fbpx
Inlps business sme

เพิ่มความสำเร็จในการเข้าสู่ตลาดอาเซียนด้วย Multi-Country Benchmarking

1024 576 Earn Thongyam

นักลงทุนที่กำลังมองหาโอกาสในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ควรพิจารณาการทำ Multi-Country Benchmarking เพื่อระบุจุดหมายปลายทางที่น่าสนใจที่สุดภายในภูมิภาคสำหรับการเข้าสู่ตลาด ซึ่งวิธีการดังกล่าวจะช่วยให้นักลงทุนสามารถประเมินข้อได้เปรียบและเสียเปรียบของประเทศต่าง ๆ อย่างละเอียด โดยอ้างอิงจากวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ อุตสาหกรรมที่มุ่งเน้น และความต้องการพิเศษ

 

ศูนย์กลางการลงทุนแห่งใหม่

การลงทุนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นำเสนอโอกาสที่น่าสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มองหาทางเลือกอื่นหรือต้องการกระจายความเสี่ยงจากตลาดจีน ปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความใกล้ชิดทางภูมิศาสตร์กับจีน ต้นทุนการดำเนินงานที่ค่อนข้างต่ำ และนโยบายของรัฐบาลที่เอื้ออำนวย ทำให้ประเทศในอาเซียนกลายเป็นตัวเลือกที่น่าดึงดูด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับธุรกิจที่ต้องการใช้กลยุทธ์ China-Plus-One เพื่อเสริมการดำเนินงานที่มีอยู่เดิมในจีนหรือสร้างสถานประกอบการสนับสนุนในภูมิภาค

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเวียดนามได้ก้าวขึ้นมาเป็นจุดหมายปลายทางชั้นนำสำหรับนักลงทุนที่ดำเนินใช้กลยุทธ์ China-Plus-One ต้นทุนที่สูงขึ้นในจีนและความตึงเครียดทางการค้ากับสหรัฐฯ ได้ผลักดันให้บรรดาบริษัทต่างชาติหลายแห่งหันมาสำรวจฐานการผลิตทางเลือกในประเทศใกล้เคียง โดยเวียดนามนั้นได้รับความสนใจจากความสามารถในการส่งเสริมระบบนิเวศการผลิตที่ยืดหยุ่น ซึ่งเอื้อต่อกิจกรรมการผลิตที่มีมูลค่าสูง

อย่างไรก็ตามแนวโน้มนี้ขยายไปไกลกว่านั้น ตลาดอาเซียนอื่น ๆ เช่น อินโดนีเซีย ไทย และมาเลเซีย เริ่มเป็นที่สนใจของนักลงทุนต่างชาติที่ต้องการจะกระจายฐานการผลิตของตนองมากขึ้น ประเทศเหล่านี้เสนอการดำเนินงานที่มีต้นทุนแข่งขันได้ โครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่ง และการบูรณาการด้านการค้าภายในภูมิภาคที่เอื้ออำนวย

 

กลยุทธ์ China-Plus-Many

แทนที่จะยึดติดกับ China-Plus-One นักลงทุนในปัจจุบันจำนวนมากกำลังหันไปใช้แนวทางที่ครอบคลุมมากขึ้นอย่าง China-Plus-Many ซึ่งหมายถึงการจัดโครงสร้างห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกในหลายประเทศ ๆ ทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อลดความเสี่ยงและเพิ่มประสิทธิภาพด้านต้นทุน

ประเทศที่จะได้รับประโยชน์มากที่สุดจากกลยุทธ์นี้คือประเทศที่มีข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน เช่น แรงงานต้นทุนต่ำ โครงสร้างพื้นฐานที่พัฒนาแล้ว และการบูรณาการเข้ากับห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาคอย่างราบรื่น โดยประเทศที่โดดเด่น ได้แก่ เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย เป็นต้น

นอกเหนือจากประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เหล่านี้ ตลาดที่พัฒนาแล้วในภูมิภาคใกล้เคียงอย่าง เกาหลีใต้และญี่ปุ่น ก็นำเสนอศักยภาพที่น่าสนใจสำหรับการผลิตมูลค่าสูงและนวัตกรรมทางเทคโนโลยี สำหรับบริษัทตะวันตก ความสัมพันธ์ทางการค้าและการเมืองที่ใกล้ชิดกับประเทศเหล่านี้ยังสามารถช่วยเสริมสถานะทางการตลาดของตนในภูมิภาคได้อีกด้วย

 

การเลือกตลาดที่เหมาะสม

การเลือกสถานที่ลงทุนที่เหมาะสมที่สุดจำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ อย่างรอบคอบ แต่ละประเทศนำเสนอจุดแข็งและความท้าทายที่แตกต่างกัน ทำให้กระบวนการตัดสินใจมีความซับซ้อนสำหรับบริษัทต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่กำลังเปลี่ยนผ่านจากการดำเนินงานในประเทศจีนเพียงอย่างเดียว

ปัจจัยภายนอก เช่น ภัยธรรมชาติ ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ ข้อพิพาททางการค้า และโรคระบาด สามารถหยุดชะงักห่วงโซ่อุปทานและกิจกรรมการผลิตได้ การกระจายการดำเนินงานไปยังหลาย ๆ ประเทศสามารถช่วยลดผลกระทบจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเหล่านี้ได้

เพื่อช่วยในการตัดสินใจลงทุนอย่างรอบคอบ นักลงทุนจึงควรพิจารณาการทำ Multi-Country Benchmarking ซึ่งจะวิเคราะห์ประเด็นต่าง ๆ ที่สำคัญ เช่น ภูมิทัศน์ทางการเมือง สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ กรอบทางกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ โครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ ตลาดแรงงาน นโยบายภาษี และความสามารถในการผลิต

แม้ว่าในการศึกษาแต่ละครั้งจะสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการ แต่ด้านล่างนี้จะเป็นการอธิบายโดยย่อเกี่ยวกับข้อมูลสำคัญที่มักใช้ในการเปรียบเทียบ

  • ภูมิทัศน์ทางการเมือง

สภาพแวดล้อมและเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศสามารถส่งผลกระทบอย่างมากต่อความยากง่ายในการประกอบธุรกิจ โอกาสในการลงทุน และการเติบโตของธุรกิจโดยรวม ตัวอย่างเช่น รัฐบาลที่มั่นคงพร้อมกับพรรคการเมืองที่เข้มแข็งอาจบ่งชี้ถึงความมุ่งมั่นในระยะยาวต่อทัศนคติและความสำคัญด้านการลงทุน ในทางกลับกันสัญญาณของความไม่สงบภายในประเทศอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจได้ นอกจากนี้ การตรวจสอบถึงอุปสรรคที่ไม่ใช่ภาษีซึ่งอาจมีอยู่และสร้างความยุ่งยากในการดำเนินงาน เช่น มาตรการทางราชการ หรือเงินอุดหนุนภายในประเทศที่เกี่ยวข้องกับนโยบายประชานิยม ก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน

  • สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ

การพิจารณาสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและตัวชี้วัดเศรษฐกิจมีความสำคัญต่อการทำความเข้าใจศักยภาพของตลาดในปัจจุบันและอนาคต ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลโดยตรงต่อโอกาสและความท้าทายที่ธุรกิจของคุณอาจพบ ตัวอย่างเช่น ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนอาจทำให้การคาดการณ์กระแสเงินสดมีความยากลำบาก เนื่องจากการลดลงของราคาอย่างกะทันหันในขณะที่ต้นทุนยังคงที่อยู่อาจลดส่วนต่างกำไรของคุณได้

  • กรอบทางกฎหมายและการกำกับดูแล

กรอบทางกฎหมายและการกำกับดูแลที่เอื้ออำนวยสามารถส่งผลกระทบอย่างมากต่อความสามารถในการดำเนินงานอย่างราบรื่นและลดความเสี่ยงของคุณ การวิเคราะห์กรอบการทำงานในปัจจุบันช่วยให้เห็นภาพรวมของกระบวนการทางกฎระเบียบและการบริหารในแต่ละประเทศ ความเข้าใจนี้จะช่วยให้คุณประเมินได้ว่าการดำเนินงานของคุณจะได้รับการปฏิบัติอย่างไร และระดับความเสี่ยงด้านกฎระเบียบที่คุณอาจต้องเผชิญในตลาดเป้าหมายมีมากน้อยเพียงใด

  • การวิเคราะห์เชิงโครงสร้าง

การวิเคราะห์นี้จะสำรวจว่าคุณสามารถใช้ประโยชน์จากทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับการจัดตั้งธุรกิจของคุณได้อย่างไร การพิจารณาถึงทางเลือกที่มีอยู่ กระบวนการที่เกี่ยวข้อง ข้อกำหนดพิเศษสำหรับใบอนุญาตต่าง ๆ และวิธีการส่งผลกำไรกลับไปยังสำนักงานใหญ่ ล้วนมีความสำคัญ รายละเอียดเหล่านี้ช่วยให้คุณเข้าใจเกี่ยวกับระยะเวลาที่ต้องใช้และความเป็นไปได้ในการสร้างธุรกิจของคุณในประเทศเป้าหมาย คุณไม่ต้องการให้เรื่องที่ไม่คาดคิดมาทำให้แผนงานและการดำเนินงานอื่น ๆ ของคุณต้องสะดุดลง นอกจากนั้นการเลือกรูปแบบนิติบุคคลที่เหมาะสมกับความต้องการทางธุรกิจของคุณนั้นก็มีความสำคัญมากเช่นกัน

  • สถานที่สำหรับการผลิต

พื้นที่ต่าง ๆ ในแต่ละภูมิภาคของประเทศหนึ่งนั้นมีความแตกต่างกันมาก โดยอาจมีสถานที่หรือพื้นที่เฉพาะที่เหมาะสมมากกว่าสำหรับอุตสาหกรรมบางประเภท เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องเปรียบเทียบพื้นที่การผลิตภายในประเทศเป้าหมายที่เหมาะกับธุรกิจของคุณ รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประเมินความเหมาะสมโดยรวม หรือคุณอาจเลือกที่จะใช้วิธีการที่ละเอียดมากขึ้น โดยเปรียบเทียบเขตเศรษฐกิจหรือภูมิภาคของประเทศหนึ่งกับประเทศอื่นเพื่อการวิเคราะห์ที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

  • การตรวจสอบด้านแรงงาน

กฎหมายแรงงานในแต่ละประเทศมีความแตกต่างกันอย่างมาก บริษัทต้องพิจารณาอย่างรอบคอบว่ากฎหมายและข้อบังคับใดที่อาจถูกนำมาใช้ นอกจากนี้ยังต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณสามารถหาแรงงานที่มีทักษะเพียงพอ (หรือเหมาะสม) สำหรับธุรกิจของคุณ รวมถึงศึกษาแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดเพื่อปกป้องตัวคุณเองและพนักงานของคุณไปพร้อมกับการส่งเสริมการรักษาพนักงานไว้

  • การตรวจสอบด้านโลจิสติกส์

โครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ในแต่ละประเทศสามารถแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ธุรกิจจำเป็นต้องประเมินต้นทุนและขีดความสามารถด้านโลจิสติกส์อย่างรอบคอบ การตรวจสอบด้านโลจิสติกส์จะมุ่งเน้นไปที่เครือข่ายที่มีอยู่และต้นทุนที่เกี่ยวข้องภายในประเทศเป้าหมาย เพื่อช่วยให้คุณเข้าใจถึงต้นทุนและเวลาที่ต้องใช้ในการขนส่งสินค้าภายในและระหว่างตลาด

  • ภาษีและศุลกากร

นี่เป็นสิ่งสำคัญ ระบบภาษีอาจมีความซับซ้อนและแตกต่างกันอย่างมากในแต่ละประเทศ ผู้ลงทุนควรตรวจสอบนโยบายที่มีอยู่เพื่อทำความเข้าใจถึงขอบเขตภาระภาษีในประเทศต่าง ๆ แม้ว่าหลาย ๆ ประเทศในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะนำระบบภาษีที่น่าดึงดูดใจมาใช้เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ แต่นักลงทุนก็ยังคงต้องพิจารณาว่าสภาพแวดล้อมทางภาษีจะอนุญาตให้พวกเขาบริหารและขยายธุรกิจได้หรือไม่ อีกทั้งการตรวจสอบด้านภาษียังช่วยให้คุณเข้าใจวิธีการจัดโครงสร้างนิติบุคคลเพื่อลดภาระภาษีได้ อย่างไรก็ตามการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีเพื่อทำความเข้าใจอย่างถี่ถ้วนว่าจะจัดโครงสร้างการลงทุนอย่างไรก่อนเข้าสู่ตลาดและใช้ประโยชน์จากสิทธิประโยชน์ทางภาษีทั้งหมดที่มีอยู่นั้นเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติ

Author

Earn Thongyam

All stories by: Earn Thongyam

Leave a Reply

Your email address will not be published.