fbpx
Thailand Q1 Investment Applications soar 80% as FDI More Than Double says BOI

BOI เผยคำขอการลงทุนในไตรมาสแรก เพิ่มขึ้น 80% FDI เพิ่มมากกว่า 2 เท่า

640 452 Content Writer

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เปิดเผยว่าในไตรมาสแรกของปี 2564 มีคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้น 80% จากปีก่อนหน้า คิดเป็นมูลค่ารวม 1.234 แสนล้านบาท นำโดยโครงการด้านการแพทย์ และไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (E&E) ขณะที่การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) เพิ่มขึ้นกว่าสองเท่า

BOI ระบุว่ามีจำนวนคำขอทั้งหมด 401 โครงการ สูงกว่ายอดในช่วงมกราคม-มีนาคมของปีที่แล้วที่ 351 โครงการถึง 14% โดยเป็น FDI 191 โครงการ มูลค่ารวม 6.2 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 143% จากมูลค่ารวม 2.56 หมื่นล้านบาท ของ 231 โครงการในช่วงสามเดือนแรกของปี 2563

3 อันดับแรกของ FDI ในช่วงไตรมาสแรกมาจาก เกาหลีใต้ จีน และสิงคโปร์ ซึ่งมีระดับการลงทุนใกล้เคียงกัน โดยการลงทุนของเกาหลีใต้ที่เพิ่มสูงขึ้นนั้นมีสาเหตุมาจากการร่วมทุนขนาดใหญ่ในภาคการแพทย์

คำขอสำหรับการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย ภาคส่วนสำคัญที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยมีมูลค่ารวมกัน 7.48 หมื่นล้านบาท โดยภาคการแพทย์ดึงดูดการลงทุนมากที่สุด 29 โครงการ มูลค่า 1.84 หมื่นล้านบาท มากกว่าปีก่อนถึง 100 เท่า ตามมาด้วย E&E 34 โครงการ มูลค่า 1.74 หมื่นล้านบาท

 

Thailand Q1 Investment Applications soar 80% as FDI More Than Double says BOI

 

ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกดึงดูด 117 โครงการ

พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งประกอบไปด้วยจังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา มีคำขอรับการลงทุนในช่วงไตรมาสแรก 117 โครงการ มูลค่ารวม 6.44 หมื่นล้านบาท สูงกว่ามูลค่ารวมของ 111 โครงการในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2563 ถึง 39%

การขอรับการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตภายใต้มาตรการของ BOI เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยมี 39 โครงการ มูลค่าการลงทุนรวม 8.4 พันล้านบาท คิดเป็นเกือบ 6 เท่าของช่วงเดียวกันในปีก่อน แบ่งเป็นโครงการเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 21 โครงการ เงินลงทุน 5.6 พันล้านบาท โครงการอัพเกรดเครื่องจักร 16 โครงการ เงินลงทุน 2.5 พันล้านบาท และโครงการวิจัยและพัฒนา 2 โครงการ

ตลอดทั้งปี 2563 มีคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI รวม 4.811 แสนล้านบาท นำโดยภาค E&E การเกษตร และการแปรรูปอาหาร ในขณะที่ภาคการแพทย์มีการเติบโตอย่างรวดเร็วตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 เป็นต้นไป เนื่องจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่มีต่อความต้องการเวชภัณฑ์และอุปกรณ์การแพทย์

 

คาดโมเดล BCG สร้างมูลค่า 1 ล้านล้านบาท ในระยะเวลาห้าปี

โครงการพัฒนาเศรษฐกิจ Bio-Circular-Green (BCG) ของรัฐบาลคาดว่าจะมีส่วนช่วยเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ใน 4 กลุ่มธุรกิจ BCG มูลค่า 1 ล้านล้านบาท และเกิดการจ้างงาน 3.5 ล้านคน ในช่วง 5 ปีข้างหน้า ตามการรายงานของ Krungthai Compass ศูนย์วิจัยของธนาคารกรุงไทย

โครงการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG ของรัฐบาลมุ่งเน้นไปที่ 4 อุตสาหกรรมในประเทศ ได้แก่ เกษตรกรรมและอาหาร สุขภาพและการแพทย์ พลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ และการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์

Krungthai Compass คาดการณ์โมเดล BCG จะขยาย GDP ของอุตสาหกรรมเหล่านี้เป็น 4.4 ล้านล้านบาท คิดเป็น 24% ของ GDP ไทยในปี 2569 และจะช่วยเพิ่มจำนวนผู้มีงานทำอีก 3.5 ล้านคน รวมเป็น 20 ล้านคนในปี 2569 ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโสของ Krungthai Compass กล่าว

“โมเดล BCG เป็นแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลกและจะเป็นกลไกการเติบโตใหม่สำหรับเศรษฐกิจไทยในอนาคต เราจะเห็นการเติบโตอย่างแข็งแกร่งของการลงทุนในกองทุนรวมภายใต้โมเดล BCG หรือ ESG (Environment, Social, and Governance) ทั่วโลก”

แม้ว่าการระบาดของโควิด-19 จะทำให้โครงการลงทุน BCG ของบริษัทต่าง ๆ ต้องล่าช้าออกไปโดยเฉพาะในภาคการท่องเที่ยว แต่ Krungthai Compass คาดว่ารัฐบาลจะสามารถควบคุมจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพื่อให้โครงการลงทุน BCG กลับมาดำเนินการต่อได้

รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้การสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG และโครงการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับ BCG ผ่านมาตรการส่งเสริมหลายโครงการ ในขณะที่ภาคเอกชนในประเทศให้ความสนใจกับการลงทุน BCG มากขึ้นโดยเฉพาะในโครงการพลังงานสีเขียวและพลังงานทางเลือก ส่วนสถาบันการเงินในประเทศก็มีการสนับสนุนในด้านการเงินกับโครงการ BCG ของบริษัทเอกชน รวมถึงธนาคารพาณิชย์ที่ให้การสนับสนุนลูกค้าองค์กรในการออก Green Bond

ดร.พชรพจน์กล่าวว่า โลจิสติกส์เป็นอีกส่วนงานหลักที่มีศักยภาพสูงในการขยายการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับ BCG ตามระบบโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลในโครงการระบบรางรถไฟและการขนส่งทางน้ำ

การลงทุนในโครงการ BCG จะช่วยขับเคลื่อนห่วงโซ่คุณค่าของประเทศและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจของไทย นอกจากนั้นการพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับ BCG จะช่วยเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของไทยในตลาดโลกและลดแรงกดดันจากกฎการค้าโลกที่มีต่อไทย เช่น มาตรการปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดนของสหภาพยุโรป

 

Thailand Q1 Investment Applications soar 80% as FDI More Than Double says BOI

 

อุตสาหกรรม EV ได้รับสิทธิประโยชน์ในการลงทุน

คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติได้อนุมัติสิทธิประโยชน์ในการลงทุนสำหรับธุรกิจชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV) และการเปลี่ยนแบตเตอรี่ ภายใต้แผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน EV ในประเทศไทย

ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของคณะกรรมการในการเร่งความต้องการของ EV หลังจากมีการตั้งเป้าหมายให้ยานยนต์ 50% ที่ผลิตในประเทศเป็น EV ภายในปี 2573 นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานกล่าว

ด้วยสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ทั้งการยกเว้นภาษี การสนับสนุนทางการเงิน และอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ภาษี คณะกรรมการคาดว่าจะมีการติดตั้งเครื่องชาร์จ EV อย่างน้อย 12,000 เครื่อง รวมถึงสถานีเปลี่ยนแบตเตอรี่ 1,450 แห่งทั่วประเทศ ช่วยให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ที่แบตเตอรี่ใกล้หมดสามารถเปลี่ยนเป็นแบตเตอรี่ที่ชาร์จเต็มได้ทันทีโดยไม่ต้องรอ

 

การตัดสินใจยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI คุณจำเป็นต้องเตรียมเอกสารตามที่ BOI กำหนด และมีคุณสมบัติเป็นไปตามเกณฑ์เพื่อให้โครงการของคุณได้รับการอนุมัติ หากต้องการความช่วยเหลือ Interloop มีทีมผู้เชี่ยวชาญที่สามารถให้ความช่วยเหลือคุณตลอดกระบวนการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI โทร 097-106-9113 ID Line: @inlps

 

Author

Content Writer

All stories by: Content Writer

Leave a Reply

Your email address will not be published.