fbpx
The environmental case for remote working

สถาวะสิ่งแวดล้อมในช่วงที่ต้องทำงานทางไกล (Remote Working)

1000 667 Content Writer

หากใครที่กำลังมองหาข้อดีในช่วงโควิด ควรจะมองไปยังท้องฟ้าที่แจ่มใสที่อยู่เหนือสถานการณ์ดังกล่าว การลดลงของมลภาวะทั่วโลก เป็นผลพลอยได้จากมาตรการล็อคดาวน์ และการให้ทุกคนอยู่บ้านเพื่อหยุดการแพร่เชื้อโควิด 19

ยังมีข้อดีที่มีความสัมพันธ์กันในทางสังคม นั่นคือการที่ผู้คนไม่ต้องเดินทางไป-กลับเพื่อไปทำงานและกลับบ้านจากการทำงานที่บ้าน และไม่มีใครปฏิเสธว่านี่เป็นเรื่องที่ดี คำถามคือ บรรดาธุรกิจต่าง ๆ จะเลือกที่จะรักษาสิ่งนี้ไว้หลังจากวิกฤติได้ผ่านพ้นไปแล้วหรือไม่

 

ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม

เมื่อทั่วโลกเข้าสู่สถานการณ์ล็อคดาวน์ในเดือนมีนาคม 2020 ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมคือสิ่งที่เห็นได้ชัดเกือบจะทันที วันที่ 19 มีนาคม นักวิจัยจาก Columbia University ได้ให้สัมภาษณ์กับนักข่าว BBC ว่า คาร์บอนมอนน็อคไซด์ ที่หลัก ๆ ถูกปล่อยมาจากการเผาไหม้ของรถยนต์ในนครนิวยอร์ค ลดลงเกือบ 50% เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว พวกเขายังพบอีกว่า ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดลง 5-10% ในนครนิวยอร์ค และปริมาณก๊าซมีเทนยังลดลงอย่างต่อเนื่องอีกด้วย

 

ในประเทศจีน ตั้งแต่วันที่ 3 กุมภาพันธ์ ถึง วันที่ 1 มีนาคม การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดลงอย่างต่ำ 25% จากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัส จากผลการวิจัยของ Energy and Clean Air (CREA) ที่ได้รายงานผ่านทางสำนักข่าว CNN

“ในฐานะผู้ปล่อยมลภาวะที่ใหญ่ที่สุดของโลก ประเทศจีนคือผู้ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นปริมาณ 30% ของโลกทุกปี ดังนั้นผลกระทบจากการลดลงดังกล่าวจึงมหาศาลมาก ถึงแม้ว่าจะเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ ก็ตาม” Lauri Myllyvirta, หัวหน้านักวิเคราะห์ แห่ง CREA กล่าว ทางสถาบันคาดการณ์ว่าปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์น่าจะอยู่ประมาณ 200 ล้านตัน ซึ่งเป็นปริมาณที่มากกว่าครึ่งของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของประเทศอังกฤษทั้งปี

 

การลดลงของมลภาวะในประเทศจีนในช่วงการล็อคดาวน์เมื่อเดือน มกราคม และ กุมภาพันธ์นั้น “เหมือนจะช่วยชีวิตคนที่อยู่ในประเทศจีนได้มากกว่า 20 เท่าของจำนวนประชากรที่เสียไปจาการติดเชื้อโคโรน่าไวรัส” Marshall Buke จากกรมระบบโลกและวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย Stanford ได้ลองคำนวณไว้ให้ ดังในรายงานที่เขียนไว้ใน นิตยาสาร Forbes ฉบับเดือนมีนาคม. เขายังเสริมด้วยว่า “ความจริงในการแทรกแซงสภาวะสิ่งแวดล้อมที่ใหญ่ขนาดนี้ จริงๆแล้วมันสามารถนำไปสู่ข้อดี (บางส่วน) ที่ใหญ่พอ ๆ กัน จึงขอแนะนำว่า ในสภาวะปกติที่เราใช้ชีวิตกันนั้น อาจจะต้องการการแทรกแซงอะไรแบบนี้บ้าง”

 

สำหรับธุรกิจที่ต้องการการสนับสนุนในเรื่องรักษ์โลกเพื่ออนาคต, นี่คือคำตอบที่กระจ่างคำตอบหนึ่ง : ให้มีนโยบายทำงานทางไกลของพนักงานต่อไปหลังจากการระบาดสิ้นสุดลงในเดือนธันวาคม ปี 2019 Harvard Business Review ให้คำแนะนำว่าการโดยสารรถไป-กลับ คนเดียว เป็นการปล่อยสารพิษที่สำคัญมาก (ถือเป็น 24% ของพลังงานโลก ซึ่งสัมพันธ์กับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของยานพาหนะ)

 

 

The environmental case for remote working

 

 

ผลกระทบต่อมนุษย์ 

ผลงานวิจัยแนะนำว่า พนักงานจะมีความสุขมากขึ้นถ้าได้ทำงานใกล้บ้านในอนาคต ซึ่งมีแนวโน้มมาจากการพิจารณาในเรื่องสิ่งแวดล้อมและการตระหนักในเรื่องอันตรายของสุขภาพที่เกิดจากมลพิษที่เพิ่มมากขึ้น งานวิจัยในปี 2018 ได้เผยให้เห็นว่าการโดยสารยานพาหนะ ไป-กลับ ที่ทำงานนั้นสร้างมลพิษมากกว่าการ work from home ถึง 30% และมากกว่าครึ่ง (57%) ในสหรัฐอเมริกา จากสำรวจของ Randstand กล่าวว่า มันสำคัญสำหรับพนักงานมากที่ได้ที่ทำงานใกล้บ้าน เพราะนั้นหมายถึงพวกเขาจะได้รับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจาก carbon footprint ที่น้อยลง

 

มากไปกว่านั้น คนเรามักจะมีแรงผลักดันที่มากขึ้นซึ่งส่งผลมาจากความต้องการที่อยากจะอยู่ใกล้ชิดกับคนในครอบครัว จึงส่งผลให้พวกเขาจะต้องทำผลงานให้ดีขึ้นเพื่อ work/life balance. โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่เป็นพ่อแม่ การได้ทำงานใกล้บ้านถือว่าเป็นสิ่งที่น่าดึงดูดใจเป็นอย่างมาก เพราะในวัฒนธรรมการทำงานที่มีความยืดหยุ่นนั้นจะทำให้พวกเขาสร้างสรรค์งานที่มีคุณภาพมากขึ้นจากที่บ้าน ไม่ว่าพนักงานคนนั้นจะเป็นชายหรือหญิง เพราะพวกเขาสามารถมีช่วงเวลาที่มีคุณภาพอยู่กับครอบครัวได้, CNBC รายงาน

 

ในอนาคต ไม่เพียงแต่สิ่งล่อตาล่อใจในเมืองจะดึงดูดมากพอที่จะทำให้คนทำงานบางกลุ่มอยากจะกลับไปทำงานที่ออฟฟิส จากการรายงานพบว่าบรรดาเจนวายก็เริ่มหันมาคิดทบทวนในเรื่องค่าเดินทาง เพราะการอาศัยอยู่ในตัวเมืองนั้นมักมาพร้อมโรงเรียนที่ไม่มีคุณภาพ และคุณภาพชีวิตที่ถูกจำกัด พวกเขาเลยเลือกที่จะย้ายไปอยู่ชานเมืองแทน จากบทความของ นิตยสาร Wall Street Journal ในการสำรวจประชากรในปี 2019 แสดงให้เห็นว่าเทรนด์การพักอาศัยในใจกลางเมืองของวัยรุ่นได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องถึงสี่ปีซ้อน เกือบ 30,000 คนของประชากรอายุระหว่าง 25 ถึง 39 ปีที่ย้ายออกไปจากนิวยอร์ค สำหรับในลอนดอน บทความที่ชื่อว่า The Guardian ซึ่งมีพื้นฐานมาจากข้อมูลล่าสุด แสดงให้เห็นว่า “340,500 คน ได้ย้ายออกไปตั้งแต่ 12 เดือนก่อนหน้าที่จะถึงเดือน มิถุนายน 2018”.

 

 

บทบาทของพื้นที่ที่เรียกว่า Flexspace

“การเปลี่ยนแปลงในระยะยาวของรูปแบบการทำงานแบบไป-กลับจะเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจเพียงเล็ก ๆ เท่านั้นที่จะมีต่อไปหลังการระบาดสิ้นสุดลง” Kazuo Momma กล่าว เขาคือชายผู้เข้ามาเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเงินก่อนหน้านี้ของ Bank of Japan  สำหรับบริษัทที่ต้องการที่จะดำเนินการต่อในเรื่องความเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ นี้ การใช้ Flexible office space อาจจะช่วยได้ ซึ่งเป็นการช่วยให้ผู้คนได้ทำงานใกล้บ้านมากขึ้น

 

ดูเหมือนว่าผู้คนจะชอบการแบ่งแยกที่ชัดเจนบางประการระหว่างบ้านกับที่ทำงาน และใช้ช่วงเวลาในการเดินทางไปทำงานและกลับบ้านในการผ่อนคลายความตึงเครียดระหว่างวัน ซึ่งสิ่งนี้มีเหตุผลรองรับทางวิทยาศาสตร์ จากการวิจัยที่เพิ่มมากขึ้น แสดงให้เห็นถึง “การไป-กลับที่แอคทีฟ” ซึ่งรวมถึงการเดิน หรือ ปั่นจักรยาน ที่สามารถเพิ่มคุณภาพชีวิตได้ แม้กระทั่งเป็นสิ่งที่ทำให้ชีวิตดีพอ ๆ กับการได้แต่งงาน หรือ การที่เงินเดือนถูกปรับขึ้น

 

การที่จะจัดสรรพื้นที่ Office space โดยยึดจากที่อยู่ของพนักงานนั้น บริษัทจะได้ผลตอบแทนกลับมาเป็นการทำงานอย่างมีความสุขของลูกจ้าง คนทำงานที่หลากหลาย และอนาคตที่มีสิ่งแวดล้อมที่ดีสำหรับทุกคน โลกของเราจำเป็นจะต้องทำงานทางไกล และมันก็ได้ผลดีซะด้วย  และตอนนี้ก็ถึงเวลาของคุณแล้ว ที่จะหันมาพิจารณาเครือข่ายของ professional workspace ซึ่งจะช่วยทำให้คนสามารถทำงานได้ใกล้บ้านมากขึ้น และลองเข้าไปศึกษาทางเลือก Regus’s portfolio.

 

Author

Content Writer

All stories by: Content Writer

Leave a Reply

Your email address will not be published.