สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เปิดเผยเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2564 ว่าได้อนุมัติโครงการใหม่ในด้านเทคโนโลยีชีวภาพขั้นสูงมูลค่าการลงทุนรวม 2.4 พันล้านบาท ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสนใจที่เพิ่มขึ้นของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ โดยปีที่แล้วมีบริษัทยื่นขอสิทธิพิเศษทางภาษีโครงการลงทุนด้านเทคโนโลยีชีวภาพรวมมูลค่ากว่า 3 หมื่นล้านบาทเพิ่มขึ้นจากปี 2562 ถึง 233%
“โครงการใหม่ที่น่าตื่นเต้นเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความสนใจอย่างต่อเนื่องของนักลงทุนในความสามารถด้านเทคโนโลยีชีวภาพของประเทศไทย” นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการ BOI กล่าว “เมื่อรวมกับพื้นฐานทางการเกษตรและความหลากหลายทางชีวภาพของเรา ขณะนี้ประเทศไทยมีกลุ่มนักวิจัยที่แข็งแกร่งที่จะช่วยให้เราก้าวไปสู่เทคโนโลยีขั้นสูงได้”
ตัวอย่างบริษัทที่ได้รับการอนุมัติ ได้แก่
Thai Kyowa Biotechnologies ผู้ผลิตกรดอะมิโนสำหรับเวชภัณฑ์ในเครือ Kirin Holdings ของญี่ปุ่นได้รับการอนุมัติโครงการไบโอเทคขั้นสูงเพื่อผลิต Human Milk Oligosaccharide (HMO) ซึ่งเป็นพรีไบโอติกและส่วนประกอบสำคัญในนมผงที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันสำหรับทารกและผู้สูงอายุ บริษัทสัญชาติญี่ปุ่นนี้อยู่ในจังหวัดระยองทางตะวันออกของประเทศไทย คาดว่าการผลิต HMO จะเริ่มในปี 2565 โดยส่วนใหญ่เป็นเพื่อการส่งออก
Genepeutic Bio บริษัทที่ก่อตั้งโดยแพทย์จากโรงพยาบาลรามาธิบดีและนักลงทุนในประเทศ ได้รับอนุมัติโครงการพัฒนาและผลิตนวัตกรรมการรักษาสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน บริษัทอยู่ในอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนา CAR T Cell ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง (ATMP)
Fruita Biomed บริษัทที่เกี่ยวข้องกับ Fruita Natural ผู้ผลิตและส่งออกอาหารและเครื่องดื่ม ได้รับอนุมัติโครงการผลิตพลาสติกชีวภาพ PHA (Polyhydroxyalkanoate) และสารประกอบพลาสติกชีวภาพ PHA ที่ผลิตจากขยะอินทรีย์ โดยบริษัทจะใช้พลาสติกชีวภาพ PHA ในการผลิตบรรจุภัณฑ์ที่หลากหลายสำหรับอาหารและการแพทย์
Baiya Phytopharm สตาร์ทอัพสัญชาติไทยจาก CU Innovation Hub ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับอนุมัติโครงการพัฒนาและผลิตชีวเภสัชภัณฑ์ เช่น วัคซีนจากพืชและโปรตีนบำบัดโดยใช้เทคโนโลยี molecular pharming
อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพนั้นเป็นส่วนหนึ่งของโมเดล BCG (Bio, Circular and Green Economy) ซึ่งรัฐบาลไทยได้กำหนดเป็นนโยบายสำคัญเพื่อนำไปสู่การฟื้นตัวหลังโควิด 19
หลักเกณฑ์การอนุมัติโครงการ
การลงทุนจะต้องเป็นไปตามเกณฑ์ต่อไปนี้
- เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และบริการ โดยโครงการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนต้องมีคุณสมบัติดังนี้
- มูลค่าเพิ่มของโครงการต้องไม่น้อยกว่า 20% ของรายได้ ยกเว้นกิจการด้านการเกษตรและผลิตผลทางการเกษตร กิจการอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน และกิจการตัดโลหะ ซึ่งต้องมีมูลค่าเพิ่มอย่างน้อย 10% ของรายได้
- ต้องมีกระบวนการผลิตที่ทันสมัย
- ต้องใช้เครื่องจักรใหม่
- โครงการที่มีเงินลงทุนตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) ต้องได้รับการรับรอง ISO 9000 หรือ ISO 14000 หรือการรับรองมาตรฐานสากลอื่นที่เทียบเท่าภายใน 2 ปี
- การป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
- เงินลงทุนขั้นต่ำและความเป็นไปได้ของโครงการ
- เงินลงทุนขั้นต่ำของแต่ละโครงการคือ 1 ล้านบาท
- โครงการที่มีเงินลงทุนมากกว่า 750 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) จะต้องส่งรายงานการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ
ควรขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI เมื่อใด?
BOI เปิดโอกาสให้นักลงทุนยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนได้ทั้งก่อนและหลังการจดทะเบียนบริษัท อย่างไรก็ตามมีข้อดีบางประการในการเลือกจัดตั้งบริษัทไทยก่อน
หากคุณยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ในฐานะบริษัทต่างชาติ คุณจะต้องจัดเตรียมเอกสารและข้อมูลประกอบต่าง ๆ ซึ่งต้องได้รับการแปลหรือรับรอง การจดทะเบียนเป็นบริษัทไทยจะทำให้ขั้นตอนต่าง ๆ ง่ายและรวดเร็วขึ้น
อีกเหตุผลหนึ่งในการจัดตั้งบริษัทก่อนเกี่ยวข้องกับการใช้เวลาอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด แทนที่จะต้องรอให้ BOI ดำเนินกาณคำขอ คุณสามารถใช้เวลาหลายเดือนนั้นให้เกิดประโยชน์โดยการจัดเตรียมสิ่งที่จำเป็นทั้งหมดของธุรกิจของคุณ เช่น การเช่าโรงงานหรือการนำเข้าและติดตั้งเครื่องจักรที่จำเป็น ทำให้คุณมีทุกอย่างพร้อมสำหรับเริ่มดำเนินการได้ทันทีที่ BOI อนุมัติส่งเสริมการลงทุนของคุณ
คำแนะนำในการเตรียมคำขอรับการส่งเสริมจาก BOI
อย่าพยายามปกปิดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น หากการประเมินของคุณคาดว่าจะขาดทุนในช่วงแรกของการดำเนินธุรกิจ อย่ากลัวที่จะเปิดเผยเรื่องนี้
คุณควรซื่อสัตย์เกี่ยวกับระดับของการลงทุนที่ตั้งใจไว้ BOI จะมีการตรวจสอบให้แน่ใจว่าจำนวนเงินลงทุนของคุณเหมาะสมกับประเภทของกิจการและขนาดของโครงการของคุณ
คุณไม่ควรประเมินผลกำไรที่คาดการณ์ไว้สูงเกินไป สำนักงาน BOI อาจไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญในภาคธุรกิจของคุณ แต่พวกเขาได้ประเมินข้อเสนอมามากพอที่จะทราบถึงผลกำไรที่คาดว่าจะได้รับสำหรับธุรกิจตามขนาดและประเภทของคุณ
สิ่งที่ควรพิจารณาอีกประการหนึ่งคือการขอความช่วยเหลือจากนักกฎหมายชาวไทยเมื่อยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI เนื่องจากคุณอาจทำผิดพลาดในขั้นตอนการสมัครและขั้นตอนการตรวจสอบ
สรุป
เมื่อตัดสินใจยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI คุณจำเป็นต้องเตรียมเอกสารตามที่ BOI กำหนด และมีคุณสมบัติเป็นไปตามเกณฑ์เพื่อให้โครงการของคุณได้รับการอนุมัติ หากต้องการความช่วยเหลือ Interloop มีทีมผู้เชี่ยวชาญที่สามารถให้ความช่วยเหลือคุณตลอดกระบวนการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI โทร 097-106-9113 ID Line: @inlps
Leave a Reply