fbpx

“BCG Economy” โมเดลสำคัญ สร้างเม็ดเงินลงทุนกว่า 1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

828 553 Content Writer
ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2563

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) รายงานว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2563 มีผู้ยื่นขอลงทุนในโครงการเศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy ; BCG) รวมประมาณ 300 โครงการ รวมมูลค่าการลงทุน 1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ซึ่งการลงทุนแบบ BCG Economy นี้ ถือว่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ นับตั้งแต่ปี 2561 ที่มีมูลค่าการลงทุนแค่ 6.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สะท้อนจุดเด่นด้านการลงทุนของประเทศไทยที่ต้องการส่งเสริมการลงทุนใน BCG Economy

โมเดล BCG นี้ เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน ลดขยะและมลพิษ เน้นการพึ่งพาธรรมชาติ เพราะประเทศไทยมีทรัพยากรจำกัด ขณะเดียวกันเป็นการบูรณาการทางเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับพื้นฐานของประเทศที่มีเกษตรกรรมเป็นหลัก ควบคู่ไปกับพัฒนาด้านการเกษตรและอาหาร การท่องเที่ยวท้องถิ่น พลังงานชีวภาพ เฮลท์แคร์ และเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์

ตามที่นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของไทย กล่าวว่า ปัจจุบันภาคธุรกิจเหล่านี้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจรวมกัน 1.13 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ และภายในปี 2568 รัฐบาลตั้งเป้าที่จะเพิ่มการลงทุนเป็น 1.47 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือตั้งเป้าเพิ่มขึ้น 30% ซึ่งจะคิดเป็น 25% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)

สำหรับนโยบายส่งเสริมการลงทุนใน BCG Economy นั้น ทาง BOI จะออกนโยบายลดหย่อนภาษีและยกเว้นภาษีในบางรายการ เช่น การออก Smart Visa สำหรับแรงงานทักษะสูง และอนุญาตให้ทำงานในประเทศไทยได้ 4 ปี ตลอดจนมาตรการต่าง ๆ ที่ช่วยส่งเสริมการลงทุน เช่น การจัดหา Supplier การจับคู่ธุรกิจ เป็นต้น

 

การลงทุนที่สำคัญ

ในปี 2560 บริษัทพลังงานขนาดใหญ่จากฝรั่งเศส และ The Dutch biochemical giant Corbion ร่วมกันลงทุนตั้งโรงงานผลิตพลาสติกชีวภาพที่ย่อยสลายได้ 100% ในประเทศไทย โดยนำซากอ้อยที่ใช้ผลิตน้ำตาลมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตพลาสติกชีวภาพ ซึ่งนอกจากจะเป็นการนำสิ่งเก่าที่ไม่ใช้แล้วมาแปรรูป ที่สำคัญยังเป็นการลดการใช้ Polystyrene และโพลีเมอร์อื่น ๆ ที่ผลิตจากน้ำมัน ทั้งจากสามารถลด Carbon Footprint ได้ถึง 75%

Sander van der Linden ผู้จัดการประจำประเทศไทย และผู้อำนวยการประจำจังหวัดระยอง กล่าวว่า บริษัทร่วมทุน Total Corbion PLA แห่งนี้ ตั้งอยู่ที่ระยอง ซึ่งเป็นพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ปัจจุบันทั้ง 2 ได้ลงทุนไปแล้ว 250 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และวางแผนว่าภายใน 2 ปี จะเพิ่มเงินลงทุนเป็น 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการเพิ่มกำลังการผลิตจาก 75,000 เป็น 100,000 ตันต่อปี รองรับความต้องการของตลาด

ขณะที่ Simon Goldney ผู้อำนวยการโรงงานของ Total Corbion กล่าวเพิ่มเติมว่า การเลือกลงทุนในประเทศไทย มีความได้เปรียบคือประเทศไทยเป็นผู้จัดหาน้ำตาลรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก สอดคล้องกับความต้องการของวัตถุดิบที่เราจำเป็นต้องใช้น้ำตาลเป็นหลัก สำหรับ PLA ขณะเดียวกันประเทศไทยยังโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ท่าเรือที่ดี การลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลและการยกเว้นอากรขาเข้า เป็นต้น

“PLA ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดในการผลิตสินค้า ขณะเดียวกันยังได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากรัฐบาล ที่มีนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ และภาคเกษตรกรรม การลงทุนในประเทศไทยจึงเอื้อต่อการลงทุนในพลังงานชีวภาพของเรา”

นอกจากนี้แล้วยังมี Spiber เทคสตาร์ทอัพจากญี่ปุ่น เข้ามาตั้งโรงงานหมักโปรตีนในพื้นที่ EEC โดยใช้เงินลงทุน 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เบื้องต้นคาดว่าจะเริ่มผลิตในปี 2564 มีกำลังการผลิตประมาณ 700 ตันต่อปี ซึ่งจะใช้น้ำตาลในประเทศไทยเป็นวัตถุดิบในการเลี้ยงจุลินทรีย์ และตั้งฐานวิจัยและพัฒนา (R&D) ควบคู่กันไปด้วย

ความน่าสนใจของ Spiber นั้นไม่ได้อยู่ที่การหมักโปรตีนสำหรับการใช้ในอุตสาหกรรมทั่ว ๆ ไป แต่เป็นการหมักเพื่อผลิตใยสังเคราะห์เสื้อผ้า โดยวัสดุที่ได้ออกมาจะมีความยืดหยุ่นสูง แข็งแรงเป็นไฟเบอร์ แต่มีน้ำหนักเบามาก ใช้ได้ทั้งในอุตสาหกรรมแฟชั่น ก่อสร้าง รถยนต์และอุปกรณ์ทางการแพทย์

Morita Keisuke กรรมการผู้จัดการ Spiber ระบุว่า การเข้ามาลงทุนในไทยไม่ใช่แค่เรื่องวัตถุดิบเท่านั้น แต่ยังมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการลงทุน ทั้งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐาน นโยบายส่งเสริมการลงทุน และแหล่งการผลิตในไทยที่เป็นฐานการลงทุนในอุตสาหกรรมเส้นใยผ้าทอ และอุตสาหกรรมรถยนต์

อย่างไรก็ตามนอกจาก BOI จะเดินหน้าส่งเสริมการลงทุนใน BCG Economy แล้ว อีกอุตสาหกรรมที่สำคัญไม่แพ้กัน และจัดเป็น BCG Economy ด้วย นั่นคืออุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV โดยในตลาดหลักทรัพย์ฯ เองมีบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA ที่ดำเนินธุรกิจในรถยนต์ไฟฟ้าและยานยนต์ไฟฟ้า และลงทุนในพลังงานหมุนเวียน ไม่ว่าจะเป็นพลังงานลม พลังงานโซลาร์ ปัจจุบันมี Market Cap ประมาณ 5.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

 

 

สำหรับการเติบโตของ EA นั้นทำให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตอันดับ 11 ของโลก จากการลงทุนอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า โดยผลงานอันโดดเด่นของบริษัท เช่น การผลิตรถยนต์ไฟฟ้า 5 ที่นั่ง รถโดยสารไฟฟ้าและเรือไฟฟ้า รวมถึงแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน และสถานีชาร์จ

เฟสแรกนี้บริษัทวางแผนว่าจะผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน มูลค่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถือเป็นการลงทุนด้าน EV แห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้วางแผนผลิตสถานีชาร์จ EV อีก 500 แห่ง รองรับการใช้งานในอนาคต

 

การส่งเสริมการลงทุน EV ของ BOI

ในเดือนพ.ย.63 ทาง BOI ได้ออกมาตรการส่งเสริมการลงทุนรถ EV เพิ่มเติม ถือเป็นครั้งแรกหลังออกนโยบายมาเมื่อ 3 ปีก่อนหน้า หรือในปี 2560 เพื่อรุกการลงทุนในรถยนต์ไฮบริดและรถยนต์ไฟฟ้าเต็มรูปแบบ ด้านนายสมโภชน์ อาหุนัย ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร EA ให้สัมภาษณ์ว่า “BOI มีกระบวนการส่งเสริมการลงทุนที่โปร่งใสและเป็นธรรมสำหรับนักลงทุนไทยและต่างชาติ อย่างไรก็ตามสำหรับ EA เอง เราพร้อมที่จะแข่งขันผู้ประกอบการต่างชาติ เพื่อส่งเสริมตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในไทยให้ก้าวไกล”

 

InterLoop เราพร้อมให้ความช่วยเหลือนักลงทุนในทุก ๆ ขั้นตอน ในด้านการขอยื่น BOI  ท่านสามารถติดต่อได้ที่ Line ID: @inlps  และ เบอร์โทรศัพท์: 097-106-9113
Author

Content Writer

All stories by: Content Writer

Leave a Reply

Your email address will not be published.