สารพัดเรื่องราวแอพฯ TikTok กับปมขัดแย้งระหว่างประเทศ
ภายหลัง TikTok เข้าไปทำตลาดในสหรัฐอเมริกา และได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในช่วงเวลา 2 ปีที่ผ่านมา แต่ล่าสุด Donald Trump ประธานาธิบดีสหรัฐ ประกาศแบนแอพฯ TikTok และบังคับให้บริษัทยักษ์ใหญ่ของจีนรายนี้ต้องขายกิจการ เนื่องจากถูกมองว่าเป็นภัยความมั่นคงแห่งชาติ
ก่อนจะกล่าวถึงรายละเอียด จุดเริ่มต้นของ TikTok นั้นต้องย้อนกลับไปตั้งแต่ปี 2557 ByteDance บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของจีน เปิดตัวแอพฯ Musical.ly ในเมืองเซี่ยงไฮ้ ก่อนจะขยายตลาดไปต่างประเทศ ซึ่งได้รับผลตอบรับดีพอสมควร ต่อมาในปี 2559 ได้เปิดตัวบริการ Douyin มีฐานผู้ใช้งานรวม 100 ล้านคน ทั้งในจีนและไทยภายในเวลา 1 ปี
ทั้งนี้แม้ว่าการเติบโตของ 2 แอพฯ เป็นไปด้วยดี แต่ทาง ByteDance ก็อยากที่จะขยายแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักในตลาดโลกมากขึ้น จึงสร้างแอพฯ ขึ้นมาใหม่ โดยใช้ชื่อว่า “TikTok” ซึ่งความแตกต่างคือ Douyin (ชื่อ TikTok ในภาษาจีน) จะเป็นเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ในจีนเท่านั้น ส่วน TikTok จะเป็นแอพฯ ที่สามารถใช้นอกประเทศจีนได้
ความโดดเด่นของ TikTok คือ การใช้เพลง,คลิป หรือลิปซิงค์ โดยเบื้องหลังการทำงานของแอพฯ ใช้อัลกอรึทึมจับการทำงานของผู้ใช้งาน โดยการสำรวจว่าคอนเทนต์ประเภทไหนที่เป็นที่นิยม ทำให้ TikTok เติบโตอย่างก้าวกระโดด และเติบโตเร็วกว่า Douyin ด้วยซ้ำ เนื่องจากจุดเด่นของ TikTok ทำให้ผู้ใช้งานเพลิดเพลินไปกับการสร้างคอนเทนต์ในหน้าเพจของตัวเอง
โดยในเดือนกรกฎาคม 2562 TikTok มียอดดาวน์โหลดแอพฯ 1,000 ล้านครั้งทั่วโลก และมีผู้ใช้งานประมาณ 500 ล้านคน และในเดือนกรกฎาคม 2563 TikTok มียอดดาวน์โหลดแอพฯ 2,000 ล้านครั้ง และผู้ใช้งานประมาณ 800 ล้านคน
(นับจากยอดดาวน์โหลดใน Apple Store และ Google Play ส่วนในจีนนับจากยอดดาวน์โหลด Douyin)
ที่มา : SensorTower, BBC News
การเติบโตอย่างรวดเร็วของ TikTok นอกจากจะทำให้ทั่วโลกหันมาสนใจภาษาจีนกันมากขึ้น ในอีกนัยหนึ่ง TikTok กลายมาเป็นประเด็นทางการเมืองระหว่างประเทศด้วย ซึ่งแม้ว่าข้อกล่าวหาจะมีความคลุมเครือ แต่อินเดียและสหรัฐอเมริกาก็มีข้อกังวลว่า TikTok กำลังรวบรวมข้อมูลลับอันสำคัญภายในสหรัฐฯ และอาจจะเป็นไปได้ว่ารัฐบาลจีนอาจจะใช้ TikTok เป็นสายลับเพื่อสอดแนม ภายหลังมีการกล่าวหาว่าองค์กรใหญ่ ๆ ของจีนมักจะใช้ Cell ล้วงข้อมูลฝ่ายตรงข้ามให้กับพรรคคอมมิวนิสต์จีน
ข้อพิพาทของ TikTok กับประเทศอื่น ๆ
สำหรับข้อพิพาทระหว่างอินเดีย-จีน เมื่อเมษายน 2562 อินเดียสั่งแบน TikTok เป็นครั้งแรก หลังจากศาลสั่งพบว่ามีการใช้แอพฯ เพื่อเผยแพร่ภาพอนาจาร แต่สุดท้ายคำตัดสินนั้นถูกยกเลิกไป ในขั้นตอนศาลอุทธรณ์ต่อมาในเดือนมิถุนายน 2563 รัฐบาลอินเดียแบนแอพฯ TikTok อีกครั้ง พร้อมกับแอพฯ อื่น ๆ จากจีนอีก 10 แอพฯ เนื่องจากมีการร้องเรียนว่าแอพฯ จีนมีการขโมยและส่งต่อข้อมูลของผู้ใช้อย่างลับ ๆ
ความคืบหน้า การแบนแอพฯ TikTok ในสหรัฐฯ
สำหรับความคืบหน้า การแบนแอพฯ TikTok ในสหรัฐฯ รัฐบาลได้ทบทวนในประเด็นที่มีผลต่อความมั่นคงแห่งชาติในช่วงปลายปี 2562 หลังจากทั้งพรรคเดโมแครตและผู้ร่างกฎหมายของพรรครีพับลิกัน ชี้ว่ามีความเสี่ยง และเมื่อไม่นานมานี้เอง Mike Pompeo รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ระบุว่า TikTok เป็นหนึ่งในแอพฯ ของจีนที่ให้ข้อมูลโดยตรงกับพรรคคอมมิวนิสต์จีน
ส่วนในประเทศอื่น ๆ เช่น Information Commissioner Office ของสหราชอาณาจักร และสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ ออสเตรเลีย อยู่ระหว่างการตรวจสอบแอพฯ TikTok ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับประเทศข้างต้น เป็นผลต่อเนื่องมาจาก Trade War แทบทั้งสิ้น
ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐ-จีน มีข้อพิพาทการค้า ส่วนความสัมพันธ์จีน-อินเดีย มีการปะทะระหว่างชายแดน ส่วนสหราชอาณาจักร ข้ดแย้งกันเรื่องกฎหมายความมั่นคงฉบับใหม่ของฮ่องกง ที่จีนต้องการปฎิรูปกฎหมายฮ่องกง โดยผูกขาดอำนาจทางการเมือง ให้ขึ้นตรงกับจีนแผ่นดินใหญ่
การละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน TikTok
การละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน จะมาจากการดึงข้อมูล ดังต่อไปนี้ ประกอบด้วย
- วิดีโอที่รับชมและวิดีโอที่มีการแสดงความคิดเห็น
- Location ในโทรศัพท์มือถือ
- รุ่นโทรศัพท์และระบบปฏิบัติการ
- จังหวะการกดแป้นพิมพ์ (ระหว่างการใช้งาน)
นอกจากนี้ยังมีการเปิดเผยว่ามีการอ่าน Clipboard ซึ่งเป็นหน่วยความจำในโทรศัพท์มือถือ โดยถ้าเทียบกับแอพฯ อื่น ๆ อีกมากมายเช่น Reddit, LinkedIn และแอพฯ BBC News จะพบว่ายังไม่มีสิ่งที่น่าเป็นกังวล ดังนั้นจากหลักฐานต่าง ๆ ชี้ให้เห็นว่าการแอบดึงข้อมูลของ TikTok สามารถเทียบเคียงได้กับ Social Networks ที่ต้องการข้อมูลของผู้ใช้งาน เช่น Facebook
อย่างไรก็ตามแม้จะโดนโจมตีเรื่องความปลอดภัยเรื่องข้อมูล ทาง TikTok กล่าวว่า ยินดีที่จะพิสูจน์โปร่งใสของระบบ เพื่อลดความกังวลการรั่วไหลของข้อมูล โดย Kevin Mayer หัวหน้าผู้บริหารคนใหม่ของ TikTok อดีตผู้บริหารดิสนีย์ ชาวอเมริกัน กล่าวว่าจะอนุญาตให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ Code ที่อยู่เบื้องหลังอัลกอริทึม ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ ที่คอยปกป้องข้อมูลและรหัสผ่านผู้ใช้งาน
อย่างไรก็ตามความกังวลไม่ได้อยู่ที่ข้อมูลลับของ TikTok แต่คำถามคือรัฐบาลจีนสามารถบังคับให้ ByteDance ส่งมอบข้อมูลให้ทางสหรัฐฯ ได้หรือไม่? เพราะอย่าลืมว่าแรงกดดันนี้ เคยเกิดขึ้นกับบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ด้านโทรคมนาคมของ Huawei มาแล้ว
กฎหมายความมั่นคงแห่งชาติจีนกับการทำธุรกิจ
กฎหมายความมั่นคงแห่งชาติ 2560 ของจีน บังคับให้องค์กรหรือพลเมือง “สนับสนุน ช่วยเหลือและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานข่าวกรองของรัฐ” ตามที่ผู้บริหาร TikTok ประกาศซ้ำแล้วซ้ำอีกว่า “เราจะไม่ปฏิเสธคำขอข้อมูล” หากรัฐบาลต้องการ
ข้อกังวลอีกประการหนึ่งคือ ความเป็นไปได้ของการเซ็นเซอร์หรือการใช้แอพฯ เพื่อสร้างอิทธิพลต่อการอภิปรายสาธารณะ ซึ่ง TikTok เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มแรก ๆ ที่คนหนุ่มสาวจำนวนมาก จะมาแชร์คอนเทนต์ด้านการเมืองและสังคม
โดยจะเห็นว่าในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา #BlackLivesMatter เป็นเทรนด์ที่ได้รับความนิยม แม้ว่าแฮชแท็กจะมีผู้เข้าชมหลายพันล้านครั้ง แต่ก็มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเนื้อหาจาก Creator ผิวดำถูกระงับ และ Hashtags ดังกล่าวถูกซ่อนไว้ สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่อัลกอริทึมของ TikTok ถูกวิพากษ์วิจารณ์ถึงวิธีการเลือกคอนเทนต์
การจับตาของสื่อต่อความเคลื่อนไหวการแบนแอพฯ จีน
ทั้งนี้รายงานของ The Intercept ชี้ให้เห็นว่า Moderators ควรได้รับการสนับสนุนให้ลดความสำคัญของคอนเทนต์จากใครก็ตามที่ถือว่าน่าเกลียดเกินไปหรือไม่ดี ซึ่งเมื่อปีที่แล้ว The Guardian ก็เคยรายงานว่าคอนเทนต์ที่ถูกเซ็นเซอร์ใน TikTok เป็นคอนเทนต์ที่มีความอ่อนไหวทางการเมือง เช่นอาจะมีภาพการประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน และการเรียกร้องเอกราชของทิเบต อย่างไรก็ตามรายงานเพิ่มเติมจาก The Washington Post แนะนำให้ Moderators ในประเทศจีนประกาศให้ชัดเจนว่า คอนเทนต์ด้านการเมืองจะได้รับการเผยแพร่คอนเทนต์ หรือถูกระงับ เนื่องจากเป็นประเด็นอ่อนไหวหรือไม่
Microsoft จะซื้อกิจการ ByteDance หรือไม่?
สุดท้าย ByteDance กล่าวว่าแนวทางดังกล่าวได้ยุติลงแล้ว การชี้แจงความเป็นไปได้กรณีที่ Microsoft จะซื้อกิจการของ TikTok ในสหรัฐฯ แสดงให้เห็นว่าแอพฯ นี้เป็นหนึ่งใน Product ที่สำคัญที่สุดในรอบหลายปี เนื่องจาก TikTok กลายเป็นสถานที่พบปะสำหรับผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี ในขณะที่แอพฯ อย่าง Twitter และ Instagram มักถูกมองว่าเป็นของผู้ใช้ที่มีอายุมากกว่า 25 ปีขึ้นไป
อย่างไรก็ตามแม้ว่า TikTok จะได้รับความนิยมในคนรุ่นใหม่ แต่ก็มีความเสี่ยงที่จะถูกระงับการใช้งาน ทำให้แอพฯ คู่แข่งในสหรัฐฯ อย่าง Byte และ Triller ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะกลุ่มผู้ใช้งานที่ไม่มั่นใจในตัวแอพฯ TilTok ทั้งนี้ก็มีผู้ใช้งานบางส่วนเลือกที่จะใช้งาน TikTok ต่อไป จนกว่าแอพฯ จะถูกแบนอย่างเป็นทางการ
ติดตามช่องทางสำหรับรับข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติม ได้ที่
Leave a Reply