fbpx
Ev car in Singapore

การเริ่มต้นใหม่ ๆ ได้เกิดขึ้น ทุกระบบล้วนถูกระดมไปเพื่อยานยนต์พลังงานไฟฟ้าของสิงคโปร์ (ตอนที่ 1)

736 492 Content Writer
การทำนายครั้งใหญ่ : หลังสิบปีแห่งความลงตัวและการเริ่มต้นใหม่ ๆ ทุกระบบล้วนถูกระดมไปเพื่อยานยนต์พลังงานไฟฟ้าในฝันของสิงคโปร์ (ตอนที่ 1)

 

การนำความฝันเรื่องพลังงานไฟฟ้ากลับมาทำใหม่

รถ EV ได้กลายเป็นที่รู้จักในฐานะ Green Transportation ที่กำลังเป็นที่หลงรักไปทั่วโลกและได้รับการพูดถึงว่าเป็นยานพาหนะที่ตอบโจทย์ในเรื่องการลดสภาวะโลกร้อน

 

ถึงแม้จะเป็นแค่ช่วงระยะเวลาไม่กี่ปีมานี้ กระนั้นก็ตามการพัฒนาที่เกิดขึ้นจึงมาในรูปแบบของการออกแบบรถให้สามารถใช้งานได้ในชีวิตจริงมากขึ้นสำหรับการทำธุรกิจ

 

ทางรัฐบาลได้เข้ามาอุ้มโครงการที่ทำทำ หยุดหยุด ของการผลิตรถไฟฟ้านี้มามากกว่าสิบปี ซึ่งก็ทำให้บรรดากลุ่มผู้ที่คาดหวังจะซื้อรถ EV  รวมถึงผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันเกิดความไม่แน่ใจว่ารถ EV นั้นจะมีอนาคตได้หรือไม่ในสิงคโปร์

 

เริ่มต้นเร็วตั้งแต่ช่วงปี 2009 หน่วยงานราชการแปดหน่วยงานได้มาประชุมรวมตัวกันเพื่อที่จะศึกษาในเรื่องการพัฒนา และการเพิ่มจำนวนของรถ EV ในประเทศสิงคโปร์ท่ามกลางความโกลาหลในหมู่นักลงทุน รวมไปถึงจำนวนของธุรกิจ start-up ท้องถิ่นที่เข้ามามีส่วนแบ่งในตลาด

 

ยกตัวอย่างเช่น แคลร์เรนซ์ ตัน วัย 38 ปี แมคคานิคประจำกองทัพของสิงคโปร์ ที่ได้ลงทุนเงินจำนวน 250,000 ดอลลาร์สิงคโปร์เพื่อก่อตั้งบริษัทรถยนต์เพื่อสิ่งแวดล้อม หรือ green car ในปี 2008 ด้วยความฝันว่าจะผลิตรถยนต์EV ขนาด 2 ที่นั่งให้ได้ 2,500 คันในช่วงระยะเวลาตลอดทั้งปี โดยผลิตในโรงงานที่มีขนาดเทียบเท่าที่พักอาศัยแบบแฟลตต่อกัน 3 ห้อง

 

และยังมี นาย คิม เคียน วี อายุ 36 ปี ผู้ซึ่งยอมลาออกจากการเป็นวิศวกรที่ทำรายได้ปีละ 200,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ และได้นำเงินบำนาญของเขามาลงทุนในธุรกิจบริษัทที่ทำเกี่ยวกับ green technology ที่ชื่อว่า Ample ที่มุ่งไปในเรื่องการพัฒนารถ  EV ที่สามารถวิ่งได้ไกลถึง 900 กิโลเมตร ต่อการชาร์จ1 รอบ

 

และผลที่ปรากฏก็คือ ผู้ประกอบการที่มาก่อนกาลทั้งสองรายนั้น ไม่สามารถเริ่มต้นธุรกิจของตนได้

 

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ของปีที่แล้ว รองนายกรัฐมนตรีของสิงคโปร์ Heng Swee Keat ได้กล่าวไว้ เนื่องในวาระการแถลงงบประมาณในปี 2020 ว่า “ทิศทางที่จะเกิดขึ้นคือนโยบายที่จะโน้มเอียงไปที่การลงทุนในอุตสาหกรรมรถ EV เพราะมันคือเทคโนโลยี (ยานยนต์ที่สะอาดกว่า) ที่เชื่อมั่นได้”

 

Electric car

 

Mr. Heng กล่าวว่า ทางสิงคโปร์จะทำการติดตั้งแท่นชาร์จรถไฟฟ้าจำนวน 28,000 จุด ในลานจอดรถสาธารณะ ทั่วประเทศภายในปี 2030 เพื่อที่จะยุติการใช้รถยนต์ที่ใช้พลังงานน้ำมัน เบนซิน และ ดีเซล ภายในปี 2040

 

เขายังได้แถลงอีกว่าการหันมาใช้รถพลังงานไฟฟ้าให้เร็วขึ้นนั้น จะช่วยลดค่าใช้จ่ายที่เสียไปกับการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่จะมีขึ้นได้มากถึง 20,000 ดอลลาร์สิงคโปร์

 

ตั้งแต่ทางรัฐบาลได้ประกาศแผนรักษ์โลก หรือ Green Plan ที่มุ่งทำให้สำเร็จภายในปี 2030 เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ปีนี้ การผลักดันในเรื่องการใช้รถ EV ก็เป็นไปอย่างรวดเร็วตั้งแต่นั้นมา ซึ่งช่วยในการตั้งเป้าหมายใหม่ในการจดทะเบียนรถทุกคันที่จะต้องเป็นรถยนต์พลังงานสะอาดในปี  2030 และจุดชาร์จพลังงานรถยนต์จำนวน 60,000 จุด ก็จะถูกสร้างขึ้นในปีเดียวกัน ซึ่งเป็นเป้าหมายที่มีตัวเลขสูงกว่าแผนเดิมกว่าสองเท่า

 

เมื่อวันที่  16 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ได้มีการแถลงงบประมาณประจำปี 2021 Mr. Heng ซึ่งดำรงอีกตำแหน่งในฐานะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้แถลงว่า ทางรัฐบาลจะระงับค่าธรรมเนียมขั้นต่ำในการจดทะเบียนรถ EV จำนวน 5,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ พร้อมงบประมาณสนับสนุน 30 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์เพื่อช่วยผลักดันโครงการรถ EV ในระยะแรก ตัวอย่างเช่น การตรวจสอบเพื่อพัฒนาระบบชาร์จพลังงาน

 

เกณฑ์การสนับสนุนเรื่อง รถ EV ที่น่าประทับใจนี้ช่างขัดแย้งกับสิ่งที่ CEO ของ Tesla อย่าง อีลอน มัสก์ ได้เคยกล่าวไว้เมื่อไม่นานมานี้อย่างสิ้นเชิง เพราะเขาได้ tweet ข้อความไปในเดือนพฤษภาคม  ปี 2018 โดยวิจารณ์ทางรัฐบาสิงคโปร์ว่าไม่ให้การสนับสนุนเรื่องรถ EV  และในเดือนมกราคม ปี 2019 เข้ายังได้กล่าวอีกว่าประเทศนี้ “ไม่ให้การต้อนรับ” ยักษ์ใหญ่ทางด้านรถยนต์พลังงานไฟฟ้า

 

Masagos Zulkifli ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำในขณะนั้น ได้ทำการตอบโต้กลับโดยผ่านสำนักข่าวสากล อย่าง Bloomberg และเป็นที่กล่าวถึงกันมากในปี 2019 โดยให้ความเห็นว่ารถ EV ของ Tesla นั้นเป็นรถที่ตอบโจทย์ทางด้านไลฟ์สไตล์ ไม่ใช่ สิ่งแวดล้อม

 

“เราไม่สนใจในเรื่องไลฟ์สไตล์ พวกเราสนใจวิธีการที่มีประสิทธิผลในการช่วยแก้ปัญหาเรื่องโลกร้อน” นาย มาซากอส กล่าว หลังจากที่ได้ชี้แจงประเด็นในเรื่องความลำบากที่จะติดตั้งสถานีชาร์จไฟเพื่อให้เพียงพอต่อการใช้งาน เนื่องจากประชากรในประเทศก็ยังต้องอาศัยอยู่ในแฟลตถึง 85%

 

“แค่การเลือกจุดจอดรถก็ถือว่าเป็นปัญหาแล้ว และตอนนี้คุณก็อยากจะพูดว่าใครที่มีจุดชาร์จพลังงาน เรายังไม่มี Solution นี้เลย” นาย มาซากอส ผู้ซึ่ง ณ ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและครอบครัวกล่าวเพิ่มเติม

 

ท่านรัฐมนตรียังได้กล่าวอีกว่า เทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน ซึ่งเป็น Solution ในระยะยาวที่ดีกว่าสำหรับรถ EV  แต่เพราะสาเหตุของ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาจากจากเหมืองโลหะซึ่งจำเป็นที่จะต้องผลิตแบตเตอรี่ให้กับรถยนต์ดังกล่าวจึงทำให้ทางเลือกนี้ตกไป

 

vehicle pollution

 

ต้นปี  2016 ได้มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นกับรถ EV ที่มีโพรไฟล์ดี เนื่องจากแท่นชาร์จคาร์บอนมูลค่า 15,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ ได้ถูกประกอบอย่างไม่สมบูรณ์กับรถยี่ห้อ Tesla รุ่น S sedan

 

ในการจัดระบบรถ EV  ตามความเห็นของเจ้าของ Joe Nguyen เชื่อว่าแม้กระทั่งตอนนี้การเป็น “รถเพียงประเภทเดียวในโลกนี้ที่จะถูกจับปรับจากการปล่อยมลภาวะ” กระทรวงคมนาคมทางบกก็ได้ออกมาชี้ชัดแล้วว่ารถยนต์พลังงานไฟฟ้านั้น “ไม่ได้ปลอดจากการปล่อยก๊าซคาร์บอน”

 

ยังมีข้อมูลที่เสริมเข้ามาอีกว่า “รถประเภทนี้อาจจะไม่ได้ปล่อยก๊าซเสียที่ท่อไอเสียด้านท้ายรถยนต์เหมือนรถทั่ว ๆ ไป แต่จะต้องใช้พลังงานไฟฟ้าที่มาจากแท่นชาติของรัฐที่มาจากการเผาผลาญน้ำมันเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า ซึ่งกระบวนการช่วงนี้ที่จะผลิตการปล่อยก๊าซคาร์บอน”

 

การรับรู้ในเชิงลบที่มีต่อรถ EV นั้นได้ทำให้ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์หลาย ๆ แห่งยับยั้งการนำเข้ารุ่นรถที่หลากหลายขึ้น และบริษัทที่ทำหน้าที่ติดตั้งจุดชาร์จพลังงานก็ชะงักการติดตั้งลง ซึ่งส่งผลให้ผู้ซื้อรถนั้นหันไปมองทางเลือกอื่นที่พวกเขาเห็นว่ามีจุดชาร์จพลังงานที่เพียงพอ หรือ ตรงกับรุ่นรถที่พวกเขาเลือก

 

แต่ในขณะเดียวกันการเคลื่อนไหวล่าสุดของผู้ผลิต EV ชั้นแนวหน้าก็ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี ตัวแทนจาก ตันจง มอเตอร์เซลส์ ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของนิสสันในสิงคโปร์ ได้ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว TODAY ว่าทาวรัฐบาลจำเป็นที่จะต้องมีการกระตุ้นที่มากขึ้น

 

มันยังไม่สามารถมองเห็นเกณฑ์ที่รัฐบาลจะใช้เป็นบรรทัดฐานในเรื่องรถยนต์พลังงานสะอาดได้เพียงแค่โมเดลเดียว ไม่อย่างนั้นเป้าหมายที่ตั้งไว้ในปี  2030 ก็จะยิ่งห่างไกลจากการใช้รถยนต์สันดาปทั่วไป  (ICE) นาย รอน ลิม Head of sales and marketing จากตันจง กล่าว

 

“หน่วยงานของภาครัฐได้ทำการประเมินคุณภาพของรถยนต์โดยมีพื้นฐานข้อมูลจากความสามารถในการสันดาป และราคา ซึ่งทำให้รถยนต์ไฮบริด และ EV เสียเปรียบในเรื่องนี้” เขาอธิบาย “รถยนต์ ICE นั้น จัดอยู่ในประเภท  A2 ตามรายการยานพาหนะที่ปล่อยมลพิษ ซึ่งทำให้รถกลุ่มนี้มีราคาที่จับต้องได้มากกว่ารถไฮบริด หรือ EV ซึ่งมีอำนาจในเรื่องการจัดซื้อจัดหาที่มากกว่า”

 

ประชาชนส่วนใหญ่อาจจะมองเรื่องนี้ในมุมของ “ความขัดแย้งที่กำลังเทศน์อบรมโดยรัฐบาล”  นาย ลิม กล่าว “ถ้าทางรัฐบาลสามารถเป็นผู้นำโดยการทำเป็นตัวอย่างให้ดู ความเชื่อมั่นในรถยนต์ไฮบริด หรือ EV ก็จะโต”

 

ติดตามช่องทางสำหรับรับข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติม ได้ที่

Facebook: Interloop Solutions & Consultancy 
Youtube: Interloop Solutions & Consultancy
Blockdit: Interloop Solutions & Consultancy

 

Author

Content Writer

All stories by: Content Writer

Leave a Reply

Your email address will not be published.