fbpx

Global Megatrends ที่ส่งผลกระทบต่อนโยบายนวัตกรรมของประเทศไทย สังคมผู้สูงอายุ

1024 576 admin

ประเทศไทยมีประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่ปี 2005 เป็นต้นมาสัดส่วนของคนไทยที่มีอายุมากกว่า 60 ปี เพิ่มขึ้น 10% ซึ่งตัวเลขดังกล่าวจะเพิ่มเป็น 20% และประเทศอาจจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุ (Ageing Society) ได้อย่างเร็วที่สุดภายในปี 2023 เมื่อแนวโน้มนี้ยังคงดำเนินต่อไปประเทศไทยจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด (Super Aged Society) ภายในปี 2032ด้วยสัดส่วนประชากรอายุมากกว่า 60 ปี ที่ประมาณ 28%

ด้วยการเปลี่ยนแปลงด้านประชากรศาสตร์นี้ เงินจำนวนมากขึ้นจะถูกใช้ไปกับการดูแลสุขภาพ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงเทคโนโลยีทางการแพทย์ ซึ่งจะส่งผลเชิงบวกต่ออุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่กำลังเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์นี้อยู่แล้ว นอกจากนี้อุตสาหกรรมอาหารเพื่ออนาคตก็กำลังเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตที่ผสมผสานการสูงวัยของประชากรและการให้ความสำคัญกับสุขภาพที่มากขึ้นอยู่เช่นกัน

เนื่องจากอัตราการเกิดแตะระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในปี 2020 เพื่อเป็นการเพิ่มผลผลิตให้ได้สูงที่สุด คนรุ่นใหม่จะต้องได้รับการศึกษาในระดับสูงพร้อมด้วยทักษะและคุณสมบัติที่จำเป็นในการเข้าสู่ตลาดแรงงาน ซึ่งจะส่งผลให้อุตสาหกรรมการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จำเป็นต้องพัฒนาขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเมื่อสัดส่วนของแรงงานจำนวนมากขึ้นกลายเป็นผู้สูงอายุ การยกระดับทักษะและการเพิ่มทักษะใหม่จึงเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกเนื่องจากบริษัทจะให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานมากขึ้น ในขณะเดียวกันบริษัทต่าง ก็กำลังมองไปที่หุ่นยนต์และเทคโนโลยีมากขึ้น เนื่องจากจำนวนพนักงานจะค่อย ๆ ลดลงในอนาคต ทำให้การทำฟาร์มอัจฉริยะและหุ่นยนต์ทางการแพทย์โดดเด่นขึ้นมา

 

สุขภาพ

การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้ประชาชนเริ่มหันมาดูแลตัวเองให้ดีขึ้น เมื่อผู้บริโภคมีความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาซื้อมากขึ้นก็มักจะมีความกังวลเกี่ยวกับส่วนผสมหรือแหล่งที่ของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว นอกจากนี้ยังมีการตระหนักรู้และมีความสนใจในอาหารที่ผสมผสานรสชาติและความสะดวกสบายเข้ากับคุณประโยชน์ทางโภชนาการที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะนำเสนอโอกาสให้กับอุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต ในขณะที่ภาคส่วนการจัดส่งอาหารยังคงเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง

การใช้จ่ายด้านสุขภาพที่เพิ่มขึ้นและความก้าวหน้าของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จะเป็นส่วนสนับสนุนความต้องการในระยะยาว ซึ่งช่วยผลักดันการเติบโตของอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ประเทศไทยนั้นเป็นหนึ่งในสถานที่ที่น่าดึงดูดใจมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สำหรับนักท่องเที่ยวด้านการแพทย์และการดูแลสุขภาพ โดยโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งได้รับการจัดอันดับว่ามีสิ่งอำนวยความสะดวกและอุปกรณ์ที่มีเทคโนโลยีล้ำสมัยและครบครันที่สุดในโลก เป็นที่รู้จักในด้านการให้บริการทางการแพทย์และความเชี่ยวชาญคุณภาพสูงในราคาที่ย่อมเยาว์

การระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการดูแลสุขภาพในระยะยาว โดยผู้ให้บริการได้ลงทุนมากขึ้นในบริการด้านการดูแลสุขภาพและการติดตามผู้ป่วยทางไกล เนื่องจากมีการใช้งานระบบดิจิทัลเพิ่มมากขึ้นในช่วงของการระบาด นอกจากนี้บริษัทอาจมองว่าแนวโน้มและลำดับความสำคัญด้านสุขภาพในปัจจุบันเป็นการเรียกร้องให้เพิ่มการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติรวมถึงอุตสาหกรรมการเกษตรขั้นสูงและเทคโนโลยีชีวภาพ นอกจากนั้นปัญหาและข้อกังวลด้านสุขภาพที่กำลังดำเนินอยู่ได้เร่งให้เกิดการใช้งานการเรียนรู้ออนไลน์ ซึ่งจะช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมการศึกษาและทรัพยากรมนุษย์ต่อไป หลังจากการเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ที่หลากหลายผ่านระยะไกลจากที่ไหนก็ได้กลายเป็นบรรทัดฐานใหม่

 

การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลและระบบอัตโนมัติ

การเกิดโรคระบาดนั้นเป็นเพียงแค่ตัวเร่งให้เศรษฐกิจเปลี่ยนจากสินค้าเป็นบริการเร็วขึ้น โดยการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลนั้นมีการเติบโตที่โดดเด่นมากในช่วงเวลาดังกล่าว จากข้อมูลของ Hootsuite พบว่าอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของประชากรไทยในปี 2022 สูงถึง 77.8% นอกจากนี้ 22% ขององค์กรในประเทศไทยได้มีการใช้งานดิจิทัลเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินธุรกิจแล้ว ในขณะที่อีก59% ยังอยู่ในช่วงค่อย เริ่มยอมรับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล

เรื่องของการดูแลสุขภาพก็เปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน โดยเริ่มมีการใช้การแพทย์ทางไกลและมีการมุ่งเน้นไปที่ชีวเภสัชเพิ่มขึ้นอย่างมาก เมื่อคำนึงถึงเรื่องสุขภาพและบทเรียนจากโควิด ก้าวต่อไปของระบบอัตโนมัติจะมุ่งเน้นไปที่หุ่นยนต์อเนกประสงค์ที่ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพของบริการต่าง ๆ เช่น อาหารและเครื่องดื่ม และการดูแลสุขภาพ การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นได้จากการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลและ AI ซึ่งทำให้เกิด Internet of Things โดย AI และ Machine Learning จะเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น เป็นการเพิ่มความต้องการในอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ

อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพขั้นสูงก็มีการนำระบบอัตโนมัติมาใช้มากขึ้น พร้อมกับการเปลี่ยนผ่านจากการทำฟาร์มแบบดั้งเดิมไปสู่การทำฟาร์มอัจฉริยะ และแม้ว่าการลงทุนด้าน AI ที่ใหญ่ที่สุดจะไปอยู่ที่ยานยนต์ไร้คนขับ แต่เงินทุนจำนวนมากก็ถูกกระจายไปยังเทคโนโลยีด้านสุขภาพ การจดจำใบหน้า อีคอมเมิร์ซ Augmented Reality และแฟชั่นเช่นกัน

เมื่อหุ่นยนต์สามารถทำงานทั่วไปได้มากขึ้น การยกระดับทักษะและการเพิ่มทักษะใหม่ของพนักงานสามารถเปลี่ยนพวกเขาไปสู่งานระดับสูงที่พร้อมกับความสามารถที่เพิ่มขึ้น อุตสาหกรรมการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรบุคคลนั้นได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลค่อนข้างมากเนื่องจากการเกิดโรคระบาดได้เร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างไปสู่การศึกษาออนไลน์ โดยนักเรียนทั่วโลกได้มีประสบการณ์ในการเรียนรู้ทางไกลในระดับต่าง ๆ ผ่านทางอินเทอร์เน็ต อีเมล และโทรทัศน์

 

ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม

ผลกระทบจากมลพิษและความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมกำลังถูกพูดถึงกันอย่างกว้างขวางทั่วโลก จากการสำรวจของ PwC ผู้ตอบแบบสอบถามเกือบ 80% รายงานว่าพวกเขาตัดสินใจเลือกทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืนมากขึ้น ประเทศไทยมุ่งมั่นที่จะพัฒนาการเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีความยืดหยุ่นในระยะยาวและรับประกันความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมผ่านโมเดลเศรษฐกิจ Bio-Circular-Green (BCG) ซึ่งมีทั้งในส่วนของเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ รวมถึงการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพขั้นสูง โดยคาดว่าเมื่อประเทศไทยเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานที่สะอาดขึ้น อุตสาหกรรมดังกล่าวจะมีการเติบโตเพิ่มขึ้น เกิดความมั่นคงด้านพลังงาน และการลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล

อุตสาหกรรมยานยนต์ยุคใหม่โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ได้รับความสนใจอย่างมาก เนื่องจากความต้องการทางสังคมที่เพิ่มขึ้นและความตระหนักรู้ของประชาชนเกี่ยวกับความจำเป็นในการลดการปล่อยคาร์บอนและการสัญจรสีเขียว ส่งผลให้การซื้อและการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าคาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในอนาคตอันใกล้นี้ ด้วยความคาดหวังว่ารถยนต์ไฟฟ้าจะแพร่หลายมากขึ้นในปี 2025 รัฐบาลไทยตั้งเป้าที่จะมีสถานีชาร์จ 690 แห่งทั่วประเทศ และในขณะที่ความสนใจกำลังเพิ่มสูงขึ้นแต่ความนิยมยังคงต่ำ รัฐบาลก็ได้เสนอสิ่งจูงใจให้กับผู้ที่ต้องการลงทุนในภาคยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย นอกจากนี้อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะยังได้รับประโยชน์จากการที่ภาคส่วนต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม การลดพลังงาน และการมีส่วนร่วมในนวัตกรรม เช่นเดียวกับการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่จะมีความสำคัญมากขึ้นเมื่อการเปลี่ยนแปลงสีเขียวเร่งตัวขึ้น เนื่องจากงานหลายล้านตำแหน่งที่จะเกิดขึ้นต้องใช้ทักษะและการฝึกอบรมทางเทคนิคขั้นสูงมากขึ้น

Leave a Reply

Your email address will not be published.