fbpx
Shall we spent

ภาพรวมสัญญาณการใช้จ่ายในช่วง “โควิด-19” ตอนที่ 1

1024 448 Content Writer

โควิด-19 ได้เข้ามาทำให้ชีวิตของเรากลับตาลปัดไปหมด การแพร่ระบาดของเชื้อที่มีอยู่ทั่วโลกและดูเหมือนจะยืดเยื้อมากขึ้นไปอีกได้ทำให้รายได้ และงานของคนหลายล้านคนหายไป และบังคับให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไปในยุคที่ทุกคนจะต้องหันมาดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง รวมไปถึงพิจารณาว่าจะใช้จ่ายเงินอย่างไรท่ามกลางเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน

 

ในบางประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเศรษฐกิจฝั่งตะวันตกรวมไปถึงสหรัฐอเมริกา ได้มีการฟื้นตัวขึ้นมาจากสถานการณ์โรคระบาดอันเนื่องมาจากโปรแกรมการฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนที่ประสบความสำเร็จ ในขณะที่บางแห่งยังคงไม่ไปถึงไหน การเพิ่มขึ้นของตัวเลขผู้ติดเชื้อ และการได้รับวัคซีนที่ดำเนินการได้ล่าช้าในประเทศเอเชียรวมถึงประเทศไทย ได้พรากความมั่นใจไปจากผู้บริโภคจนหมดสิ้น ความล่าช้าในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจได้ทิ้งแผลเป็นลึกไว้ให้กับสังคม

 

“ถึงแม้ว่าจะมีรายได้ประจำ แต่โควิด-19 ก็ทำให้ผมอยากที่จะใช้จ่ายน้อยลง” พงศธร ปุญญานุกิจ อาชีพครูโรงเรียนรัฐ วัย 27 ปี กล่าว

 

เขาได้รับมอบหมายให้ประจำราชการครูในจังหวัดสงขลา ทางภาคใต้ของไทยเมื่อปีที่แล้ว เขาเล่าว่า เขาได้จำกัดค่าใช้จ่ายของตน ให้ใช้จ่ายไปกับเฉพาะสิ่งที่จำเป็นเท่านั้น ตัวอย่างเช่น อุปกรณ์ออฟฟิศ รวมไปถึงเครื่องแบบข้าราชการชุดใหม่

 

อย่างไรก็ตาม เมื่อจำนวนผู้ติดโควิดมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในจังหวัดและภาคต่างๆในประเทศไทย โรงเรียนของเขาจึงปรับไปสู่ระบบออนไลน์ และทำให้เขามีเวลาอยู่บ้านมากขึ้น คุณพงศธรเลยลงทุนไปกับอุปกรณ์ออกกำลังกาย ไม่ว่าจะเป็นเสื่อโยคะ และ ดัมเบล รวมไปถึงผลิตภัณณฑ์บำรุงผิว “ผมอยากจะลงทุนไปกับอะไรที่ทำให้ผมดูดีขึ้น” เขาให้สัมภาษณ์กับ Asia Focus.

 

“ผมซื้อของกว่า 90% ผ่านทางออนไลน์ ไม่ก็ทางชุมชนตลาดร้านค้าออนไลน์ ที่เหลืออีก 10% ก็เป็นการออกไปซื้อที่ร้านค้าด้วยตัวเอง ” เขากล่าว

 

ถ้าถามถึงความบันเทิงและกิจกรรมในวันสบายๆ คุณพงศธรเล่าให้ฟังว่าเขาไม่ได้ไปดูหนังบ่อยเหมือนเมื่อก่อน “มันมีหนังที่ผมชอบดูไม่เยอะมากในโรงหนัง” เขากล่าว และยังเสริมอีกว่าตอนนี้เขาชอบดูหนังในเน็ตฟลิกซ์ และดูทีวีผ่านระบบสตรีมมิ่งมากกว่าถ้าจะให้เลือก

 

ในฐานะผู้ที่เพิ่งเริ่มอาชีพทำธุรกิจออนไลน์เมื่อต้นปีที่ผ่านมา พลอย แม่ค้าออนไลน์วัย 25 ปีที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ก็เป็นอีกคนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบ “คือเราก็อยากจะใช้เงินไปกับแค่ปัจจัยสี่ที่มันจำเป็นกับชีวิต” เธอกล่าว รายได้ส่วนใหญ่ของพลอยหมดไปกับการทานอาหารเย็นนอกบ้าน และไม่ค่อยใช้จ่ายไปกับกิจกรรมยามว่าง

 

“เรารู้สึกตระหนักได้มากขึ้นในเรื่องการใช้เงินของตัวเอง…. แล้วก็ยังมีความกดดันจากสถานการณ์การเงินของที่บ้านอีกด้วย” คุณพลอยกล่าว เธอเล่าว่าพ่อแม่ของเธอทำธุรกิจค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ในเขตชายแดนใต้ ซึ่งเคยเป็นพื้นที่ที่เงินสะพัดมากจากนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย

 

“ตอนที่ชายแดนปิด และนักท่องเที่ยวเข้าประเทศไม่ได้  ทั้งโรงแรม ร้านคาราโอเกะ บาร์ และธุรกิจต่างๆ ล้วนไม่มีลูกค้าและรายได้เลย ซึ่งมันคือความเจ็บปวดของธุรกิจของ(ครอบครัว)เรา เพราะว่าธุรกิจเหล่านั้นก็มาซื้อแอลกอฮอลล์จากเราไม่ได้” เธอเล่าให้ Asia Focus ฟัง

 

“ถ้าเราไม่ประหยัด เราก็จะรู้สึกเหมือนว่าชีวิตมันจะต้องลำบากในอนาคต”

 

ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ร้านค้าออนไลน์ของเธอก็กำลังไปได้ดีในช้อปปี้ ตลาดออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พลอยขายอาหารเกาหลีสำเร็จรูปรวมไปถึง โคชูจัง ซึ่งเป็นซอสพริกแดง และยังมีสาหร่ายและของทานเล่น เธอเล่าว่าเธอเห็นความต้องการของอาหารเกาหลีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากลูกค้าของเธอจะเป็นกลุ่มแฟนคลับของนักร้องและดาราเกาหลี

 

ถ้าจะเปรียบเทียบกับธุรกิจของที่บ้านซึ่งอยู่ในระบบ ออฟไลน์ คุณพลอยมองว่าช่องทางการจำหน่ายในรูปแบบออนไลน์นั้นเป็นทางเลือกที่เธอรู้สึกมั่นใจมากกว่าเพราะลูกค้าในปัจจุบันก็ได้หันมาช้อปออนไลน์กันเป็นปกติ

 

“ร้านค้าที่อยู่ในระบบออฟไลน์จะค่อยๆหายไปจากสภาพแวดล้อมที่เป็นออนไลน์ในปัจจุบัน” เธอกล่าว

 

การที่รัฐบาลไทยได้มีมาตรการช่วยเหลือ ธุรกิจ และประชาชนถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ช่วยได้ รวมไปถึงแผนสวัสดิการ อย่างโครงการคนละครึ่ง และเราชนะ ที่ช่วยมากระตุ้นการใช้ระบบให้มากขึ้น

 

เป็นเพราะการสนับสนุนด้านเงินตราโดยตรง จึงทำให้รูปแบบการบริโภคเปลี่ยนไป “ในช่วงการรับเงินเยียวยาจากทางรัฐบาลนั้นส่งผลทำให้คนหันมาใช้ระบบเพิ่มมากขึ้น” นภัส ผู้จัดการฝ่ายบัญชีวัย 25ปี กล่าว เธอทำงานทางด้านผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคล ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ดูแลเสื้อผ้า และทำความสะอาดอากาศ ในซุปเปอร์มาร์เก็ตในพื้นที่กรุงเทพฯ และนนทบุรี ที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเมื่อไม่นานมานี้

 

ผู้บริโภคได้หันมาซื้อของที่มีขนาดใหญ่ขึ้น และแพคสินค้าที่ขายรวมหลายๆชิ้น รวมไปถึงสินค้าแบรนด์หรู “ร้านที่ร่วมโครงการสวัสดิการรัฐก็ได้เห็นยอดขายที่เพิ่มสูงขึ้น แต่ร้านใดที่ไม่ได้เข้าร่วมก็จะตรงกันข้าม” เธอเสริม

 

อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมายอดขายเธอตก เพราะผู้คนใช้โควต้าเงินสวัสดิการรัฐไปจนครบแล้วในช่วงวันหยุดยาว

 

Shall we spent

 

สัญญาณการฟื้นตัว

การใช้จ่ายของผู้บริโภคตกลงอย่างรวดเร็วในช่วงคลื่นโควิดลูกแรกเมื่อปีที่แล้ว และจะคงอยู่แบบนี้ไปสักระยะก่อนที่จะฟื้นตัวกลับไปเหมือนช่วงก่อนการระบาด แต่เมื่อผู้บริโภคหันกลับมาใช้จ่ายอีกครั้ง ผลที่ออกมาก็น่าลุ้น

 

จากการสำรวจของ Mckinsey และบริษัท ได้แสดงให้เห็นว่าการใช้จ่ายของผู้บริโภคนั้นตกลงมาอย่างรวดเร็วในประเทศที่ทำการสำรวจรวมไปถึง ประเทศจีน อเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส และ เยอรมนี

 

“การบริโภคจากยอดที่เคยพุ่งขึ้นสูงสุด มาจนถึงปี 2020 ลดลงไป 17% ในประเทศจีน, 11% ในอเมริกา และ 26% ในอังกฤษ” Matthieu Francois หุ้นส่วนของ Mckinsey กล่าว

 

“ ‘เงินที่ไม่ได้ถูกใช้จ่าย’ ออกไปในช่วงโควิดก็จะถูกเก็บไว้ หลายๆคนในประเทศหันมาเก็บเงินกันเป็นจำนวนมาก เพื่อจะได้ผ่านพ้นวิกฤติออกไปอย่างไม่ลำบาก”

 

ก่อนที่จะเกิดการระบาด ตลาดผู้บริโภคในเอเชียเคยเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูงมากแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งในภูมิภาคนี้คิดเป็น 40% ของอัตราส่วนการบริโภคสินค้าทั่วโลก และคิดเป็น 52% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของทั้งประเทศ (GDP) ภายในปี 2040

 

ในมุมมองของ Mr. Francois เอเชียเป็นตลาดที่มีแรงขับเคลื่อนที่แข็งแกร่งและมีความยืดหยุ่นในการปรับตัว และการแพร่ระบาดของโรคก็ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นในทุก ๆ ที่รวมไปถึงการที่ผู้บริโภครับเอาระบบดิจิทัลเข้ามาใช้ ซึ่งสามารถช่วยทำให้เกิดการเติบโตในระยะยาวได้

 

อย่างไรก็ตาม ประเทศในเอเชียได้แสดงให้เห็นถึงวิถีการหมุนเวียนของเงินตราที่หลากหลาย ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามความหนักหนาสาหัส และช่วงเวลาที่ถูกคุมเข้มอันมาจากการระบาดของโควิด เขากล่าว การฟื้นตัวของอัตราการบริโภคทั่วโลกจะยังไม่นิ่ง ขึ้นอยู่กับรายได้และอายุ

 

ในขณะที่ครอบครัวที่มีรายได้สูงก็จะไม่ได้รับผลกระทบมากเท่าไหร่ แต่ในครอบครัวที่มีรายได้ต่ำจะพบเห็นการตกงาน และการเงินที่ฝืดเคืองในช่วงการเปลี่ยนแปลงนี้ในตลาดแรงงาน ซึ่งส่งผลมาจากการเข้ามาของระบบดิจิทัล และ ออโตเมชัน

“ในกลุ่มคนที่อายุน้อยกว่า และรายได้ต่ำกว่าจะมีการฟื้นตัวที่ช้ากว่าในการกลับมาใช้จ่ายได้อย่างคล่องตัวอีกครั้ง” เขากล่าว

Author

Content Writer

All stories by: Content Writer

Leave a Reply

Your email address will not be published.