fbpx

5G ในประเทศไทยกำลังจะเป็นจริง

746 462 Content Writer

การนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ เป็นการสื่อถึงการเข้าสู่ยุคใหม่ของระบบการสื่อสารในประเทศไทย หลังจากผ่านช่วงเวลาแห่งความตื่นเต้น ความคาดหวัง และ การเฝ้ารอถึงเทคโนโลยีแห่งอนาคต ในที่สุดประเทศไทยกำลังจะได้เห็นจุดเริ่มต้นของบรอดแบนด์ไร้สายรุ่นที่ห้า เมื่อกิจการโทรคมนาคมของประเทศเดิมพันครั้งใหญ่กับ 5G

กระตุ้น GDP

แม้จะยังคงมีความกังวลด้านความปลอดภัยที่อาจเกิดขึ้นจากการพึ่งพาเทคโนโลยีของ Huawei ในเครือข่าย 5G (เนื่องจากความสัมพันธ์ของ Huawei กับรัฐบาลจีน) ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของ 5G ในประเทศเป็นโอกาสที่ภาคเอกชนและภาครัฐไม่ต้องการที่จะพลาด

ด้วยความเร็วสูงสุดถึง 100 เท่าของเครือข่ายไร้สายในปัจจุบัน และ latency ที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ การใช้งานของ 5G จึงมีความหลากหลายมาก ไม่เพียงแค่ปรับปรุงประสิทธิภาพของโทรศัพท์มือถือเท่านั้น แต่ยังช่วยรองรับการเติบโตของเครือข่ายอุปกรณ์ Internet of Things (IoT) ที่ใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การผลิต การขนส่ง การดูแลสุขภาพการศึกษา การเกษตร และอื่น ๆ

การอัปเกรดเป็น 5G มีศักยภาพที่จะทำให้เกิดอุตสาหกรรม 4.0 และรองรับบริการใหม่ ๆ ที่จะขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจและการสร้างงานในอีกหลายทศวรรษข้างหน้า กสทช.กล่าวว่าการนำ 5G มาใช้ในปีนี้สามารถสร้างรายได้ถึง 1.77 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 1.02% ของ GDP ซึ่งอาจเพิ่มขึ้นเป็น 3.32 แสนล้านบาทในปี 2564 และ 4.76 แสนล้านบาทในปี 2565

ผู้มีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมกล่าวว่าผู้ให้บริการรายใหญ่กำลังวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจ วิศวกรรมเครือข่าย และการตลาดสำหรับบริการ 5G อย่างรอบคอบ เนื่องจากกรณีการใช้งานที่เชื่อมโยงกับ 5G ยังมีไม่มากนัก รวมถึงยังไม่มีโมเดลที่ชัดเจนสำหรับการเก็บค่าบริการ 5G ที่สามารถนำไปใช้กับอุตสาหกรรมแนวดิ่ง (Vertical Industries)

ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในอาเซียนทีมีการประมูลใบอนุญาต 5G ซึ่งตรงกันข้ามกับการประมูล 4G ที่ถือว่าค่อนข้างช้าเมื่อเทียบกับทั่วโลก ซึ่งความแตกต่างที่สำคัญคือขณะนี้ยังไม่มีอุปกรณ์ 5G ในตลาดเมื่อเทียบกับที่มีอุปกรณ์ 4G 30-40% ในปี 2558 ตอนที่เริ่มการประมูลใบอนุญาต 4G

ไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรง

ผู้เชี่ยวชาญด้านโทรคมนาคมกล่าวว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงในตลาดโทรคมนาคมตลอดทั้งปีนี้ บริการต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะยังคงเป็นระบบ 4G และ enhanced mobile broadband การใช้งานทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ 5G จะยังคงมีไม่มาก โดยเฉพาะธุรกิจแบบ B2B เนื่องจากบริษัทต้องใช้เวลาในการปรับตัวเพื่อให้รองรับกับเทคโนโลยีใหม่นี้ อุตสาหกรรมแนวดิ่งอาจมีความลังเลที่จะลงทุนในเทคโนโลยี 5G เช่น อุปกรณ์ IoT หรือ หุ่นยนต์อย่างเต็มรูปแบบเนื่องจากแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจ

แต่ถึงแม้จะมีอุปสรรคมากมาย ผู้ให้บริการรายใหญ่ก็ต่อสู้อย่างหนักและทุ่มเงินไปกับใบอนุญาต 5G พวกเขาไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องคว้าใบอนุญาตให้ได้เพื่อความได้เปรียบทางการตลาด เนื่องจากผู้บริโภคคาดหวังที่จะเห็นสัญลักษณ์ 5G ที่มุมขวาบนของหน้าจอโทรศัพท์ของตนเอง

Advanced Wireless Network (AWN) บริษัทในเครือ Advanced Info Service (AIS) ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุด ได้รับใบอนุญาต 23 ใบ จากทั้งหมด 48 ใบที่มีการประมูล แบ่งเป็นคลื่นความถี่ย่าน 700MHz จำนวน 10MHz ย่าน 2600MHz จำนวน 100MHz และ ย่าน 26GHz จำนวน 1200MHz

True Move H Universal Communication (TUC) ได้รับใบอนุญาติรวม 17 ใบ แบ่งเป็นคลื่นความถี่ย่าน 2600MHz จำนวน 90MHz และย่าน 26GHz จำนวน 800MHz

DTAC TriNet (DTN) บริษัทในเครือผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่อันดับสามอย่าง Total Access Communication (DTAC) เสนอราคาเฉพาะคลื่นความถี่ย่าน 26GHz และได้รับใบอนุญาต 2 ใบรวมเป็นจำนวน 200MHz

หลังจากการประมูล DTAC ได้คลื่นความถี่น้อยกว่าคู่แข่งทั้งสองราย โดยไม่มีคลื่นความถี่ในย่าน 2600MHz ซึ่งเป็นคลื่นความถี่หลักสำหรับบริการ 5G ผ่านอุปกรณ์มือถือ

ปัจจุบัน DTAC ได้รับคลื่นความถี่ย่าน 2300MHz จำนวน 60MHz ภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือกับ TOT เพื่อให้บริการ 4G โดยข้อตกลงดังกล่าวจะหมดอายุในปี 2568 ซึ่งในการพัฒนาคลื่นความถี่ย่าน 2300MHz สำหรับการให้บริการ 5G นั้น DTAC อาจต้องขอความยินยอมจาก TOT เพื่อแก้ไขสัญญาและขออนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแลโทรคมนาคม

การมีส่วนร่วมของ TOT/CAT

เป็นครั้งแรกที่รัฐวิสาหกิจประเภทสื่อสารโทรคมนาคมทั้ง TOT และ CAT ได้เข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่ โดย TOT ได้ใบอนุญาตคลื่นความถี่ย่าน 26GHz จำนวน 4 ใบ ในขณะที่ CAT ได้คลื่นความถี่ย่าน 700MHz จำนวน 2 ใบ

TOT และ CAT เข้าร่วมการประมูลตามนโยบายของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) เนื่องจากช่วงคลื่นความถี่หลักที่มีอยู่จะหมดอายุในปี 2568 ซึ่งคาดว่าทั้งสององค์กรจะให้บริการสาธารณะผ่านการถือครองคลื่นความถี่ที่พวกเขาชนะในการประมูล

ผลกระทบต่อภาคธุรกิจ

คุณโสภณ ราชรักษา ผู้อำนวยการใหญ่บริษัท Frasers Property กล่าวว่านักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มีโอกาสมากมายในยุค 5G ไม่ว่าจะเป็นการสร้างช่องทางรายได้ใหม่ หรือการสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการใช้งานข้อมูลและอุปกรณ์เชื่อมต่อที่เพิ่มขึ้น

“เราต้องการก้าวไปไกลกว่าการสร้างอสังหาริมทรัพย์ และค้นหาว่าผู้คนใช้อาคารของเราอย่างไร” คุณโสภณกล่าว “ด้วยบ้านอัจฉริยะรูปแบบใหม่ เราสามารถรู้ได้ว่าผู้อยู่อาศัยมีการใช้งานอย่างไรในเวลากลางวันหรือกลางคืน และใช้ข้อมูลเหล่านั้นเพื่อการออกแบบในอนาคต”

เขากล่าวว่าความเร็วที่เพิ่มขึ้น และความสามารถในการเชื่อมต่อจากการใช้งาน 5G จะทำให้การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลผ่านเซ็นเซอร์ในอาคารทั่วประเทศทำได้ง่ายขึ้น

อาคารเชิงพาณิชย์ เช่น โกดังและโรงงาน จะสามารถเชื่อมต่อข้อมูลกับรถบรรทุกได้โดยตรงกรณีที่มีการขนส่งวัสดุเข้าและออก ในขณะเดียวกันก็ยังแชร์ข้อมูลกับอาคารอื่น ๆ ได้ด้วย ซึ่งการใช้งานข้อมูลที่มากขึ้นจำเป็นต้องมี่ที่จัดเก็บที่มากขึ้น ทำให้การสร้างศูนย์ข้อมูลเป็นอีกโอกาสใหม่ที่เกิดขึ้นสำหรับอุตสาหกรรมนี้

“ระบบเซ็นเซอร์เหล่านี้มีราคาถูกลงเรื่อย ๆ และระบบที่เคยใช้ Wi-Fi ก่อนหน้านี้ก็สามารถถ่ายโอนไปยังเครือข่าย 5G ได้” คุณโสภณกล่าว “นอกจากนั้น 5G ยังช่วยให้การใช้งานเทคโนโลยีกับอสังหาริมทรัพย์สามารถทำได้มากกว่าแค่เก็บข้อมูล การสตรีมวิดีโอความละเอียดสูงจากสิ่งปลูกสร้างนั้นสามารถทำได้เร็วและง่ายกว่าเดิมมาก”

เขากล่าวว่า Frasers กำลังออกแบบอาคารโดยคำนึงถึงการใช้งาน 5G ในแนวคิดเมืองอัจฉริยะ ซึ่งตัวเมืองจะแบ่งปันข้อมูลให้อาคารเกี่ยวกับการจราจรและคุณภาพอากาศโดยรอบ เป็นต้น

ติดตามช่องทางสำหรับรับข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติม ได้ที่ 

Youtube: Interloop Solutions & Consultancy

 

Author

Content Writer

All stories by: Content Writer

Leave a Reply

Your email address will not be published.