เพื่อเป็นการรองรับความสำคัญของหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในฐานะปัจจัยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญสำหรับการผลิตทั่วโลก รัฐบาลไทยได้วางรากฐานที่แข็งแกร่งสำหรับการเติบโตของอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ของประเทศโดยการนำเสนอสิ่งจูงใจ สร้างความร่วมมือกับภาคเอกชน และพัฒนาศูนย์บ่มเพาะนวัตกรรมแบบบูรณาการ รวมถึงศูนย์การเรียนรู้ในระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
เมืองนวัตกรรมระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (ARIPOLIS) จะถูกสร้างขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) มีเป้าหมายริเริ่มนวัตกรรมในหุ่นยนต์ต้นแบบและระบบอัตโนมัติ และถ่ายทอดเทคโนโลยีไปสู่การใช้งานจริงในภาคธุรกิจ โดยเมืองนี้จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการวิจัยและพัฒนา กิจกรรมการบ่มเพาะ การฝึกอบรม และการศึกษา
ด้วยโครงสร้างพื้นฐาน ICT ขั้นสูงและเครือข่ายการขนส่งหลากหลายรูปแบบที่เชื่อมโยงสถานที่ตั้งในอำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง กับภูมิภาคเอเชียได้อย่างสะดวก ARIPOLIS จะช่วยให้บริษัทข้ามชาติ บริษัทในพื้นที่ และสตาร์ทอัพ สามารถเข้าถึงห้องปฏิบัติการชั้นยอด กิจกรรมการบ่มเพาะและศูนย์การเรียนรู้ รวมถึงโซนการศึกษาซึ่งมีทั้งสถาบันการศึกษาและหลักสูตรที่เน้นการพัฒนาทักษะเฉพาะอุตสาหกรรม
เพื่อใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศที่แข็งแกร่ง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับภาคเอกชนได้จัดตั้งศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (SMC) ใน ARIPOLIS ซึ่งเป็นที่ที่แพลตฟอร์ม IoT และระบบวิเคราะห์ข้อมูลอุตสาหกรรม (IDA) กำลังได้รับการพัฒนาเพื่อขับเคลื่อนการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของโรงงานในพื้นที่
IDA มีเป้าหมายที่จะเป็นศูนย์บ่มเพาะที่สำคัญซึ่งผู้ติดตั้งระบบและนักวิจัยสามารถเรียนรู้และทดสอบเครื่องมืออุตสาหกรรม 4.0 พร้อมกับยังมี Testbed และ Sandbox สำหรับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี โดยมีจุดมุ่งหมายคือการทำให้การผลิต โลจิสติกส์ และการบำรุงรักษาโรงงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ
ความคิดริเริ่มที่สำคัญอีกประการหนึ่งในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์คือ ความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา เพื่อจัดตั้ง Automation Park บนพื้นที่มหาวิทยาลัยบูรพาใน EEC เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยีอุตสาหกรรม 4.0
Automation Park มีศูนย์จัดการเรียนรู้ Smart factory model line ที่ผสมผสานการนำเทคโนโลยีด้านระบบอัตโนมัติโรงงานและเทคโนโลยีด้านสารสนเทศเข้าด้วยกัน เช่น การใช้งานหุ่นยนต์อัตโนมัติ การประมวลผลแบบคลาวด์ และการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อสร้างต้นแบบสำหรับการใช้งานในโรงงาน ศูนย์แห่งนี้ยังมี Fabrication Laboratory สำหรับระบบสมองกลฝังตัว (Embedded System) รวมไปถึง Co-working Space อีกด้วย Automation Park ทำงานร่วมกับสถาบันพัฒนาบุคลากรสาขาเทคโนโลยีการผลิตอัตโนมัติและหุ่นยนต์ (MARA) ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (CoRE) สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO) และสถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมในการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาและการฝึกอบรมในสาขาที่เกี่ยวข้อง
โครงการริเริ่มด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสิ่งอำนวยความสะดวกนั้นสอดคล้องกับความพยายามของรัฐบาลในการผลักดันประเทศไทยให้เป็นผู้นำด้านการพัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ และสร้างตัวเองให้เป็นมหาอำนาจที่โดดเด่นในเอเชีย ภายใต้แผนดังกล่าวคาดว่าจะสามารถลดการพึ่งพาการนำเข้าชิ้นส่วนหุ่นยนต์ ลดต้นทุนการดำเนินงานของผู้ติดตั้งระบบ และเพิ่มจำนวนผู้ติดตั้งระบบได้ในช่วงไม่กี่ปีข้างหน้า
BOI ขยายการยกเว้นภาษีสำหรับการใช้งานระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์
เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2564 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ได้ประกาศขยายเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ให้กับกิจการในกลุ่ม B สำหรับการใช้งานระบบอัตโนมัติหรือหุ่นยนต์ออกไปอีก 2 ปี โดยโครงการที่เข้าเกณฑ์ต้องยื่นขอยกเว้นภาษีต่อ BOI ภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2565
ตามมาตรการของ BOI กลุ่ม B1 และ B2 ประกอบด้วยกิจการสนับสนุนที่ไม่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง แต่ยังคงมีความสำคัญต่อ Value Chain โครงการที่มีสิทธิ์จะได้รับการยกเว้นดังต่อไปนี้
- โครงการที่ใช้ระบบอัตโนมัติหรือระบบหุ่นยนต์ในกิจกรรมการผลิตจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุด 50% ของเงินลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดินและเงินทุนหมุนเวียน) เป็นเวลา 3 ปี
- เพื่อเป็นการสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ของไทย โครงการที่ใช้ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ที่มีการเชื่อมโยงหรือสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศอย่างน้อย 30% ของมูลค่าระบบ จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุด 100% ของเงินลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน)
กิจการบางประเภทของกลุ่ม B นั้นไม่สามารถขอรับการส่งเสริมตามมาตการนี้ได้ เช่น อีคอมเมิร์ซ (ประเภท 5.8) การผลิตรถยนต์ทั่วไป (ประเภท 4.6) การผลิตรถจักรยานยนต์ (ประเภท 4.12) สถานีบริการก๊าซธรรมชาติ (ประเภท 7.2) การสนับสนุนการค้าและการลงทุน (หมวด 7.7) Co-working Space (ประเภท 7.9.2.6) และศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (ประเภท 7.34)
บริษัทที่ได้รับการส่งเสริมจาก BOI
BOI เป็นหน่วยงานหลักของรัฐบาลในการส่งเสริมการลงทุนในประเทศไทยโดยเสนอสิ่งจูงใจให้กับบริษัทที่มีสิทธิ์ มีเป้าหมายในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและอำนวยความสะดวกในการลงทุน โดยเสนอสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่น่าสนใจ ลดข้อจำกัดด้านเงินทุนจากต่างประเทศในกิจกรรมการผลิตและบริการ และยกเว้นข้อจำกัดในการถือครองที่ดินของนักลงทุนต่างชาติ
BOI ส่งเสริมการลงทุนในกิจการและเขตการลงทุนเฉพาะ โดยให้ทั้งสิทธิประโยชน์ทางภาษีและสิทธิประโยชน์ที่ไม่ใช่ภาษี ได้แก่
– อนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน
– อนุญาตให้ดำเนินกิจการภายใต้กรรมสิทธิ์ของชาวต่างชาติ 100%
– ยกเว้นเงื่อนไข work permit และ visa
– ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร
– ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุด 8 ปี
– ส่วนลดหย่อนค่าขนส่ง ค่าไฟ และค่าน้ำ
– ส่วนลดหย่อนค่าก่อสร้างหรือติดตั้งโครงสร้างพื้นฐาน
– ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบสำหรับการผลิตเพื่อการส่งออกเป็นระยะเวลา 5 ปี
– อนุญาตให้ช่างฝีมือ ผู้ชำนาญการ รวมถึงคู่สมรส และผู้ติดตามเข้ามาทำงานและอาศัยอยู่ในประเทศไทย
สำหรับท่านใดที่สนใจขอรับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ท่านสามารถติดต่อปรึกษาได้ที่บริษัท InterLoop Solutions & Consultancy Co.,Ltd. โทร 097-106-9113 Line ID: @inlps
Interloop มีบริการยื่นขอ BOI ครบวงจร ตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งคุณได้รับการส่งเสริมการลงทุน โดยที่คุณไม่ต้องเสียเวลาทำด้วยตัวเอง
Leave a Reply