fbpx

การใช้สิทธิประโยชน์การลงทุนใหม่ ในอุตสาหกรรมการแพทย์

1024 682 Content Writer

การใช้สิทธิประโยชน์การลงทุนใหม่ ในอุตสาหกรรมการแพทย์

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ออกสิทธิประโยชน์การลงทุนสำหรับผู้ผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ในประเทศ โดยเฉพาะในสิทธิประโยชน์ด้านภาษี เช่น การลดภาษีนิติบุคคล การยกเว้นอากรขาเข้า สำหรับการลงทุนที่มีคุณสมบัติครบตามเงื่อนไขที่รัฐบาลกำหนด โดยวัตถุประสงค์การส่งเสริมการลงทุนของ BOI เพื่อส่งเสริมและผลักดันให้ประเทศไทยขึ้นเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ (Medical Hub) ในภูมิภาค

มาตรการส่งเสริมการลงทุนใหม่นี้ BOI ประกาศนโยบายออกมาในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ในช่วงที่ Covid-19 กำลังระบาดหนัก ซึ่งในรายละเอียดของมาตรส่งเสริมการลงทุน ประกอบด้วย การลดภาษีนิติบุคคล (CIT) สำหรับการลงทุนที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในธุรกิจการแพทย์ รวมถึงออกมาตรการยกเว้นอากรขาเข้าส่วนธุรกิจที่สนับสนุนสายการผลิตที่มีอยู่แล้ว และสิทธิพิเศษใหม่สำหรับการผลิตวัตถุดิบที่ในภาคการผลิต และอุปกรณ์หรือผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์

“อุตสาหกรรมเฮลท์แคร์” เป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาล ที่ต้องการให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ในภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ (Medical Tourism) และการส่งออกอุปกรณ์ทางการแพทย์ ทั้งนี้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) รายงานว่า ปี 2562 ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมอุปกรณ์การแพทย์ในไทย มีมูลค่าประมาณ 6,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกมากกว่า 80% ของการผลิตในประเทศ

สำหรับระบบสาธารณสุข ประเทศไทยเปิดตัวหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในปี 2544 ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่มีรายได้ต่ำถึงปานกลางที่มีสวัสดิการดังกล่าว และล่าสุดในปีที่ผ่านมา นิตยสาร US CEOWORLD ระบุว่าประเทศไทยมีระบบเฮลท์แคร์ดีที่สุด อันดับ 6 ของโลก

 

ผู้ผลิตจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง?

รัฐบาลต้องการให้ธุรกิจต่าง ๆ ปรับแผนธุรกิจและเพิ่มขีดความสามารถในการผลิต เพื่อรองรับความต้องการอุปกรณ์การแพทย์ ทั้งในและต่างประเทศ

สำหรับการลงทุนในธุรกิจการแพทย์ การผลิตอุปกรณ์การแพทย์ หรือชิ้นส่วนเช่น PPEs รวมถึงชุดทดสอบ หน้ากากอนามัยที่เป็นผ้าไม่ทักไม่ทอ (non-woven fabrics) และการผลิตเทคโนโลยีชีวภาพ สำหรับวัคซีนและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เมื่อผ่านการพิจารณาจาก BOI แล้ว จะได้รับสิทธิการลดภาษี CIT 50% เป็นเวลา 3 ปี

ทั้งนี้ผู้ประกอบการที่ใช้วัตถุดิบในผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ จะได้รับสิทธิเพิ่มเติม เช่น ผู้ผลิตหน้ากากอนามัยและอุปกรณ์ทางการแพทย์ จะได้รับการยกเว้นภาษี CIT อีก 5 ปี ขณะที่ผู้ผลิตแอลกอฮอล์ที่เป็น Pharmaceutical-grade (จากผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรหรือขยะ) จะได้รับสิทธิ์ยกเว้นภาษี CIT 8 ปี

 

สิทธิประโยชน์จากการได้รับการส่งเสริมการลงทุนมีอะไรบ้าง?

สำหรับธุรกิจที่ต้องการเปลี่ยนสายการผลิต มาผลิตอุปกรณ์การแพทย์ จะได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าสำหรับเครื่องจักร โดยจะต้องยื่นโครงการภายในเดือนกันยายน 2563 และนำเข้าอุปกรณ์ในช่วงปี 2563

ทั้งนี้บริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน BOI โดยเฉพาะที่ย้ายสายการผลิต สามารถทำได้ แต่ต้องเป็นการลงทุนในธุรกิจการแพทย์ที่ผ่านการรับรองจาก BOI ซึ่งผู้ประกอบการที่ยื่นโครงการจะได้รับการยกเว้นภาษี และการออกใบอนุญาตทำงานต่างประเทศได้ โดยไม่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดว่าจะต้องมีพนักงานชาวไทย 4 คน ต่อ 1 ใบอนุญาต ทั้งนี้ยังมีสิทธิประโยชน์การลงทุนอีกมากมาย เช่นเดียวกับผู้ประกอบการที่ลงทุนในธุรกิจการแพทย์มาตั้งแต่แรก

สมัครขอรับส่งเสริมการลงทุน

BOI มีหน้าที่ส่งเสริมการลงทุนทั้งผู้ประกอบการในประเทศ และนักลงทุนต่างชาติที่ต้องการมาตั้งฐานการผลิตหรืออยากมาลงทุนในประเทศ ตามนโยบายการส่งเสริมการลงทุนของรัฐบาล เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับระบบเศรษฐกิจและเพิ่มความสามารถการแข่งขัน โดยเฉพาะในเขตเศรษฐกิจพิเศษที่จะมีมาตรการส่งเสริมการลงทุนดึงดูดนักลงทุน

 

นโยบายส่งเสริมการลงทุน BOI

สิทธิประโยชน์การลงทุน แบ่งได้ดังนี้

1. สิทธิประโยชน์ทางภาษี

บริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI จะได้รับการยกเว้นหรือลดภาษีนำเข้า รวมถึงอาจได้รับการยกเว้นภาษีและเงินปันผลของนิติบุคคล ตลอดจนการหักลดหย่อนค่าสาธารณูปโภค ค่าขนส่ง เป็น 2 เท่า และการติดตั้งโครงสร้างพื้นฐานของโครงการ

 

2. สิทธิประโยชน์ที่ไม่ใช่ภาษี

ธุรกิจที่ผ่านการพิจารณาของ BOI สามารถจ้างแรงงานและผู้เชี่ยวชาญที่มีทักษะจากต่างประเทศได้ โดย BOI ได้อำนวยความสะดวกโดยจัดทำวีซ่าแบบไม่ถาวรและใบอนุญาตทำงาน ในรูปแบบ One-stop Visa นอกจากนี้ BOI ยังให้สิทธินักลงทุนต่างชาติเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินในพื้นที่อุตสาหกรรมได้

 

3. สิทธิประโยชน์อื่น ๆ

อย่างไรก็ตามยังมีสิทธิประโยชน์อื่น ๆ เพิ่มเติม เช่นในเดือนกันยายน 2562 รัฐบาลออกมาตรการ Thailand Plus เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยมาตรการนี้ครอบคลุมประเด็นสำคัญ 7 ข้อ ทั้งในด้านการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี การจัดเก็บภาษี การปฏิรูปอันดับความยากง่ายในการประกอบธุรกิจ (Ease of doing business) ตลอดจนมาตรการรองรับผลกระทบจากสงครามการค้าสหรัฐ-จีน

 

แพ็คเกจการลงทุน ประกอบด้วย

  • การลดภาษี CIT 50% เป็นเวลา 5 ปี หากมีการลงทุนอย่างน้อย 1,000 ล้านบาท (หรือประมาณ 32 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) โดยจะต้องมีการลงทุนภายในสิ้นปี 2564 (นอกเหนือจากการลดภาษี 13 ปี ในอัตรา 50%)
  • การหักลดหย่อนภาษี CIT 200% สำหรับค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม หรือจ้างบุคลากรในสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ (STEM)
  • การลดภาษี CIT 200% สำหรับธุรกิจที่มีการใช้ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์
  • การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวให้สอดคล้องกับกฎระเบียบที่ออกโดย BOI
  • รัฐบาลจัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เพื่อดูแลและอำนวยความสะดวกการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนขนาดใหญ่
  • การขยายเครือข่ายการค้าเสรี
  • การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ สำหรับนักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะกลุ่มนักลงทุนจากเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น จีน และสหรัฐอเมริกา

 

BOI Company

นักลงทุนที่ต้องการทำธุรกิจในประเทศไทย อาจสมัครขอรับการส่งเสริมการลงทุนตามประเภทธุรกิจ โดยธุรกิจที่จะได้รับสิทธิประโยชน์เป็นพิเศษ เช่น อุตสาหกรรมเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตและการส่งออก ที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง ส่วนธุรกิจที่ไม่ใช่อุตสาหกรรม (Non-Industrial Businesses) เนิร์สเซอริ่งโฮม สำหรับผู้สูงอายุ หรือการผลิตภาพยนตร์ เช่นโรงพยาบาลสำหรับผู้สูงอายุ ธุรกิจผลิตภาพยนตร์ เป็นต้น

Author

Content Writer

All stories by: Content Writer

Leave a Reply

Your email address will not be published.