรื่องหลักที่สำคัญ ๆ คือ : การพัฒนาตลาดและการคุ้มครองนักลงทุน นาย ศุภกฤษฎ์ บุญสาตร์  นายกสมาคมสินทรัพย์ดิจิทัลไทยกล่าวว่าประสบการณ์คือครูที่ดีที่สุด หน้าที่ของผู้ที่เข้ามากำกับดูแลนั้นควรจะเป็นบทบาทที่ช่วยให้นักลงทุนสามารถยืนด้วยขาของตัวเองได้ และให้แนวทางความช่วยเหลือเมื่อเกิดความผิดพลาด นาย ศุภกฤษฎ์ กล่าว

 

ในอนาคตโทเคนดิจิทัลจะเป็นประเด็นที่ถูกหยิบยกขึ้นมาว่าจะกลายเป็นสินทรัพย์ที่จับต้องได้โดยพื้นฐาน หรือ จะผ่านทางรูปแบบการเสนอขายหลักทรัพย์ในรูปแบบดิจิทัล (STO) ซึ่ง STO and ยูทิลิตี้โทเคน ซึ่งยังไม่สามารถแลกเปลี่ยนกับสินค้าและบริการได้ และจะอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน ในขณะที่cryptocurrencies และ ยูทิลิตี้โทเคนพร้อมใช้ จะอยู่ภายใต้กฎหมายสินทรัพย์ดิจิทัล

 

crypto

 

ธนาคารแห่งสิงคโปร์กล่าวว่า Crypto จะสามารถเข้ามาแทนที่ทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่เก็บรักษามูลค่าได้ (Store of Value)

อย่างไรก็ดี Cryptocurrencies จำเป็นที่จะต้องข้ามผ่านอุปสรรคนานาประการให้ได้ก่อน ตามการวิจัยที่ได้บันทึกไว้

 

ธนาคารแห่งสิงคโปร์ ซึ่งเป็นผู้ให้บริการที่ปรึกษาแนะนำการลงทุน (private banking) ในเครือ OCBC Bank, ได้กล่าวว่า cryptocurrency มีศักยภาพพอที่จะเข้ามาแทนที่ทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่เก็บรักษามูลค่า แต่ก่อนที่จะไปถึงจุดนั้นได้ cryptocurrency จะต้องข้ามผ่านอุปสรรคต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงความผันผวนที่อยู่ในระดับสูง กฎหมายควบคุมที่ได้รับการยอมรับ และความขึ้นชื่อในเรื่องความเสี่ยง ข้อมูลจากการบันทึกงานวิจัยของธนาคารซึ่งรายงานโดย The National News เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา

 

“ประการแรก นักลงทุนจำเป็นจะต้องมีสถาบันที่เชื่อถือได้ในการถือสกุลเงินดิจิทัลอย่างปลอดภัย ประการที่สองจำเป็นที่จะต้องมีการปรับปรุงสภาพคล่องเพื่อลดอัตราความเสี่ยง เพื่อนำมาซึ่งความผันผวนที่สามารถจัดการได้ เขียนโดยนาย Mansoor Mohi-uddin หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ ประจำธนาคารแห่งสิงคโปร์ หากมีการประกาศใช้ bitcoin (BTC, -1.53%) จะสามารถเข้าไปอยู่ใน portfolio ของนักลงทุนในฐาน safe-haven asset ที่มีศักยภาพอีกรูปแบบหนึ่ง นาย Mohi- Uddin กล่าว Cryptocurrency นั้นให้ผลตอบแทนที่สามารถโยกย้ายและจัดเก็บได้ง่ายเมื่อเทียบกับโลหะมีค่า ถึงแม้ว่าจะมีแนวโน้มถูกโจรกรรมผ่านการ Hack ข้อมูลก็ตาม

 

ทางด้านนาย Mohi-uddin ไม่คิดว่า crypto นั้นจะสามารถเข้ามาแทนที่สกุลเงินตามกฎหมายได้ จากการที่เขามองว่ามันคือสินทรัพย์ที่ไร้ซึ่งประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยน นาย Mohi-uddin ยังเสริมอีกว่า “ทางรัฐบาลได้เฝ้าระวังเป็นอย่างมากว่าเทคโนโลยีใดที่จะมีศักยภาพในการเข้ามาแทนที่สกุลเงินประจำชาติ ซึ่งสิ่งนี้จะทำให้ความสามารถในการกำหนดนโยบายการพิมพ์ธนบัตรในช่วงวิกฤติลดลง”

 

ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์, เทมาเส็กโฮลดิ้ง เปิดตัวธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลสำหรับตลาดทุน

ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ (SGX) และบริษัทการลงทุนโดยรัฐบาล เทมาเส็ก โฮลดิงส์ ได้ประกาศร่วมทุนเปิดตัวธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยหลัก ๆ เน้นไปที่ผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน ทาง SGX กล่าวว่าตนจะใช้ความรู้ในเรื่อง blockchain technology จากทางเทมาเส็กสำหรับธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อาทิ ตราสารหนี้ที่มีสัญญาน่าดึงดูดใจ สมุดบัญชีแยกประเภท และเทคโนโลยีโทเคน

การดำเนินธุรกิจในครั้งนี้จะมุ่งไปที่ตลาดทุน และบริษัทที่กำลังมองหาพันธมิตรที่มีแพลตฟอร์มในการออกตราสารหนี้เพื่อเป็นโครงข่ายหลังการเทรด

 

เมื่อวันที่ 1 กันยายน SGX ได้ประกาศถึงการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจร่วมกับ HSBC และ เทมาเส็กเพื่อการพัฒนาเฟสแรกของตราสารหนี้ดิจิทัลสำหรับธุรกิจอาหารและเกษตรกรรมภายใต้ชื่อ Olam International ด้าน SGX กล่าวว่า แพลตฟอร์มในการออกหุ้น และรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลนั้นได้ถูกนำมาใช้กับตราสารหนี้สี่ประเภท โดยที่ทั่วไปนั้นจะต้องมีมูลค่าตั้งแต่ 1 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ขึ้นไป (ประมาณ 753 ล้านเหรียญสหรัฐ)

“การประสบความสำเร็จในช่วงแรกของแพลตฟอร์มการออกตราสารหนี้ดิจิทัลของเรานั้นได้ปูทางให้ SGX ในการขยายตลาดสำหรับสินทรัพย์ดิจิทัล และเราก็ตื่นเต้นมากที่จะนำธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลของเราไปสู่อีกขั้นโดยการเป็นพันธมิตรกับทางเทมาเส็ก” นาย Lee Beng Hong กรรมการผู้จัดการอาวุโส หัวหน้าฝ่ายตราสารหนี้ สกุลเงิน และโภคภัณฑ์ จากทาง SGX กล่าว

 

ติดตามช่องทางสำหรับรับข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติม ได้ที่ 
Youtube: Interloop Solutions & Consultancy
Author

Content Writer

All stories by: Content Writer

Leave a Reply

Your email address will not be published.