fbpx
boi thailand

ไทยคึกคัก!! นักธุรกิจแห่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนปี 2563 รวมมูลค่ากว่า 4.8 แสนล้านบาท

726 485 Content Writer
คำขอรับการส่งเสริมการลงทุนในประเทศไทยปี 2563 มูลค่ากว่า 4.8 แสนล้านบาท

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เปิดเผยว่าในปี 2563 นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศได้ยื่นคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนรวมทั้งสิ้น 1,717 ราย คิดเป็นมูลค่าการลงทุนรวม 4.811 แสนล้านบาท นำโดยโครงการด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ภาคการเกษตรและการแปรรูปอาหาร และการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในภาคการแพทย์

“การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาเป็นทั้งความท้าทายและโอกาส ในขณะที่เศรษฐกิจโดยรวมมีการชะลอตัวในปี 25632 ธุรกิจที่สามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องในช่วงวิกฤต เช่น ภาคการแพทย์ มีการยื่นคำขอรับการส่งเสริมมากขึ้น” คุณดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการ BOI กล่าว

คำขอรับการส่งเสริมการลงทุนสำหรับโครงการในอุตสาหกรรมเป้าหมาย ส่วนที่มีความสำคัญเชิงกลยุทธ์สำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศคิดเป็น 2.307 แสนล้านบาท หรือ 48% ของมูลค่ารวมทั้งหมด

 

5 อันดับหมวดหมู่เรียงตามมูลค่า ได้แก่

  • เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 5.03 หมื่นล้านบาท
  • การเกษตรและการแปรรูปอาหาร 4.11 หมื่นล้านบาท
  • ยานยนต์และชิ้นส่วน 3.78 หมื่นล้านบาท
  • ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ 5 หมื่นล้านบาท
  • เทคโนโลยีชีวภาพ 3 หมื่นล้านบาท

 

เพิ่มขึ้น 165% ในภาคการแพทย์

ภาคการแพทย์มีคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดจากปี 2562 คิดเป็น 165% มูลค่ารวม 2.23 หมื่นล้านบาท อันเป็นผลมาจากสิทธิประโยชน์พิเศษที่ BOI เสนอให้กับอุตสาหกรรมนี้เพื่อสนับสนุนความพยายามของประเทศในการจัดการกับวิกฤตโควิด-19

การลงทุนนั้นมาจากทั้งบริษัทขนาดใหญ่และ SMEs โดยในส่วนของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment: FDI) มีการยื่นคำขอทั้งหมด 907 โครงการในปี 2563 มูลค่าการลงทุนรวม 2.132 แสนล้านบาท

 

การลงทุนนำโดยญี่ปุ่นตามด้วยจีน

การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศนั้นนำโดยบริษัทญี่ปุ่น ซึ่งเป็นอันหนึ่งดับทั้งจำนวนคำขอ 211 โครงการ และมูลค่าการลงทุนรวม 7.59 หมื่นล้านบาท เงินลงทุนจากจีนมาเป็นอันดับสองด้วยมูลค่าการลงทุน 3.15 หมื่นล้านบาท ตามด้วยสหรัฐฯ ด้วยมูลค่าการลงทุน 2.46 หมื่นล้านบาท ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งประกอบด้วยจังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา มีการยื่นคำขอจากนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศรวม 453 โครงการ คิดเป็นมูลค่า 2.087 แสนล้านบาท

 

BOI สนับสนุนบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

ในการประชุมคณะกรรมการที่มี พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีมติอนุมัติมาตรการส่งเสริมการลงทุนให้บริษัทที่ได้รับการส่งเสริมจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) หรือ ตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ (mai) เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพและเพิ่มความสามารถในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการไทย รวมถึงเสริมสร้างความเข้มแข็งของตลาดทุนและระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม

มาตรการนี้จะช่วยให้บริษัทได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม 100% ของเงินลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) โครงการลงทุนที่ได้รับการส่งเสริมจาก BOI ไปแล้ว แม้จะมีรายได้แล้วก็ตาม สามารถขอรับสิทธิประโยชน์ตามมาตรการนี้ได้ แต่จะต้องมีสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลืออยู่ทั้งระยะเวลาและวงเงินที่ได้รับยกเว้น

อย่างไรก็ตาม มาตรการนี้ไม่รวมถึงบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดอยู่แล้วก่อนวันที่มาตรการนี้มีผลใช้บังคับ โดยสามารถยื่นขอรับสิทธิประโยชน์ได้ภายในวันทำการสุดท้ายของปี 2565

 

company thailand

 

บริษัทไทยติดอันดับความยั่งยืนของโลกโดย S&P Global

SET เปิดเผยว่ามี 11 บริษัทไทยได้รับรางวัลระดับ Gold Class ซึ่งเป็นอันดับสูงสุดของโลกในด้านความยั่งยืนจากรายงาน “The Sustainability Yearbook 2021” จัดทำโดย S&P Global จากการประเมินความยั่งยืนของบริษัทกว่า 7,000 แห่งใน 40 ประเทศ สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่าแนวทางความยั่งยืนนั้นดำเนินไปได้จริงและได้ยกระดับตลาดทุนของประเทศให้เป็นที่ยอมรับในระดับโลก

11 บริษัทไทยที่ติดอันดับ Gold Class ประกอบด้วยบริษัทจดทะเบียน 10 บริษัทได้แก่

  1. บมจ.บ้านปู (BANPU)
  2. บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS)
  3. บมจ.ไออาร์พีซี (IRPC)
  4. บมจ.ปตท. (PTT)
  5. บมจ.ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP)
  6. บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล (PTTGC)
  7. บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย (SCC)
  8. บมจ.ไทยออยล์ (TOP)
  9. บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE)
  10. บมจ.ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป (TU)

และบริษัทไทยอีก 1 บริษัท ได้แก่ บมจ.ไทยเบฟเวอเรจ (ThaiBev) โดยในปีนี้มีบริษัทไทยที่ติดอันดับทั้งหมด 29 บริษัท ทำให้ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 7 ของโลกตามหลังสหรัฐฯ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อังกฤษ ฝรั่งเศส และไต้หวัน

ดร.ภากร ปีตธวัชชัย กรรมการผู้จัดการ SET กล่าวว่า SET ได้ส่งเสริมตลาดทุนไทยอย่างต่อเนื่องสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อประโยชน์ต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคนตามวิสัยทัศน์ของ SET นั่นคือ “พัฒนาตลาดทุน เพื่อทุกคน”

นอกจากนี้ยังสนับสนุนให้ภาคธุรกิจยึดหลักสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ในการดำเนินงานพร้อมทั้งเสริมสร้างผลการดำเนินงานเพื่อกระตุ้นการเติบโตอย่างสมดุลระหว่างธุรกิจและสังคมควบคู่กันไป

“SET สนับสนุนบริษัทจดทะเบียนทั้งหมดทุกระดับและทุกอุตสาหกรรมในการผนวกรวมความยั่งยืนเข้ากับการดำเนินธุรกิจและส่งเสริมการลงทุนอย่างยั่งยืน โดยการพัฒนาและยกระดับคุณภาพตามหลัก ESG ตลอดจนปรับปรุงกระบวนการรายงานข้อมูลเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทั้งบริษัทจดทะเบียนในการพัฒนาการดำเนินธุรกิจ และนักลงทุนเพื่อการวิเคราะห์และประเมินมูลค่าหลักทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพ

 

มาตรการลดหย่อนภาษีล่าสุดสำหรับธุรกิจ

รัฐบาลไทยได้ออกมาตรการลดหย่อนภาษีสำหรับธุรกิจเพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งนอกเหนือจากการขยายกำหนดเวลาการยื่นภาษีเงินได้ส่วนบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีหัก ณ ที่จ่ายแล้ว มาตรการล่าสุดยังมีการลดค่าธรรมเนียมธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างลง 90% สำหรับพื้นที่เกษตรกรรม ที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรม และที่ดินเปล่า โดยจะมีผลบังคับใช้จนถึงสิ้นปี 2564

 

InterLoop เราพร้อมให้ความช่วยเหลือนักลงทุนในทุก ๆ ขั้นตอน ในด้านการขอยื่น BOI  ท่านสามารถติดต่อได้ที่ Line ID: @inlps  และ เบอร์โทรศัพท์: 097-106-9113
Author

Content Writer

All stories by: Content Writer

Leave a Reply

Your email address will not be published.