คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติกำลังพิจารณากำหนดเป้าหมายการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ใหม่ โดยจะให้คิดเป็นครึ่งหนึ่งของการผลิตรถยนต์ทั้งหมดภายในปี 2573 และมีเป้าหมายคือเริ่มต้นเข้าสู่แนวทางของโลกในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากรถยนต์ผลิตใหม่ทั้งหมด
เป้าหมายใหม่ซึ่งถูกผลักดันโดยผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ในประเทศไทยเกิดจากหน่วยงานของรัฐและบริษัทด้านพลังงานที่พยายามแก้ปัญหาเกี่ยวกับสถานีชาร์จที่ไม่เพียงพอรวมถึงการชาร์จที่ใช้เวลานา
“รัฐบาลจะหารือเกี่ยวกับเป้าหมายใหม่ของ EV กับหน่วยงานของรัฐและผู้ผลิตรถยนต์ภายในเดือนนี้” นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงานกล่าว “บริษัทรถยนต์ระดับโลกได้ถามรัฐบาลว่าเป้าหมายใหม่นี้เป็นไปได้หรือไม่”
ก่อนหน้านี้ได้มีการตั้งเป้าการผลิต EV ไว้ที่ 30% ของรถยนต์ใหม่ทั้งหมดหรือ 750,000 คันจาก 2.5 ล้านคัน ด้วยเป้าหมายใหม่ 50% จำนวน EV ที่ผลิตได้ต่อปีจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.25 ล้านคัน โดยในปัจจุบันจากข้อมูลของสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าแห่งประเทศไทยพบว่ายอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 100,000 คัน
ราคาที่สูงเป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับผู้ซื้อ EV แต่ด้วยเทคโนโลยีกำลังเติบโตอย่างรวดเร็วจะทำให้ราคาถูกลงเมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งรัฐบาลคาดว่า EV จะมีราคาเท่ากับรถยนต์ทั่วไปภายในสิ้นปี 2583
ทั้งบริษัทเอกชนและหน่วยงานรัฐบาลต่างกำลังพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของ EV โดยเฉพาะสถานีชาร์จเพื่อรองรับจำนวนรถที่เพิ่มมากขึ้น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (Egat) มีแผนจะเพิ่มจุดชาร์จที่ชื่อว่า EleX จากเดิม 13 แห่งเป็น 35 แห่งในปีนี้ นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตกล่าว
“สถานีชาร์จ EV แห่งใหม่ของเราจะถูกสร้างขึ้นตามถนนสายหลักทั่วประเทศ”
Egat กำลังร่วมมือกับบริษัทรถยนต์รายใหญ่ 6 แห่ง ได้แก่ Audi, BMW, Mercedes-Benz, MG, Nissan และ Porsche ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการชาร์จ EV รวมถึงแอปพลิเคชันเพื่อช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถจัดการความต้องการในการชาร์จรถยนต์ได้ดีขึ้น โดยภายในไตรมาสที่สองหรือสามของปีนี้ Egat มีแผนจะเปิดตัวแอปมือถือชื่อ EleXA เพื่อให้ผู้ใช้ค้นหาจุดชาร์จ EV ทำการจองล่วงหน้า และชำระเงินได้
EleX และ EleXA เป็นส่วนหนึ่งของ EV Business Solutions ซึ่งดูแลโดย Egat Innovation Holdings Co ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจใหม่ของ Egat ที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับ EV เทคโนโลยีไร้สาย 5G และการค้าไฟฟ้า หน่วยงานอื่น ๆ เองก็กำลังดำเนินการตามแผนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน EV เช่นกัน
ตัวอย่างบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ที่มีแผนเกี่ยวกับ EV ได้แก่ OR ประกาศเตรียมจัดสรรเงินทุน 450 ล้านบาท เพื่อเพิ่มจุดชาร์จ EV 100 แห่งทั่วประเทศในปีนี้จาก 33 แห่งในปัจจุบัน และมีเป้าหมายสำหรับปี 2565 รวมทั้งหมด 300 แห่ง EA กล่าวก่อนหน้านี้ว่ามีเป้าหมายที่จะเพิ่มจุดชาร์จ EV เป็น 1,000 แห่งทั่วประเทศภายในสิ้นปีนี้ PTG กำลังร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อทำการศึกษาความเป็นไปได้ของอุปกรณ์ชาร์จเร็ว 2 ประเภทเพื่อรองรับรถบรรทุกไฟฟ้าขนาดใหญ่
ผู้ผลิตรถยนต์เพิ่มกำลังการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย
ท่ามกลางกระแสการใช้รถยนต์พลังงานสะอาดที่เพิ่มมากขึ้นทั่วโลก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ได้อนุมัติ 24 โครงการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศทุกประเภททั้งไฮบริด (HEV) ปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) และแบตเตอรี่ (BEV) รวมกำลังการผลิตมากกว่า 500,000 คันต่อปี
ด้วยการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องไปสู่ EV ทั้งในตลาดโลกและภูมิภาค ประเทศไทยกำลังอาศัยพื้นฐานที่แข็งแกร่งในอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมสนับสนุนอื่น ๆ รวมถึงที่ตั้งเชิงกลยุทธ์และแรงจูงใจในการลงทุนที่ครอบคลุม เพื่อดึงดูดให้ผู้ผลิตรถยนต์ลงทุนในการผลิต EV
ตัวอย่างโครงการที่ได้รับอนุมัติ ได้แก่ การลงทุน 5.48 พันล้านบาทของบริษัทมิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ในการยกระดับสายการผลิตเดิมของบริษัทที่นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง เพื่อให้สามารถผลิตรถยนต์ไฟฟ้าได้จำนวน 39,000 คันต่อปีตั้งแต่ปี 2566 โดยจะแบ่งเป็น BEV 9,500 คัน และ HEV 29,500 คัน นอกจากนั้นเมื่อเดือนมิถุนายน BOI ยังได้อนุมัติการลงทุน 5.5 พันล้านบาทของกลุ่มสามมิตรเพื่อการผลิต BEV 30,000 คัน ในจังหวัดเพชรบุรี โดยทั้งสองโครงการเช่นเดียวกับโครงการอื่น ๆ จะมุ่งเป้าไปที่ตลาดในประเทศและการส่งออกส่วนใหญ่ไปยังประเทศในอาเซียน
ผู้ผลิตรายอื่นที่ได้รับการอนุมัติ ได้แก่ BMW (การผลิต PHEV และร่วมมือกับ DRÄXLMAIER Group ในการผลิตแบตเตอรี่แรงดันสูงและโมดูลแบตเตอรี่) FOMM (First One Mile Mobility) แบรนด์ EV ใหม่ของญี่ปุ่นซึ่งได้เริ่มผลิตรถยนต์ขนาดเล็กที่โรงงานในจังหวัดชลบุรี และ Nissan Motor ซึ่งลงทุนในการผลิตรถยนต์ไฮบริดในประเทศไทยมาเป็นเวลาหลายปีและพึ่งได้รับการอนุมัติโครงการผลิต BEV ใหม่เมื่อเร็ว ๆ นี้
นอกเหนือจาก HEV 5 โครงการ PHEV 6 โครงการ และ BEV 13 โครงการ ที่ได้รับการอนุมัติหลังจาก BOI ได้ออกมาตรการจูงใจที่ครอบคลุมทุกด้านที่สำคัญของซัพพลายเชนแล้ว ทางหน่วยงานยังได้อนุมัติโครงการผลิตแบตเตอรี่ 10 โครงการ ซึ่งมีกำลังผลิตรวมห้าแสนหน่วยต่อปี และโครงการผลิตสถานีชาร์จ 2 โครงการที่จะสร้างจุดชาร์จมากกว่า 4,400 แห่งต่อปี นางสาวซ่อนกลิ่น พลอยมี ผู้อำนวยการกองพัฒนาและเชื่อมโยงการลงทุของ BOI กล่าวในการสัมมนาทางเว็บล่าสุดเกี่ยวกับตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในเอเชีย
ประเทศไทยซึ่งเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่มีข้อกำหนดด้านการใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ ทำให้การจัดการซัพพลายเชนสะดวกขึ้นสำหรับผู้ผลิตนางสาวซ่อนกลิ่นกล่าวในงานซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสัมมนาเรื่องพลังงานที่ยั่งยืนของอาเซียนเกี่ยวกับผลกระทบของการระบาดของโควิด-19
ในประเทศไทยมีการใช้ EV เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมี HEV และ PHEV ใหม่มากกว่า 30,000 คัน รถยนต์และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่มากกว่า 1,200 คัน ที่จดทะเบียนในปี 2562 โดยมีจุดชาร์จประมาณ 750 แห่ง ใน 500 พื้นที่ จากข้อมูลของนายกฤษฎา อุตตโมทย์ นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย
สำหรับท่านใดที่สนใจขอรับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ท่านสามารถติดต่อปรึกษาได้ที่บริษัท InterLoop Solutions & Consultancy Co.,Ltd. โทร 097-106-9113 Line ID: @inlps
Interloop มีบริการยื่นขอ BOI ครบวงจร ตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งคุณได้รับการส่งเสริมการลงทุน โดยที่คุณไม่ต้องเสียเวลาทำด้วยตัวเอง
Leave a Reply