fbpx

Digital Adoption คืออะไร ทำไมคุณถึงจำเป็นต้องรู้!

600 430 Content Writer
อะไรคือการเปิดรับความเป็นดิจิตอล หรือ Digital Adoption และทำไมคุณถึงจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับมัน

จริง ๆ แล้วบริษัทของคุณได้ลงทุนไปกับสินทรัพย์ดิจิตอล อาทิ เครื่องมือดิจิตอล, แอพพลิเคชั่น และซอฟแวร์ ไปเท่าไหร่?

เวลาที่ทีมงานของคุณร้องขอให้คุณติดตั้งซอฟแวร์ตัวล่าสุด หรือ เครื่องมือดิจิตอลที่ “ของมันต้องมี” คราใด คุณมักจะทุ่มทั้งเวลาและความพยายามอย่างมาก ซึ่งยังไม่พูดถึงงบประมาณที่จะต้องจ่าย เพื่อให้ได้มันมา แต่จริงๆแล้วนั้น คุณได้ลงทุนกับเทคโนโลยีทั้งหมดนี้ไปเท่าไหร่?

คุณคิดว่าคุณคือส่วนหนึ่งของวัฏจักร  Digital Adoption หรือไม่?

สำหรับ Blog นี้ InterLoop จะอธิบายให้คุณได้เข้าใจว่า Digital Adoption คืออะไร และทำไมคุณถึงจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับมัน

 

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Digital Adoption

Digital Adoption คืออะไร?

ถ้าเราจะพูดกันในบริบทของการไปถึงความสำเร็จภายในองค์กรที่ได้ลงทุนไปกับเครื่องมือ และ สินทรัพย์ดิจิตอล แล้วนำมันมาใช้อย่างเต็มศักยภาพแล้วล่ะก็ Digital Adoption ถือว่าเป็นอะไรที่ธรรมดามาก ยกตัวอย่างเช่น สมมุติว่าคุณกำลังรับผิดชอบการตลาดออนไลน์ภายในองค์กร ในกรณีนี้ คุณอาจจะต้องพึ่งพาเครื่องมือในการบริหารจัดการโซเชี่ยลมีเดีย

อย่างไรก็ตาม เหตุผลที่แท้จริงในการใช้เครื่องมือเหล่านั้นก็เพื่อจัดตารางในการอัพเดทโพสต์ของคุณ แต่มันไม่ได้มีเพียงเท่านี้  เพราะถ้าหากคุณไม่หมั่นติดตามคีย์เวิร์ดเพื่อหาโอกาสทางธุรกิจ คุณไม่เซ็ทระบบอัตโนมัติเพื่อช่วยในการประหยัดเวลา ถ้าคุณไม่ได้สร้างทีมงานเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของทีมเพื่อช่วยให้เกิดการบริหารงานที่ง่ายขึ้นในรูปแบบ multiple users เป็นต้น ถึงแม้ว่าทุก ๆ แพลตฟอร์มของโซเชี่ยลมีเดียจะมีเครื่องมือบริหารจัดการของมันเองอยู่แล้ว แต่ตัวอย่างที่เกริ่นมานี้ก็เพื่อจะชี้ให้เห็นว่า คุณแทบไม่ได้ใช้ศักยภาพหรือประโยชน์จาก Digital Adoption เลย

เครื่องมือมันมีอยู่แล้ว แต่ผู้ใช้กลับไม่ได้ใช้ประโยชน์จากมันอย่างเต็มที่ ในทางกลับกัน หากองค์กรนั้น ๆ มีเครื่องมืออยู่ และผู้ใช้ได้ใช้ประโยชน์จากมันอย่างเต็มที่ นั่นถึงจะเรียกได้ว่า พวกเค้าได้ไปถึงซึ่งความเป็น Digital Adoption แล้วจริง ๆ (ซึ่งจะไม่ใช่กลุ่มที่ลงทุนไปกับเครื่องมือและสินทรัพย์ดิจิตอล และมีมันไว้เฉยๆ โดยที่ไม่ได้ทำอะไร)

Digital Adoption ยังสามารถมองได้อีกแบบ ซึ่งมาจากมุมมองของลูกค้าได้ด้วยเช่นกัน ในบางกรณี บางองค์กร หรือ บางบริษัทอาจจะอยากให้ลูกค้าของตนได้เรียนรู้ผลิตภัณฑ์ดิจิตอลของพวกเขา และนั่นนำมาซึ่งการเข้าถึงที่ง่ายขึ้นของเทคโนโลยี

ตัวอย่างเช่น สมมุติว่าคุณมีร้านกาแฟและคุณได้สร้างแอพฯขึ้นมา เพื่อให้ลูกค้าของคุณได้ใช้ ลูกค้าของคุณสามารถใช้แอพฯในการเก็บข้อมูลทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็น เงินค่ากาแฟ คะแนนสะสมที่ผ่านมา และอื่น ๆ  มากไปกว่านั้น ลูกค้าของคุณยังสามารถสั่งกาแฟผ่านทางแอพฯ และเข้ามารับที่ร้านได้ด้วย ซึ่ง feature ที่น่าทึ่งเหล่านี้ไม่เพียงแต่สร้างประสบการณ์ที่ดีมากยิ่งขึ้นให้กับลูกค้าของคุณ แต่มันยังช่วยร้านได้อีกด้วย เพราะถ้ายิ่งมีคนใช้แอพฯมากขึ้นเท่าไหร่ นั่นหมายถึงปริมาณลูกค้าที่ได้รับการบริการก็จะเพิ่มตามมาด้วย

อย่างไรก็ตาม ร้านค้าเหล่านั้นจะสามารถไปถึงจุดนั้นได้ก็ต่อเมื่อลูกค้าของพวกเค้าโหลดแอพฯมาใช้ และต้องใช้ประโยชน์จากมันอย่างเต็มที่ หรือในกรณีเคียงกัน ธนาคารใดที่มีระบบ online Banking หากพวกเขาต้องการลดปริมาณการรับสายจากลูกค้า หรือการต่อคิวของลูกค้าตามสาขาต่าง ๆ พวกเขาจำเป็นจะต้องอธิบายให้ลูกค้าเข้าใจถึงวิธีการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวนี้ และสอนให้ลูกค้าใช้มันให้เกิดประโยชน์สูงสุด

 

ทำไมเราถึงจะต้องใส่ใจเกี่ยวกับ Digital Adoption?

ดังที่คุณได้เห็นภาพไปแล้วว่า การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในชีวิตนั้นมีความสำคัญมากผ่านทางมุมมองจากทั้งสองทาง ทั้งจากมุมมองขององค์กรที่ให้บริการ และมุมมองของลูกค้า

การนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพนั้นจะช่วยทำให้คุณได้เงินลงทุนคืน (ROI) จากสินทรัพย์ดิจิตอล หรือถ้าจะพูดอีกอย่างก็คือ คุณไม่เพียงแต่ใช้เงินไปกับเครื่องมือ หรือ เทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุด แต่คุณกำลังใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากมัน และกำลังเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ต่างๆที่คุณพึงได้

ประเด็นคือ ในขณะที่คนส่วนใหญ่กำลังรับสมัครบุคลากรที่เชี่ยวชาญทางด้านไอทีเพิ่ม นั่นไม่ได้หมายความว่าคนทั้งองค์กรมีความพร้อมที่จะใช้ประโยชน์จากซอฟต์แวร์ที่พวกคุณหยิบยื่นให้พวกเขาได้อย่างเต็มที่ทุกคน คนโดยส่วนใหญ่ก็จะใช้เครื่องมือดิจิตอลกันหลาย feature อยู่แล้วในชีวิตประจำวัน ดังนั้นพวกเค้าอาจจะรู้สึกว่ามันยุ่งยากและใช้เวลามากในการเรียนรู้ที่จะใช้มัน อาจจะเป็นลูกค้าที่กำลังใช้แอพฯตัวใหม่ของคุณ หรือ พนักงานที่กำลังใช้โปรแกมที่องค์กรจัดหาให้

และในขณะที่บางองค์กรมีความพร้อมในการที่จะปฏิวัติตัวเองเข้าสู่ยุคดิจิตอล องค์กรนั้นๆก็ยังจะต้องประสบกับความท้าทายอีกมาก ก่อนที่พวกเขาจะพูดได้เต็มปากว่าพวกเขาได้มาถึงจุดที่เรียกว่า Digital Adoption แล้ว

 

 

ความท้าทายของการนำ Digital Adoption ไปใช้กับ “ลูกค้า”

มีความท้าทายหลายประการที่คุณจะต้องเจอ เมื่อคุณนำ Digital Adoption ไปใช้กับลูกค้า

  • คุณจะต้องรับมือในการดึงความสนใจจากลูกค้า : จากปัจจัยเรื่องเสียงรอบข้างที่ดังรบกวน จึงเป็นเรื่องยากที่คุณจะดึงความสนใจและสมาธิของลูกค้าเพื่อให้เข้าใจถึงวิธีการใช้ผลิตภัณฑ์ตัวใหม่
  • พบความยากลำบากในการสอนลูกค้า : ความท้าทายใหญ่อีกประการหนึ่งที่คุณจะต้องเจอ คือการที่คุณจะต้องสาธิตวิธีการใช้แอพฯ หรือ โปรแกรมให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ลูกค้า ซึ่งการจัดแคมเปญอบรมวิธีการใช้จะช่วยเรื่องนี้ได้ (สื่อสิ่งพิมพ์และโฆษณาออนไลน์, อีเมล์แคมเปญการตลาด, แคมเปญทางโซเชี่ยลมีเดียต่างๆ) ซึ่งเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ง่าย และยังช่วยในการพัฒนาระบบได้อีกด้วย
  • ความช่วยเหลือที่ไม่ได้เรื่อง : สำหรับบางเทคโนโลยี หรือ เอาเป็นว่าโดยส่วนใหญ่เลยก็แล้วกัน คุณจำเป็นจะต้องให้ความช่วยเหลือลูกค้าไปจนกว่าคนส่วนใหญ่จะรู้วิธีในการใช้ผลิตภัณฑ์ของคุณ ซึ่งมันต้องใช้เวลาสักพัก แต่ก็นั่นแหละ มันจะช่วยยกระดับธุรกิจของคุณให้ทันสมัยยิ่งขึ้น.

 

ความท้าทายในการนำ Digital Adoption ไปใช้กับ “พนักงาน”

สำหรับคนในองค์กร หรือเรียกอีกอย่างว่า พนักงานในบริษัทของคุณ –สิ่งต่อไปนี้คือความท้าทายที่คุณจะต้องพบเมื่อนำ Digital Adoption ไปใช้กับพวกเขา

  • ซอฟต์แวร์มีความซับซ้อนเกินไป
  • มีซอฟต์แวร์ให้ใช้หลายตัวเกินไป
  • มีการฝึกอบรมที่ไม่ดี
  • พนักงานไม่เปิดใจยอมรับ

 

บทสรุป

เห็นได้ชัดเลยว่า Digital Adoption นั้นคือวิถีแห่งอนาคต การนำเทคโนโลยีไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั้นมีความจำเป็นมากสำหรับองค์กรยุคใหม่ และนี่คือสิ่งที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนถ่ายยุคดิตอล และในขณะเดียวกัน มันอาจจะเป็นไปตามธรรมชาติที่องค์กรในทุกๆระดับควรที่จะเปิดใจรับเอาเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด แต่ในความเป็นจริงแล้ว ยังมีความท้าทายอีกมากในรูปแบบที่แตกต่างกันไปที่พวกเขาจะต้องเผชิญก่อนที่พวกเขาจะเปิดใจยอมรับมันได้จริงๆ

 

ติดตามช่องทางสำหรับรับข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติม ได้ที่ 
Youtube: Interloop Solutions & Consultancy
Author

Content Writer

All stories by: Content Writer

Leave a Reply

Your email address will not be published.