fbpx

เทคนิคการทำงานช่วง COVID-19 ที่เหมาะสำหรับธุรกิจ

1000 668 Content Writer

เทคนิคการทำงานช่วง COVID-19 จากเทคนิคที่พิสูจน์มาแล้วว่าเหมาะสำหรับธุรกิจ

การระบาดของไวรัสโคโรนาเป็นเรื่องที่เราจะหยิบยกมาพูดในช่วงนี้ จากผลกระทบที่เกิดขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการหรือนายจ้างส่วนมากต้องเตรียมรับมือกับ Disruption หรือความเสียหายในระยะยาว ทำให้ไม่สามารถดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจในรูปแบบปกติได้ โดยปัญหาที่เกิดขึ้นจากผลกระทบของไวรัสโคโรนา หรือ COVID-19 นั้น มีทั้งการเลิกจ้างแรงงาน ปัญหาด้านการขนส่ง ระบบการเดินทางที่ไม่สะดวก รวมถึงการลดชั่วโมงการทำงานและกำลังซื้อผู้บริโภคที่ลดลงในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย

และเมื่อไวรัสโคโรนาระบาดมากขึ้น หลาย ๆ องค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ปรับนโยบายการทำงานใหม่ โดยให้ทำงานระยะไกลหรือทำงานแบบไม่ต้องเข้าออฟฟิศได้ โดย Interloop มีคำแนะนำ 4 ข้อ เพื่อให้การทำงานทางไกลออกมาราบรื่น

  1. จัดการกิจวัตรประจำวัน โดยกำหนดให้การทำงานจากที่บ้าน (Work From Home) ต้องท้าทายกว่าการทำงานที่สำนักงาน เนื่องจากการทำงานในสถานที่อื่นที่ไม่ใช่ที่ทำงาน จะทำให้เสียสมาธิได้ง่าย ขณะเดียวกันอาจจะมีปัญหาการสื่อสารกันไม่รู้เรื่อง ทำให้การทำงานจากที่บ้านยุ่งยากกว่าการทำงานตามปกติ ดังนั้นเป็นเรื่องสำคัญที่ควรจะต้องกำหนดเวลาการทำงาน ว่าจะต้องทำอะไรช่วงไหน เช่นการกำหนดว่าจะต้องตอบอีเมลตอนกี่โมง นัดประชุมโทรศัพท์ตอนกี่โมง รับประทานอาหารเที่ยงหรือเขียนรายงานตอนกี่โมง เป็นต้น ซึ่งนอกจากจะช่วยให้ทำงานจากที่บ้านได้อย่างราบรื่นแล้ว การจัดการกิจวัตรประจำวัน จะช่วยให้จัดระเบียบชีวิตได้ดีขึ้น ไม่กินขนมตลอดเวลา หรือนึกจะพาสุนัขไปเดินเล่นก็ไป เมื่อรู้สึกไม่อยากทำงาน

 

  1. หมั่นติดต่องานกับผู้อื่นอย่างสม่ำเสมอ เมื่อต้องทำงานคนเดียวหรือห่างไกลจากเพื่อนร่วมงานในบริษัท จะทำให้รู้สึกเหงาหรือโดดเดี่ยว เพราะฉะนั้นระหว่างทำงาน จึงมีคำแนะนำว่าควรจะติดต่อกับเพื่อนร่วมงาน ซึ่งอาจจะติดต่อผ่านทางโทรศัพท์ อีเมล หรือ video conference ก็ได้เช่นกัน

 

  1. กำหนดขอบเขตการทำงานให้ชัดเจน หากไม่กำหนดขอบเขตการทำงาน เช่นเวลางาน เวลาเลิกงาน จะทำให้เกิดความเครียด ความอ่อนล้าตามมา เพราะฉะนั้นจึงต้องกำหนดขอบเขตเวลางานสำหรับเพื่อนร่วมงาน และเวลาส่วนตัวสำหรับครอบครัว

 

 

  1. การจัดการแบบองค์รวม สำหรับผู้ที่เป็นหัวหน้า การควบคุมดูแลลูกน้องทางไกลอาจจะเป็นเรื่องใหม่ แต่จะเป็นประสบการณ์ที่ดีในอนาคต หรือเปรียบเสมือนเป็นความเจ็บปวดอันงดงาม โดยคุณมีหน้าที่ติดตามการทำงานของลูกน้องว่ามีอุปกรณ์เพียงสำหรับการทำงานหรือไม่ ทั้งนี้จะต้องกำหนดการประชุมผ่านวิดีโอกับพนักงานแต่ละคน เพื่อให้พวกเขาแน่ใจว่าไม่หลุดการติดต่อ ขณะเดียวกันความใส่ใจจากหัวหน้าหรือผู้บังคับบัญชา จะช่วยให้ประสิทธิภาพการทำงานในทีมดีขึ้นด้วย

 

นอกจากนี้บริษัทควรจะ Feedback การทำงานให้กับพนักงานเป็นระยะ ๆ ว่าจุดไหนที่ทำดีแล้ว หรือมีส่วนไหนที่ต้องปรับปรุงหรือไม่ ซึ่งนอกจากเป็นการกระตุ้นการทำงานแล้ว การติดตามงานสม่ำเสมอจะช่วยให้งานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้

การทำงานจากที่บ้านอาจเป็นเรื่องที่ท้าทาย แต่การหลีกเลี่ยงการทำงานรวมกันที่สำนักงาน และการรักษาระยะห่างระหว่างการเดินทาง ช่วยลดโอกาสการติดเชื้อ COVID-19 ได้มาก ซึ่งการปรับตัวใหม่ไปจนกว่าจะสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสจะดีขึ้นนั้น แม้ว่าจะไม่สะดวกเท่าไรนัก แต่หากมีการบริหารจัดการที่ดี ก็ทำให้งานออกมามีประสิทธิภาพได้ไม่แพ้กัน

อย่างไรก็ตามแม้ว่าไวรัส COVID-19 จะอยู่ในระดับ Pandemic แต่หากธุรกิจเดินไปถูกทาง บริษัทคุณก็เติบโตขึ้นได้ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ซึ่งเรามีเทคนิคเพิ่มเติมที่อยากแนะนำสำหรับการทำธุรกิจ ดังนี้

 

1. อย่าเลือกที่จะขายเครื่องจักรอัตโนมัติในทันที

กรณีที่เศรษฐกิจแย่ลงเรื่อย ๆ การขายเครื่องจักรอาจเป็นทางออกสำหรับบางบริษัท พื่อเก็บรักษากระแสเงินสด แต่เราแนะนำว่าอย่าทำเช่นนั้น เพราะการทำเช่นนั้น จะยิ่งทำให้บริษัทเหนื่อยเป็น 2 เท่า ควรจะเก็บเครื่องจักรไว้ เพราะอย่างน้อยเมื่อต้องเร่งการผลิต เครื่องจักรจะเป็นตัวช่วยที่ดี ควบคู่กับการใช้แรงงานคน

 

2. จัดการด้วยระบบและพึ่งพาคนให้น้อยลง

Never manage people. Always manage systems. เป็นหลักการพื้นฐานของ E-Myth ที่จะช่วยให้บริษัทจัดการธุรกิจได้ดีขึ้น เพราะเมื่อเกิดปัญหาการจัดการคนเป็นเรื่องยุ่งยาก หรือมีความน่าเชื่อถือน้อยลง แต่การมีระบบหลาย ๆ ระบบจะช่วยได้มากกว่า

 

3. วางระบบป้องกันลูกค้าไว้

การติดต่อสื่อสารกับลูกค้าในภาวะยากลำบากเช่นนี้ เกี่ยวกับสถานการณ์ไวรัสโคโรนาเป็นเรื่องสำคัญที่ควรจะต้องทำ อย่างน้อยเราถามการวางงบประมาณและกลยุทธ์ ว่าจะมีการปรับแผนอะไรหรือไม่ หากได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 ที่รุนแรงขึ้น ทั้งนี้จะต้องวางแผนรองรับสถานการณ์หากมีการเปลี่ยนงบประมาณ นอกจากนี้เรายังส่งแบบสำรวจไปยังลูกค้า เพื่อให้เข้าใจมากขึ้นว่าพวกเขาควรจะรับมือกับสถานการณ์นี้อย่างไรบ้าง

 

4. เน้นไปที่การเขียนโฆษณาอันทรงพลัง

หลาย ๆ องค์กรให้ความสำคัญกับการอัพเดตข่าวเศรษฐกิจและสถานการณ์ไวรัสโคโรนามากขึ้น ว่าช่วงหลังจากนี้จะเป็นอย่างไรบ้าง แต่เนื่องจากบริษัทส่วนใหญ่มีนโยบายให้ Work From Home เพราะฉะนั้นการทำการตลาดโดยการใช้ข้อความคัดลอกเหล่านี้สำหรับทำโฆษณา หรือวางแผนมาร์เก็ตติ้ง เป็นข้อได้เปรียบในการแข่งขันในตอนนี้ โดยเฉพาะการดึงดูดความสนใจหรือการสร้าง Engagement สำหรับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย โดยการใช้ข้อความหรือถ้อยคำเหล่านี้พลิกวิกฤตเป็นโอกาส

 

5.ทุ่มเทในตลาดที่คุณมีความเชี่ยวชาญ

การทำธุรกิจโดยการทดลองตลาดใหม่ในภาวะที่เศรษฐกิจเป็นเช่นนี้ เป็นเรื่องที่ไม่ควรทำ ตรงกันข้าม แนะนำว่าผู้ประกอบการควรจะทุ่มเทเพิ่มเป็น 2 เท่า เพื่อเจาะลึกในธุรกิจที่มีความเชี่ยวชาญอยู่แล้วจะดีกว่า

 

6.มุ่งเน้นไปที่สินค้า/บริการที่สร้างรายได้ให้กับลูกค้า หรือช่วยลูกค้าประหยัดเงิน (จากผลิตภัณฑ์ที่ทำกำไรให้บริษัทได้มากที่สุด)

 

ในช่วงเวลาที่ไม่แน่นอนเช่นนี้ บริษัทไม่ควรโฟกัสที่ผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าไม่ได้ต้องการ แต่ควรจะมุ่งเน้นไปที่สินค้าหรือบริการที่ช่วยลูกค้าสร้างรายได้มากขึ้น หรือประหยัดรายจ่ายในองค์กร

 

7. สร้างผลิตภัณฑ์/สินค้าตามบริการในรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์

ไม่ว่าผลิตภัณฑ์หรือสินค้าจะเป็นอะไร แต่จะต้องมีความโดดเด่นหรือเป็นเอกลักษณ์ เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดท่ามกลางความเสี่ยง ขณะเดียวกันหากเป็นการบริการ ควรต้องหาวิธีสร้างบริการที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้สิ่งต่างๆ นั้นง่ายขึ้นจากการเริ่มต้นแค่จุด ๆ เดียว จากรูปแบบการขายซอฟท์แวร์ (SaaS) อาจจะเป็นคอร์สหรืออีบุ๊ค สำหรับทุกสิ่งที่สามารถซื้อออนไลน์ได้

Author

Content Writer

All stories by: Content Writer

Leave a Reply

Your email address will not be published.