fbpx
Office re-entry is proving trickier than last year’s abrupt exit

รับมืออย่างไร เมื่อต้องกลับมาทำงานที่ออฟฟิศ หลังจาก Work from home มานานหลายเดือน

1024 683 Content Writer

เมื่อแปดปีที่แล้ว หัวหน้าฝ่ายการเงิน ณ ขณะนั้นซึ่งคือ Patrick Pichette ถูกถามว่า มีพนักงานของบริษัทไอทียักษ์ใหญ่กี่บริษัทที่ใช้การสื่อสารกันผ่านระบบทางไกล ซึ่งเขาก็ให้คำตอบสั้นๆว่า “น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้” ผู้คนเชื่อว่าการเข้ามาอยู่รวมกันในที่ที่หนึ่ง จะสามารถสร้างงาน นวัตกรรม และความสัมพันธ์ที่แนบแน่นขึ้นมาได้ และบรรดาผู้บริหารก็จะได้ใช้สายตาสอดส่องคนใต้บังคับบัญชาของตนได้ การทำงานที่บ้านนั้นจึงเป็นทางเลือกที่ได้ทำเฉพาะในกรณีที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ความเลี่ยงไม่ได้นั้นก็ได้เกิดขึ้นอย่างไม่ทันตั้งตัวในเดือนมีนาคม ปี 2020 การแพร่ระบาดของโควิด-19 บีบบังคับให้รัฐบาลทั่วโลกต้องออกมาตรการล็อกดาวน์ และส่งผลให้ออฟฟิสทั่วโลกนั้นกลายเป็นสถานที่ห้ามเข้าออกในชั่วข้ามคืน

 

และเพื่อให้รอดในสถานการณ์แบบนี้ ทุกบริษัทต่างก็ก้าวเข้ามาสู่การทดลองที่ยิ่งใหญ่ผ่านการทำงานที่บ้าน คนเมืองพากันสลับมาใส่กางเกงวิ่งแทนการใส่สูท และผู้คนก็พากันทิ้งใจกลางเมืองไปอยู่ชานเมืองกันหมด การที่องค์กรต่าง ๆ หันมาเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน ถือเป็นตัวอย่างที่บ่งบอกยุคสมัยได้ดี บริษัทกูเกิ้ลให้สวัสดิการพนักงานทุกคน มูลค่า 1,000 เหรียญสหรัฐ ในการซื้อเฟอร์นิเจอร์สำหรับการทำงานที่บ้าน รวมถึงจัดหาวีดีโอสอนออกกำลังกายเสมือนจริง และ คลาสสอนทำอาหาร เพื่อให้ทุกคนได้ “ดูแลตัวเองให้ปลอดภัย รวมถึงคนอื่น ๆ ในครอบครัว”

 

อัตราการได้รับวัคซีนในประเทศที่พัฒนาแล้วเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้การทดลองเรื่องระบบการทำงานที่บ้านมีการคลายมาตรการลง แต่ความเร็วในการคลายตัว และ ขอบข่ายของการทำงานระบบนี้ กลับกลายเป็นสิ่งที่ถูกยกเอามาดีเบตกันระหว่างบรรดาบอร์ดบริหารด้วยกันเอง และระหว่างระดับบริหารกับพนักงานองพวกเขา การเปลี่ยนแปลงหนึ่งซึ่งเห็นได้ชัดมากก็คือ มายด์เซ็ทในการคัดค้านนโยบายการทำงานจากบ้านเมื่อปีที่แล้วได้อันตรธานหายไปจนหมด และถูกแทนที่ด้วยทัศนคติในรูปแบบต่าง ๆ ที่หลากหลายไปตามภาคอุตสาหกรรมและภูมิภาค แต่ในส่วนผู้บริหารที่สุดโต่ง ต่างก็เฝ้ารอวันที่พนักงานของตนจะกลับเข้าโต๊ะทำงานเหมือนเมื่อก่อน ในขณะที่อีกฝ่ายก็ยืนยันที่จะทำงานจากนอกออฟฟิสไปด้วยกันทุกคน ซึ่งธุรกิจส่วนใหญ่ก็มักจะเลือกที่จะอยู่ตรงกลางระหว่างสองแนวคิดนี้

 

บุคคลซึ่งสนับสนุนแนวความคิดการทำงานแบบเก่าจะหาพบได้ใน wall street เดวิด โซโลมอน ผู้บริหารของ Goldman Sachs ได้เรียกการทำงานที่บ้านว่า “ความผิดปกติ” เขาคือคนที่อยู่คนละขั้วกับ Morgan  Stanley, James Gorman และได้พูดเหน็บเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า “ถ้าคุณสามารถไปนั่งในร้านอาหารในนิวยอร์คได้ คุณก็ต้องเข้าออฟฟิสได้สิ” James Dimon ผู้ซึ่งเป็น cheif executive ประจำ JPMorgan Chase ได้ออกมายอมรับว่า “ผู้คนไม่ชอบเดินทางไป-กลับ” แต่แล้วไง?” ธนาคารทั้งสามแห่งนี้ต่างก็กังวลว่าพนักงานของตนจะรู้สึกอินกับงานน้อยลงและทำงานได้ไม่มากเท่าที่ควร หากพวกเขาทำงานจากบ้าน

 

ไม่ว่าลึกๆ แล้ว พวกเขาจะเห็นด้วยกับยักษ์ใหญ่อย่าง wall  street หรือไม่ก็ตาม ฝ่ายที่คิดตรงกันข้ามกับพวกเขาที่อยู่ในทวีปยุโรป ก็เห็นว่าการไม่ยอมประนีประนอมนี้คือโอกาสที่จะหลอกล่อ นักการธนาคารที่ไม่ได้รับผลกระทบที่ชื่นชอบรูปแบบของการยืดหยุ่น UBS บริษัทเงินกู้สัญชาติสวิส ได้รายงานเกี่ยวกับการอนุญาตให้พนักงานลำดับที่สอง และ สาม ของพนักงานทั้งหมด ทำงานแบบผสมผสาน ซึ่งก็คือ บางวันทำงานที่บ้าน บางวันเข้าออฟฟิส ซึ่งถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือของการรับคนเข้าทำงาน Natwest ธนาคารสัญชาติอังกฤษ ได้ให้พนักงานเพียงแค่ 1 ใน 8 เท่านั้นกลับเข้ามาทำงานในออฟฟิสเต็มเวลา ในขณะที่พนักงานที่เหลือทำงานตามตารางแบบผสมผสาน หรือ เบื้องต้นให้ทำงานไปจากบ้าน

 

ในขณะที่ผู้ทำงานสายเทคโนโลยีอาจจะรู้สึกอิสระขึ้นเป็นอย่างมาก จากสิ่งที่ปรากฎให้เห็นคือ อัตราการทำงานจากบ้านนั้นสูงขึ้นอย่างมหาศาล ยกตัวอย่างเช่น ในเดือนมิถุนายน Facebook ได้กล่าวว่า พนักงานประจำของ บริษัทโซเชียลมีเดียยักษ์ใหญ่สามารถสมัครทำงานในรูปแบบทางไกลได้ บริษัทอย่าง Spotify ซึ่งทำธุรกิจ music streamer, square และบริษัทที่ทำธุกิจ fintech รวมถึง twitter ก็ได้ออกมาบอกว่า พนักงานของพวกเขาจำนวนมากสามารถทำงานจากบ้านได้นานเท่าไหร่ก็ได้ตราบที่พวกเขาต้องการ

 

Office re-entry is proving trickier than last year’s abrupt exit

 

องค์กรในฝัน

จากหลักฐานที่ปรากฎ ในทุกๆภูมิภาคและอุตสาหกรรม ได้แนะนำให้ผู้คนทำงานไปจากบ้าน อย่างน้อย ๆ ก็ควรจะมีบ้างเป็นครั้งคราว  จากโพลการสำรวจวัยผู้ใหญ่จำนวน 2,000 ในสหรัฐอเมริกา โดย Prudential ซึ่งเป็นบริษัทประกัน พบว่า คนที่ทำงานไปจากบ้านในช่วงการระบาดของโรคจำนวน 87% นั้น อยากจะทำงานในรูปแบบนี้ต่อไปหลังจากผ่านพ้นช่วงวิกฤติไปแล้ว

 

และจากผลการสำรวจล่าสุด มนุษย์ออฟฟิสกว่า 10,000 คน ในยุโรป ได้กล่าวว่าพวกเขาจะกลับไปลงมติเพื่อให้ออกกฎห้ามนายจ้างบังคับให้ลูกน้องเข้าออฟฟิส สูงถึง 79% สำหรับคนทำงานที่ อายุยังน้อย อาจจะเห็นภาพการทำงานจากบ้านเป็นเรื่อง ชิลๆ และ มีความอบอุ่นใจในเรื่องตารางการทำงานที่ยืดหยุ่น  คนที่เกิดในเจน Z ซึ่ง ณ ปัจจุบันมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 16-21 ปี จะเป็นกลุ่มที่ขอเลือกสิ่งต่างๆตามความต้องการของตนมากกว่านโยบายของนายจ้าง ซึ่งก็ถือเป็นสาเหตุสำคัญในการดำเนินการต่อเรื่องการทำงานที่บ้าน จากผลการศึกษาของ Morgan Stanley.

 

ในขณะเดียวกัน คนทำงานในทุกช่วงอายุ ก็ยังอยากที่จะกลับมาทำงานในออฟฟิสอยู่ดี อย่างน้อยก็ได้มาตากแอร์ในขณะที่อากาศข้างร้อนร้อนระอุ พนักงานขาย สำหรับบรรดาบริษัทซอฟต์แวร์ยักษ์ใหญ่ทั้งหลายนั้น ได้นำเอารูปแบบการทำงานที่ไหนก็ได้มาใช้ พบว่า ถึงแม้ว่าพนักงานเกือบครึ่งจะใช้เวลาส่วนใหญ่ทำงานอยู่ที่บ้าน สี่ในห้าคนก็ยังอยากให้บรรยากาศการมาพบปะ ทำงานร่วมกันในออฟฟิสคงอยู่

 

สำหรับภาครัฐบาล บ่อยครั้งที่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานภายในประเทศต้องประสบกับการพิจารณาที่คล้ายคลึงกัน หน่วยงานภาษีแห่งราชอาณาจักรได้เสนอสิทธ์ในการทำงานจากบ้านให้แก่พนักงานสัปดาห์ละสองวัน สำหรับในสหรัฐอเมริกา รัฐบาลกลางได้คาดการณ์ว่าน่าจะมีเจ้าหน้าที่รัฐเป็นจำนวนมากที่อยากจะให้ตารางงานที่ยืดหยุ่นนี้คงไว้หลังวิกฤติโรคระบาด Snoflake ซึ่งเป็นบริษัทผู้ให้บริการ จัดการบริหารข้อมูล ได้ให้อำนาจแต่ล่ะฝ่ายในการตัดสินใจเรื่องแนวทางการบริหารงานในแผนกของตน หลาย ๆ บริษัท รวมถึงยักษ์ใหญ่อย่าง Apple ได้แก้ปัญหาโดยการกำหนดให้พนักงานเข้าออฟฟิสตามตารางที่กำหนดไว้

 

สิ่งที่ยังคงเป็นปกติ

ความไม่ลงรอยกันเกิดขึ้นจากประเด็นการหาทางออกให้รูปแบบการทำงานที่เกิดอย่างกระทันหันนี้ คนทำงานที่อยากได้ความยืดหยุ่นที่มากขึ้นเริ่มรู้สึกกระอักกระอ่วนใจกับนายจ้างที่ประสงค์จะให้กลับไปทำงานในรูปแบบใกล้เคียงช่วงก่อนมีการระบาด ลูกจ้างของแอปเปิ้ลบางส่วนได้วิจารณ์ถึงข้อกำหนดของบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ในการเข้าออฟฟิสสัปดาห์ละสามวันว่า “ไม่มีความสำคัญ และ ไม่มีเหตุผล”

 

ความไม่เห็นด้วยดังกล่าวได้แพร่กระจายไปทั่วห้องประชุมผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นบางคน รวมไปถึงบริษัทเงินทุนขนาดใหญ่ ต่างก็สนับสนุนให้มีการปรับการทำงานแบบยืดหยุ่นได้ ไม่ใช่เพียงเพื่อรักษาพนักงานระดับหัวกะทิเอาไว้ แต่เพื่อเป็นการปฏิรูปสิ่งแวดล้อมองค์กร และการมีอยู่ซึ่งการมีสังคมและการปกครอง (ESG) บริษัท S&P glabal ซึ่งเป็นบริษัทวิเคราะห์ข้อมูล ได้กล่าวว่าจากการประเมินของพวกเขา มองว่าความสามารถจากการทำงานจากบ้านคืออีกหนึ่งมาตรการเชิงสุขภาพความเป็นอยู่ของพนักงาน ซึ่งช่วยเพิ่มค่า ESG ขึ้น 5% นี่คือมาตรการคร่าวๆที่มีส่วนเกี่ยวข้องของการบริหารความเสี่ยง และวิกฤติองค์กร สำหรับธนาคาร และสิทธิมนุษยชนสำหรับคนงานเหมือง การเข้าแทรกแซงในสิ่งที่มีอยู่เดิม จากการเปลี่ยนถ่ายไปสู่การทำงานที่บ้านของปีที่แล้ว อาจจะน่าขัน แต่ก็ยังเป็นไปได้ราบรื่นกว่าหลายๆสถานการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนการระบาดของโรค

Author

Content Writer

All stories by: Content Writer

Leave a Reply

Your email address will not be published.