fbpx
The Singapore-Thailand Double Taxation Avoidance Treaty part 1

อนุสัญญาภาษีซ้อน ระหว่างสิงคโปร์-ไทย (ตอนที่ 1)

1024 682 Content Writer
อนุสัญญาภาษีซ้อนระหว่างสิงคโปร์-ไทย (ตอนที่ 1)

ประเทศสิงคโปร์และไทยมีความสัมพันธ์ทางการทูตมาอย่างยาวนาน มีการค้าและการลงทุนจำนวนมากระหว่างกัน เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2558 ทั้งสองประเทศได้ทำการลงนามในอนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากร โดยอนุสัญญาภาษีซ้อน (DTA) ฉบับใหม่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2560 เป็นต้นไป

 

มีผลกับใคร?

ข้อ 1 อนุสัญญานี้มีผลบังคับใช้กับผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศสิงคโปร์และไทย ทั้งบุคคลธรรมดาและบุคคลตามกฎหมาย เกี่ยวกับเรื่องนี้ข้อ 4 ระบุว่า “ผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่ง” หมายถึงบุคคลหรือนิติบุคคลใด ๆ ที่ต้องเสียภาษีในรัฐนั้นตามกฎหมาย

หากสามารถพิจารณาบุคคลใดว่าเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ทั้งในสิงคโปร์และไทยได้ เงื่อนไขที่ใช้กำหนดสถานะการอยู่อาศัยของผู้เสียภาษีมีลำดับดังต่อไปนี้

✓ ประเทศที่บุคคลนั้นมีที่อยู่ถาวร

✓ ประเทศที่บุคคลนั้นมีศูนย์กลางของผลประโยชน์อันสำคัญ ในแง่ของความสัมพันธ์ส่วนตัวและเศรษฐกิจ

✓ ประเทศที่บุคคลนั้นมีที่อยู่เป็นปกติ

✓ ประเทศที่บุคคลนั้นเป็นคนชาติ

หากกฎข้างต้นไม่สามารถระบุสถานะการอยู่อาศัยของบุคคลนั้นได้ ให้เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐผู้ทำสัญญาแก้ไขปัญหาโดยความตกลงร่วมกัน

 

ครอบคลุมภาษีประเภทใดบ้าง?

ข้อ 2 ระบุว่าอนุสัญญาครอบคลุมภาษีประเภทต่อไปนี้

✓ ภาษีเงินได้ของสิงคโปร์

✓ ภาษีเงินได้ของประเทศไทย

✓ ภาษีเงินได้จากปิโตรเลียมของประเทศไทย

✓ ภาษีอื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกันซึ่งเรียกเก็บแทนที่หรือเพิ่มเติมจากภาษีดังกล่าวข้างต้น

 

ครอบคลุมรายได้ประเภทใดบ้าง?

ตามบทบัญญัติของ DTA อนุสัญญาดังกล่าวครอบคลุมรายได้ประเภทต่าง ๆ ได้แก่ เงินได้จากอสังหาริมทรัพย์ (ข้อ 6) กำไรจากธุรกิจ (ข้อ 7) เงินได้จากการขนส่งทางเรือและอากาศ (ข้อ 8) เงินปันผล (ข้อ 10), ดอกเบี้ย (ข้อ 11), ค่าสิทธิ (ข้อ 12), ผลได้จากทุน (ข้อ 13), เงินได้ที่มาจากบริการส่วนบุคคล (ข้อ 14, 15 ), ค่าป่วยการของกรรมการ (ข้อ 16), เงินได้ของนักแสดงและนักกีฬา (ข้อ 17) , เงินบำนาญ (ข้อ 18), เงินได้จากงานรัฐบาล (ข้อ 19) และเงินที่นักศึกษาได้รับ (ข้อ 20)

 

The Singapore-Thailand Double Taxation Avoidance Treaty part 1

 

บทบัญญัติหลักของ DTA

โดยทั่วไปแล้ว DTA ให้การผ่อนปรนแก่นักลงทุนจากการเก็บภาษีซ้ำซ้อนจากรายได้ที่ต้องเสียภาษีจากทั้งสองประเทศ ด้วยเหตุนี้นักลงทุนจึงอาจได้รับผลประโยชน์จากการยกเว้นภาษีหรือการเก็บภาษีในอัตราพิเศษหากตรงตามเงื่อนไขของอนุสัญญา

 

  • เงินปันผล

ข้อ 10 ระบุว่าเงินปันผลจะถูกหักภาษีในประเทศที่ผู้รับอาศัยอยู่ แต่มีบางสถานการณ์ที่เงินปันผลอาจต้องเสียภาษีในประเทศต้นทาง ซึ่งในกรณีนี้ภาษีเงินปันผลที่เรียกเก็บจะต้องไม่เกิน 10% ของจำนวนเงินปันผลทั้งหมด

อย่างไรก็ตามข้อ 10 ยังระบุว่าข้อกำหนดเหล่านี้จะไม่มีผลบังคับใช้หากผู้รับมีสถานประกอบการถาวรในประเทศที่จ่ายเงินปันผล และเงินปันผลดังกล่าวจ่ายให้สำหรับหุ้นของสถานประกอบการถาวรหรือเกี่ยวข้องในประการสำคัญกับสถานประกอบการถาวรนั้น

ในการนี้สถานประกอบการถาวรถูกกำหนดไว้ในข้อ 5 ว่าหมายถึง สถานธุรกิจประจำ รวมถึงสถานจัดการ สาขา สำนักงาน โรงงาน โรงช่าง เหมืองแร่ สถานที่ใช้ในการขุดค้นทรัพยากรธรรมชาติ คลังสินค้า โครงการก่อสร้าง หรือการให้บริการโดยวิสาหกิจของประเทศหนึ่ง นอกจากนี้วิสากิจหนึ่งอาจถูกพิจารณาว่ามีสถานประกอบการถาวรในประเทศที่ดำเนินการอยู่หากมีการใช้อำนาจในการทำสัญญาในประเทศนั้นเป็นปกติหรือมีการเก็บรักษาสต็อกสิ่งของหรือสินค้าในประเทศนั้นเป็นปกติแม้ว่าจะไม่มีอำนาจดังกล่าวก็ตาม

อย่างไรก็ตามข้อ 5 ระบุว่าวิสาหกิจจะไม่ถือว่ามีสถานประกอบการถาวรในประเทศเพียงเพราะว่าดำเนินธุรกิจในประเทศนั้นผ่านตัวแทนอิสระหากบุคคลดังกล่าวดำเนินธุรกิจตามปกติ ยิ่งไปกว่านั้นบริษัทที่ตั้งอยู่ในประเทศหนึ่งจะไม่ถือว่าเป็นสถานประกอบการถาวรของบริษัทซึ่งตั้งอยู่ในอีกประเทศเพียงเพราะมีการควบคุมหรือถูกควบคุม

 

  • ดอกเบี้ย

ในทำนองเดียวกันดอกเบี้ยมักจะถูกหักภาษีในประเทศที่อยู่อาศัยของผู้รับตามที่ระบุไว้ในข้อ 11 แต่ในบางสถานการณ์ที่มีการเก็บภาษีดอกเบี้ยดังกล่าวในประเทศต้นทางจะต้องไม่เกิน

✓ 10% ของจำนวนดอกเบี้ยรวม หากดอกเบี้ยนั้นได้รับโดยสถาบันการเงินหรือบริษัทประกันภัยใด ๆ

✓ 10% ของจำนวนดอกเบี้ยรวม หากดอกเบี้ยนั้นเกี่ยวข้องกับหนี้สินที่เกิดจากสินเชื่อทางการค้าเพื่ออุปกรณ์ สินค้า หรือบริการใด ๆ

✓ 15% ของจำนวนดอกเบี้ยรวม ในกรณีอื่น ๆ

รัฐบาล ธนาคารกลาง หรือสถาบันของรัฐอื่น ๆ ของประเทศหนึ่งจะได้รับการยกเว้นภาษีในส่วนที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยที่จากประเทศต้นทาง

 

  • ค่าสิทธิ

โดยทั่วไปค่าสิทธิจะถูกเก็บภาษีในประเทศที่อยู่อาศัยของผู้รับตามข้อ 12 อย่างไรก็ตาม DTA ระบุว่าค่าสิทธิสามารถถูกเก็บภาษีในประเทศต้นทางได้แต่จะต้องไม่เกิน

✓ 5% ของจำนวนค่าสิทธิรวม หากเป็นค่าตอบแทนสำหรับการใช้งานลิขสิทธิ์งานวรรณกรรม ศิลปะ หรือวิทยาศาสตร์

✓ 8% สำหรับการใช้สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า แบบหรือหุ่นจำลอง แผนผัง สูตรหรือกรรมวิธีลับ หรือเพื่อการใช้อุปกรณ์ทางอุตสาหกรรม ทางพาณิชย์ หรือวิทยาศาสตร์

✓ 10% ของของจำนวนค่าสิทธิ ในกรณีอื่น ๆ

อย่างไรก็ตามบทบัญญัติเหล่านี้จะไม่มีผลบังคับใช้หากผู้รับมีสถานประกอบการถาวรในประเทศต้นทางและการชำระค่าสิทธิมีส่วนเกี่ยวเกี่ยวข้องสถานประกอบการถาวรนั้น

Author

Content Writer

All stories by: Content Writer

Leave a Reply

Your email address will not be published.