fbpx
Employer of record (EOR) Inlps

COVID-19 บททดสอบความไว้วางใจระหว่างหัวหน้ากับพนักงาน และผลลัพธ์ก็ไม่สวยสำหรับบางคน Part 1

1024 683 Content Writer

สถานการณ์ระบาดของ COVID-19 ถือเป็นบททดสอบความไว้วางใจระหว่างหัวหน้ากับพนักงาน และผลลัพธ์ก็ไม่สวยสำหรับบางคน Part 1

 

ในช่วงที่ต้องทำงานจากที่บ้าน Cheryl (นามสมมติ) ไม่จำเป็นต้องอยู่ที่โต๊ะทำงานตลอดเวลา แต่ถึงอย่างนั้นเธอก็ยังคงรู้สึกกดดันที่จะทำให้นายจ้างเห็นเป็นเช่นนั้น

เพื่อป้องกันไม่ให้สถานะบนแพลตฟอร์มการสื่อสาร เช่น Microsoft Teams หรือ Skype for Business เปลี่ยนเป็น “Inactive” เธอที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดจะต้องกลับไปที่โต๊ะทำงานเพื่อขยับเมาส์ทุก ๆ ประมาณ 10 นาที แม้ว่าจะต้องออกไปทำอย่างอื่นซักระยะก็ตาม

เธอยังต้องโทรติดต่องานทั้งหมดรวมถึงกับบุคคลภายนอก ผ่าน Microsoft Teams เพื่อให้ผู้จัดการของเธอสามารถตรวจสอบสิ่งที่ทำอยู่ได้ การทำงานแบบนี้เช่นเดียวกับคำพูดที่ไม่คิดของผู้จัดการในระหว่างการประชุมออนไลน์ทำให้เธอรู้สึกเหมือนถูกจับตามอง

“จากสิ่งที่พวกเขาพูด เช่น ‘ทุกวันนี้เราไม่ได้ยินข่าวคราวอะไรจากคนนี้เลย เธอยังทำงานอยู่หรือเปล่า’ มันทำให้ฉันหวาดระแวงเกี่ยวกับตัวเอง แม้ว่ามันจะไม่ได้พูดถึงฉันโดยตรง” Cheryl กล่าว ปัจจุบันเธออายุ 29 ปี และได้ลาออกจากบริษัทเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว หลังจากทำงานไปได้ประมาณ 12 เดือน

แล้วก็ยังมี Wong ซึ่งต้องคอยอัพเดทนายจ้างของเธออย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับงานที่กำลังทำอยู่ผ่านแชทกลุ่ม หลังจากที่เธอขอทำงานจากที่บ้านเมื่อมีการบังคับใช้ข้อจำกัดด้านโควิด-19 ที่เข้มงวดขึ้นอีกครั้งในช่วงเดือนพฤษภาคม

 

หญิงวัย 31 ปี ที่ปฏิเสธจะให้ชื่อเต็มของเธอ เป็นส่วนหนึ่งของทีมการตลาดในบริษัทอาหารและเครื่องดื่มในขณะนั้น เธอบอกว่าหัวหน้าจะส่งข้อความเตือนให้เธอรายงานเขาทุกวันเนื่องจากเธอได้รับเงินเดือนของบริษัท

ประสบการณ์การทำงานจากที่บ้านในแง่ลบ ซึ่งเกิดจากความไม่มั่นคงของพนักงานเอง หรือเกิดจากนายจ้างที่เจ้ากี้เจ้าการ หรือทั้งสองอย่าง ทำให้พนักงานบางคนลาออกจากงานแม้ว่าแนวโน้มเศรษฐกิจในอนาคตจะไม่แน่นอนก็ตาม

สำหรับ Michelle (นามสมมติ) ซึ่งเป็นนักออกแบบกราฟิกและเว็บไซต์ในวัย 30 ปี ได้เปลี่ยนงานถึงสองครั้งในช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา เนื่องจากเธอรู้สึกว่าอดีตนายจ้างทั้งสองของเธอไม่ค่อยให้ความสำคัญกับสวัสดิภาพของพนักงาน

เมื่อเริ่มมีการทำงานจากที่บ้านเป็นครั้งแรกของบริษัทที่เธอทำงานในช่วงที่เกิด Circuit Breaker เมื่อเดือนเมษายนถึงมิถุนายนปีที่แล้ว Michelle กล่าวว่าหัวหน้างานของเธอจะคอยดูว่าพนักงานออนไลน์หรือไม่ผ่าน Microsoft Teams

“พวกเขาให้ความสำคัญกับจุดสีแดง (Inactive) และจุดสีเขียว (Online) และใช้มันภายหลังในระหว่างการประชุมกลุ่ม ซึ่งพวกเขาสามารถต่อว่าผู้คนด้วยวาจา เช่น ‘งานของคุณมีแค่นี้เพราะคุณไม่ค่อยออนไลน์’” เธอกล่าว ในระหว่างการประชุมออนไลน์ครั้งหนึ่ง มีผู้จัดการอาวุโสคนหนึ่งกล่าวว่า “ผมรู้ว่าพวกคุณทุกคนที่บ้านไม่มีอะไรทำ ว่างมาก ๆ”

เธอลาออกในช่วงท้ายของ Circuit Breaker เพียงเพื่อเข้าร่วมกับอีกบริษัทที่ไม่ยอมปฏิบัติตามกระทรวงแรงงาน (MOM) ที่แนะนำให้การทำงานจากที่บ้านเป็นรูปแบบหลักเมื่อมีการแจ้งเตือนที่เข้มงวดขึ้น

ความไม่พอใจกับการที่บริษัทไม่คำนึงถึงกฎของ Covid-19 ได้ก่อตัวขึ้นจนถึงจุดที่ Michelle เสียสติในคืนหนึ่งและเริ่มร้องไห้ไม่หยุด หลังจากนั้นเธอได้ไปพบแพทย์เพื่อรับยารักษาอาการวิตกกังวล

“หมอบอกกับฉันว่า ‘คิดว่ายาตัวนี้จะช่วยแก้ปัญหาของคุณหรือคุณจำเป็นต้องค้นหาต้นตอของปัญหาและคิดที่จะออกจากงาน’ ในคืนนั้นฉันคิดได้ว่าฉันไม่สามารถทำเช่นนี้กับตัวเองได้อีกต่อไป

“ฉันกำลังร้องไห้อยู่ในตอนนั้น แต่บริษัทไม่ได้รับรู้อะไรเลยแม้แต่น้อย และอาจจะไม่สนใจด้วยซ้ำแม้ว่าฉันจะบอกกับพวกเขา” เธอกล่าว

เกือบสองปีหลังจากการทำงานจากที่บ้านถูกนำไปใช้ในหลายองค์กรท่ามกลางการระบาดครั้งใหญ่ของโคโรนาไวรัสที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ปัญหาต่าง ๆ เช่น ประสิทธิภาพการทำงานและการสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันจากระยะไกล ยังคงดำเนินต่อไปทั้งกับพนักงานและนายจ้าง

และดูเหมือนว่าพวกเขาจะยังต้องสู้กับมันต่อไปอีกในอนาคตอันใกล้

 

ตั้งแต่วันที่ 27 ก.ย. เป็นต้นไป การทำงานจากที่บ้านจะเป็นรูปแบบการทำงานหลักในสิงคโปร์อีกครั้งจนถึงวันที่ 24 ต.ค. เนื่องจากรัฐบาลได้ออกข้อจำกัดใหม่เพื่อหยุดยั้งการติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งในบางวันมีผู้ป่วยเพิ่มมากกว่า 1,000 ราย

ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรบุคคลกล่าวว่า เป็นสิ่งสำคัญสำหรับนายจ้างที่จะต้องให้ความสำคัญกับเรื่อง “ความไว้วางใจ” เช่น การสร้างความไว้วางใจในแนวทางในการเป็นผู้นำและการจัดการ

Rachele Focardi นักยุทธศาสตร์ด้านการทำงานในอนาคต กล่าวว่า “หากพูดถึงองค์กรในสิงคโปร์ ถ้าช่วง 15 ปีที่ผ่านมาแสดงให้เราเห็นอะไรซักอย่าง นั่นคือการไม่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา การสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีที่สุดสำหรับพนักงาน และการปรับตัวให้เข้ากับความต้องการของคนรุ่นใหม่ไม่ใช่ทางเลือก”

Dr. Michael Heng ผู้อำนวยการของ People Worldwide Consulting กล่าวว่า ความแตกต่างด้านอำนาจระหว่างนายจ้างและลูกจ้างในระบบเศรษฐกิจของเอเชียมีแนวโน้มที่จะมากกว่าในยุโรปหรือสหรัฐอเมริกา

“เราไม่ใช่คนที่ใกล้ชิดกันมากนัก หัวหน้าจะไม่เดินไปที่โต๊ะของคุณและถามว่า ‘เป็นอย่างไรบ้าง’ ซึ่งอาจพูดได้ว่านั่นเป็นเพราะวัฒนธรรมแบบเอเชีย” เขากล่าวเสริม

Author

Content Writer

All stories by: Content Writer

Leave a Reply

Your email address will not be published.